นโยบายเกี่ยวกับการให้ข้อมูลทางการแพทย์ที่ไม่ถูกต้อง

YouTube ไม่อนุญาตให้แสดงเนื้อหาที่มีความเสี่ยงสูงว่าจะเป็นภัยร้ายแรงโดยการเผยแพร่ข้อมูลทางการแพทย์ที่ไม่ถูกต้องและขัดแย้งกับคำแนะนำของหน่วยงานด้านสาธารณสุขในท้องถิ่น (LHA) หรือองค์การอนามัยโลก (WHO) เกี่ยวกับโรคและสารต่างๆ นโยบายนี้มีหมวดหมู่ต่อไปนี้

  • การให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการป้องกันโรค 
  • การให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการรักษา 
  • การให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องโดยการปฏิเสธการมีอยู่ของโรค

หมายเหตุ: นโยบายการให้ข้อมูลทางการแพทย์ที่ไม่ถูกต้องของ YouTube อาจมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เป็นไปตามการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับคำแนะนำจากหน่วยงานด้านสาธารณสุขหรือ WHO เราอาจไม่ได้ปรับปรุงนโยบายตามคำแนะนำใหม่ของ LHA/WHO ในทันที และนโยบายของเราอาจครอบคลุมคำแนะนำที่เกี่ยวข้องกับโรคและสารต่างๆ จาก LHA/WHO เพียงบางส่วน

นโยบายนี้ส่งผลต่อคุณอย่างไร

อย่าโพสต์เนื้อหาบน YouTube หากเนื้อหานั้นมีข้อมูลดังต่อไปนี้

การให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการป้องกันโรค: เราไม่อนุญาตให้แสดงเนื้อหาที่ส่งเสริมเนื้อหาที่ขัดแย้งกับคำแนะนำจากหน่วยงานด้านสาธารณสุขเกี่ยวกับการป้องกันหรือการแพร่เชื้อ หรือความปลอดภัย ประสิทธิภาพ หรือส่วนผสมของวัคซีนที่ผ่านการรับรองและมีให้บริการอยู่ในปัจจุบัน

การให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการรักษา: เราไม่อนุญาตเนื้อหาที่ส่งเสริมข้อมูลที่ขัดแย้งกับคำแนะนำจากหน่วยงานด้านสาธารณสุขเกี่ยวกับการรักษาโรค รวมไปถึงการโปรโมตสารที่เป็นอันตรายหรือวิธีที่หน่วยงานด้านสาธารณสุขในท้องถิ่นหรือองค์การอนามัยโลกยังไม่ได้ให้การรับรองว่าเป็นวิธีที่ปลอดภัยหรือมีประสิทธิภาพ หรือได้รับการยืนยันแล้วว่าจะทำให้เกิดอันตรายร้านแรง

การให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องโดยการปฏิเสธการมีอยู่ของโรค: เราไม่อนุญาตให้แสดงเนื้อหาที่ปฏิเสธการมีอยู่ของโรค

นโยบายเหล่านี้ใช้กับวิดีโอ คำอธิบายวิดีโอ ความคิดเห็น, สตรีมแบบสด และผลิตภัณฑ์หรือฟีเจอร์อื่นๆ ของ YouTube โปรดทราบว่ายังมีรายการอื่นๆ นอกเหนือจากนี้ โดยนโยบายจะมีผลกับลิงก์ภายนอกในเนื้อหาของคุณด้วย ซึ่งรวมถึง URL ที่คลิกได้ การพูดแนะนำให้ผู้ใช้ไปยังเว็บไซต์อื่นผ่านวิดีโอ และรูปแบบอื่นๆ

ตัวอย่าง

ตัวอย่างเนื้อหาที่ YouTube ไม่อนุญาตมีดังนี้ โปรดทราบว่ายังมีกรณีอื่นๆ นอกเหนือจากนี้

การให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการป้องกันโรค

สารและวิธีปฏิบัติที่เป็นอันตรายเพื่อการป้องกันโรค
  • การโปรโมตสารและการรักษาต่อไปนี้ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดอันตรายร้ายแรงต่อร่างกายหรือทำให้เสียชีวิต
    • Miracle Mineral Solution (MMS)
    • ยาทา Black Salve
    • น้ำมันสน
    • B17/อะมิกดาลิน/เมล็ดลูกท้อหรือแอปริคอท
    • ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ความเข้มข้นสูง
    • การล้างพิษในหลอดเลือดสำหรับรักษาผู้ป่วยออทิสติก
    • ซิลเวอร์คอลลอยด์
    • น้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซล และน้ำมันก๊าด
  • เนื้อหาที่ส่งเสริมให้ใช้ยาไอเวอร์เม็กตินหรือไฮดรอกซีคลอโรควินในการป้องกันโควิด-19
การให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการป้องกันโรคที่ได้ผลแน่นอน
  • การอ้างว่ามีวิธีการป้องกันเชื้อโควิด-19 ที่ได้ผลอย่างแน่นอน 
  • การอ้างว่ามียาหรือวัคซีนที่ใช้ป้องกันโควิด-19 ได้อย่างแน่นอน
การให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับวัคซีน
  • การกล่าวอ้างที่ขัดแย้งกับคำแนะนำจากหน่วยงานด้านสาธารณสุขและองค์การอนามัยโลกเกี่ยวกับความปลอดภัย ประสิทธิภาพ และส่วนผสมของวัคซีนที่ผ่านการรับรองและมีให้บริการอยู่ในปัจจุบัน   
    • ความปลอดภัยของวัคซีน: เนื้อหาที่อ้างว่าวัคซีนก่อให้เกิดผลข้างเคียงระยะยาว เช่น โรคมะเร็งหรือเป็นอัมพาต ซึ่งอยู่นอกเหนือจากผลข้างเคียงที่พบได้ยากซึ่งหน่วยงานด้านสาธารณสุขได้ระบุไว้
      • ตัวอย่าง:
        • การอ้างว่าวัคซีน MMR ทำให้เกิดภาวะออทิสติก
        • การอ้างว่าวัคซีนจะทำให้ป่วยเป็นโรคโควิด-19
        • การอ้างว่าวัคซีนเป็นส่วนหนึ่งของแผนการลดจำนวนประชากร
        • การอ้างว่าวัคซีนป้องกันไข้หวัดทำให้เกิดผลข้างเคียงระยะยาว เช่น มีบุตรยาก หรือทำให้ติดเชื้อโควิด-19
        • การอ้างว่าวัคซีน HPV ทำให้เกิดผลข้างเคียงระยะยาว เช่น เป็นอัมพาต
        • การอ้างว่าวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่ได้รับการรับรองจะเป็นอันตรายแก่ชีวิต ส่งผลให้มีบุตรยาก แท้งบุตร ทำให้เกิดภาวะออทิสติก หรือส่งผลให้ป่วยเป็นโรคติดเชื้ออื่นๆ
        • การอ้างว่าการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ผ่านการติดเชื้อตามธรรมชาติปลอดภัยกว่าการฉีดวัคซีนให้ประชากร
        • เนื้อหาที่ส่งเสริมให้ใช้วัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่ไม่ได้รับการรับรองหรือทำขึ้นเอง
    • ประสิทธิภาพของวัคซีน: เนื้อหาที่อ้างว่าวัคซีนไม่ลดการแพร่เชื้อหรือติดเชื้อ
      • ตัวอย่าง:
        • การอ้างว่าวัคซีนไม่ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ
        • การอ้างว่าวัคซีนไม่ได้ลดความรุนแรงของโรค รวมถึงการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหรือการเสียชีวิต
        • การอ้างว่ามีวัคซีนที่ใช้ป้องกันโควิด-19 ได้อย่างแน่นอน
    • ส่วนผสมของวัคซีน: เนื้อหาที่สื่อให้เข้าใจผิดเกี่ยวกับส่วนผสมที่อยู่ในวัคซีน
      • ตัวอย่าง:
        • การอ้างว่าวัคซีนมีสารที่ไม่ได้ระบุไว้ในรายการส่วนผสมของวัคซีน เช่น สารชีวภาพจากทารกในครรภ์ (เช่น เนื้อเยื่อของทารกในครรภ์ เซลล์เพาะเลี้ยงของทารกในครรภ์) หรือผลิตภัณฑ์จากสัตว์
        • การอ้างว่าวัคซีนมีสารหรืออุปกรณ์ที่ใช้ติดตามหรือระบุตัวตนของผู้ที่ได้รับวัคซีน
        • การอ้างว่าวัคซีนส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางพันธุกรรมของผู้ที่ได้รับวัคซีน
        • การอ้างว่าวัคซีนจะทำให้ร่างกายของผู้ที่ได้รับวัคซีนกลายเป็นแม่เหล็ก

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวัคซีน รวมถึงความปลอดภัยและประสิทธิภาพของวัคซีนได้ที่ด้านล่าง

ข้อมูลเกี่ยวกับวัคซีนจากหน่วยงานด้านสาธารณสุข

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวัคซีน

ข้อมูลการแพร่เชื้อ

  • เนื้อหาที่โปรโมตข้อมูลการแพร่เชื้อที่ขัดแย้งกับข้อมูลของหน่วยงานด้านสาธารณสุขในท้องถิ่นหรือองค์การอนามัยโลก
    • เนื้อหาที่อ้างว่าโควิด-19 ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อไวรัส
    • การอ้างว่าโควิด-19 เกิดจากการแผ่รังสีของเครือข่าย 5G
    • เนื้อหาที่อ้างว่าโควิด-19 ไม่ใช่โรคติดต่อ
    • เนื้อหาที่อ้างว่าโควิด-19 แพร่กระจายในสภาพอากาศหรือพื้นที่ทางภูมิศาสตร์บางประเภทไม่ได้
    • เนื้อหาที่อ้างว่าบุคคลหรือกลุ่มบุคคลมีภูมิคุ้มกันต่อไวรัส หรือแพร่เชื้อไวรัสไม่ได้

การให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการรักษา 

สารและวิธีปฏิบัติที่เป็นอันตรายเพื่อการรักษา

  • การโปรโมตสารและการรักษาต่อไปนี้ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดอันตรายร้ายแรงต่อร่างกายหรือทำให้เสียชีวิต
    • Miracle Mineral Solution (MMS)
    • ยาทา Black Salve
    • น้ำมันสน
    • B17/อะมิกดาลิน/เมล็ดลูกท้อหรือแอปริคอท
    • ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ความเข้มข้นสูง
    • การล้างพิษในหลอดเลือดสำหรับรักษาผู้ป่วยออทิสติก
    • ซิลเวอร์คอลลอยด์
    • น้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซล และน้ำมันก๊าด
  • เนื้อหาที่แนะนำให้ใช้วิธีการรักษาโรคมะเร็งที่ยังไม่ผ่านการรับรองจากหน่วยงานด้านสาธารณสุขในท้องถิ่นหรือองค์การอนามัยโลกว่าเป็นวิธีที่ปลอดภัยหรือมีประสิทธิภาพ หรือได้รับการยืนยันแล้วว่าเป็นวิธีที่เป็นอันตรายหรือไม่มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคมะเร็ง
    • ตัวอย่าง:
      • เนื้อหาที่ส่งเสริมให้ใช้วิธีต่อไปนี้ในการรักษาโรคมะเร็ง ซึ่งอยู่นอกเหนือการวิจัยทางคลินิก
        • ซีเซียมคลอไรด์ (เกลือซีเซียม)
        • การรักษาด้วยวิธีของ Hoxsey
        • การสวนทวารด้วยกาแฟ
        • การรักษาด้วยวิธีของ Gerson
      • เนื้อหาที่อ้างว่าวิธีต่อไปนี้เป็นวิธีรักษาโรคมะเร็งที่ปลอดภัยหรือมีประสิทธิภาพ ซึ่งอยู่นอกเหนือการวิจัยทางคลินิก
        • การรักษาด้วย Antineoplaston
        • เควอซิติน (โดยฉีดเข้าหลอดเลือดดำ)
        • เมทาโดน
        • การล้างพิษในหลอดเลือดที่ไม่ได้สั่งโดยแพทย์
  • เนื้อหาที่ส่งเสริมให้ใช้ยาไอเวอร์เม็กตินหรือไฮดรอกซีคลอโรควินในการรักษาโควิด-19
การให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการรักษาที่ได้ผลแน่นอน
  • เนื้อหาที่อ้างว่ามีการรักษาที่ช่วยให้หายจากโรคมะเร็งได้อย่างแน่นอนที่อยู่นอกเหนือวิธีการรักษาที่ผ่านการรับรองแล้ว
  • เนื้อหาที่อ้างว่ามีการรักษาที่ช่วยให้หายจากโควิด-19 ได้อย่างแน่นอน
วิธีรักษาแบบทางเลือกที่เป็นอันตรายและการต่อต้านการเข้ารับการรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
  • เนื้อหาที่อ้างว่าวิธีการรักษาโรคมะเร็งที่ผ่านการรับรองนั้นไม่มีประสิทธิภาพ
    • ตัวอย่าง:
      • เนื้อหาที่อ้างว่าวิธีการรักษาโรคมะเร็งที่ผ่านการรับรอง เช่น เคมีบำบัด หรือการฉายรังสี เป็นวิธีที่ไม่มีประสิทธิภาพ
      • เนื้อหาที่ไม่สนับสนุนให้ผู้คนเข้ารับการรักษาโรคมะเร็งด้วยวิธีที่ผ่านการรับรอง
  • การกล่าวอ้างว่าวิธีการรักษาโรคมะเร็งแบบทางเลือกปลอดภัยหรือมีประสิทธิภาพมากกว่าวิธีที่ผ่านการรับรอง
    • เนื้อหาที่กล่าวอ้างว่าการดื่มน้ำผักผลไม้ให้ผลลัพธ์ในการรักษาโรคมะเร็งได้ดีกว่าเคมีบำบัด
  • เนื้อหาที่แนะนำให้ใช้วิธีการรักษาโรคมะเร็งแบบทางเลือกแทนวิธีที่ผ่านการรับรอง
    • เนื้อหาที่ส่งเสริมการรับประทานอาหารและการออกกำลังกายแทนการเข้ารับการรักษาโรคมะเร็งด้วยวิธีที่ผ่านการรับรอง
  • การไม่สนับสนุนให้ผู้คนปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์หรือรับคำแนะนำทางการแพทย์เมื่อเป็นโควิด-19
  • เนื้อหาที่ส่งเสริมให้ใช้วิธีรักษาที่คิดขึ้นมาเอง สวดมนต์ หรือทำพิธีกรรมแทนการรักษาทางการแพทย์เพื่อรักษาโควิด-19 เช่น การปรึกษาแพทย์หรือการไปที่โรงพยาบาล
  • เนื้อหาที่ขัดแย้งกับคำแนะนำจากหน่วยงานด้านสาธารณสุขในท้องถิ่นหรือองค์การอนามัยโลกเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำแท้งโดยใช้สารเคมีหรือด้วยการผ่าตัด
    • การกล่าวอ้างว่าการทำแท้งทำให้เป็นโรคมะเร็งเต้านม
    • การกล่าวอ้างว่าการทำแท้งมักทำให้เกิดหรือมีความเสี่ยงสูงที่จะทำให้มีภาวะมีบุตรยากหรือแท้งบุตรได้ในอนาคต
  • การโปรโมตวิธีการทำแท้งอื่นๆ แทนการทำแท้งด้วยสารเคมีหรือการผ่าตัดที่หน่วยงานด้านสาธารณสุขเห็นว่าปลอดภัย
  • การโปรโมตสูตรนมทางเลือกสำหรับทารกที่ใช้แทนนมแม่หรือนมสูตรสำเร็จรูป

การให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องโดยการปฏิเสธการมีอยู่ของโรค  

  • เนื้อหาที่ปฏิเสธการมีอยู่ของโควิด-19 หรือปฏิเสธว่ามีผู้เสียชีวิตจากโควิด-19
    • ตัวอย่าง
      • การปฏิเสธว่าโควิด-19 มีอยู่จริง
      • การอ้างว่าผู้คนไม่ได้เสียชีวิตหรือป่วยจากโควิด-19
      • การอ้างว่ายังไม่มีผู้ติดเชื้อหรือผู้เสียชีวิตในประเทศที่หน่วยงานด้านสาธารณสุขในท้องถิ่นหรือ WHO ยืนยันแล้วว่ามีผู้ติดเชื้อหรือผู้เสียชีวิต

เนื้อหาด้านการศึกษา สารคดี งานทางวิทยาศาสตร์ หรือศิลปะ

เราอาจอนุญาตให้แสดงเนื้อหาที่ละเมิดนโยบายการให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องดังที่ระบุไว้ในหน้านี้ หากเนื้อหาดังกล่าวให้บริบทเพิ่มเติมในวิดีโอ เสียง ชื่อ หรือคำอธิบาย แต่ไม่ได้หมายความว่าจะใช้เนื้อหาดังกล่าวส่งเสริมการให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องได้ บริบทเพิ่มเติมอาจรวมถึงความคิดเห็นโต้แย้งจากหน่วยงานด้านสาธารณสุขในท้องถิ่นหรือผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ นอกจากนี้ อาจมีข้อยกเว้นหากเนื้อหามีจุดประสงค์ในการวิจารณ์ โต้แย้ง หรือถากถางการให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องซึ่งละเมิดนโยบายของเรา รวมถึงอาจมีข้อยกเว้นสำหรับเนื้อหาที่มีการอภิปรายผลการวิจัยทางการแพทย์ หรือแสดงการประชุมสาธารณะแบบเปิด เช่น การประท้วงหรือการไต่สวนสาธารณะ หากเนื้อหาไม่ได้มีจุดมุ่งหมายส่งเสริมการให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องซึ่งละเมิดนโยบายของเรา

นอกจากนี้ YouTube เชื่อว่าผู้คนควรมีสิทธิ์ในการแชร์ประสบการณ์ของตนเอง รวมถึงประสบการณ์ส่วนตัวเกี่ยวกับการฉีดวัคซีน ซึ่งหมายความว่าเราอาจให้การยกเว้นแก่เนื้อหาที่ครีเอเตอร์อธิบายถึงประสบการณ์ตรงของตนเองหรือครอบครัว ในขณะเดียวกัน เราตระหนักดีว่าการแชร์ประสบการณ์ส่วนตัวกับการให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องนั้นแตกต่างกัน ดังนั้นเราจะยังคงนำเนื้อหาหรือช่องออกหากพบว่ามีการละเมิดนโยบายอื่นๆ หรือมีพฤติกรรมส่งเสริมการให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับวัคซีน เพื่อแก้ปัญหาความไม่ชัดเจนระหว่างการแชร์ประสบการณ์กับการให้ข้อมูลทางการแพทย์ที่ไม่ถูกต้อง

สิ่งที่จะเกิดขึ้นหากเนื้อหาละเมิดนโยบายนี้

หากมีการละเมิดนโยบายนี้ เราจะนำเนื้อหาที่ละเมิดออกและส่งอีเมลแจ้งให้คุณทราบ หากไม่สามารถยืนยันได้ว่าลิงก์ที่คุณโพสต์ปลอดภัย เราอาจนําลิงก์นั้นออก

หากนี่เป็นการละเมิดหลักเกณฑ์ของชุมชนครั้งแรก คุณอาจจะได้รับคำเตือนโดยไม่มีการลงโทษในช่อง แต่หากไม่ใช่ครั้งแรก เราอาจออกประกาศเตือนให้กับช่องของคุณ หากได้รับประกาศเตือนครบ 3 ครั้งภายใน 90 วัน ช่องของคุณจะถูกปิด ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับระบบประกาศเตือนที่นี่

เราอาจยกเลิกการใช้งานช่องหรือบัญชีของคุณหากมีการละเมิดหลักเกณฑ์ของชุมชนหรือข้อกำหนดในการให้บริการซ้ำหลายครั้ง รวมถึงหากมีการละเมิดอย่างรุนแรงเพียงครั้งเดียวหรือเมื่อเนื้อหาส่วนใหญ่ในช่องละเมิดนโยบาย ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการสิ้นสุดการดำเนินงานของช่องหรือบัญชีที่นี่ 

ข้อมูลนี้มีประโยชน์ไหม

เราจะปรับปรุงได้อย่างไร
ค้นหา
ล้างการค้นหา
ปิดการค้นหา
เมนูหลัก
8310876268240745450
true
ค้นหาศูนย์ช่วยเหลือ
true
true
true
true
true
59
false
false