เงื่อนไขทั่วไปในการเข้าถึง Google Play ใน EEA

หน้านี้ระบุเงื่อนไขทั่วไปในการเข้าถึง Google Play สำหรับนักพัฒนาแอปที่เสนอแอปให้แก่ผู้ใช้ในเขตเศรษฐกิจยุโรป (EEA) เพื่อตอบสนองต่อกฎระเบียบของกฎหมายตลาดดิจิทัล (DMA) เงื่อนไขทั่วไปในการเข้าถึง Google Play อาจแตกต่างออกไปในกรณีที่นักพัฒนาแอปเสนอแอปให้แก่ผู้ใช้นอก EEA

ก. เริ่มต้นใช้งานในฐานะนักพัฒนาแอป Google Play 

นักพัฒนาแอปสามารถลงชื่อสมัครใช้ Google Play ได้อย่างสะดวกรวดเร็วโดยทำตามขั้นตอนต่อไปนี้

  1. ลงชื่อสมัครใช้บัญชีนักพัฒนาแอป Play Console โดยใช้บัญชี Google ของตนเอง 
  2. ยอมรับข้อตกลงการจัดจำหน่ายของนักพัฒนาแอป (DDA) และข้อกำหนดในการให้บริการของ Play Console 
  3. ชำระค่าลงทะเบียนแบบครั้งเดียวจำนวน USD $25 
  4. เลือกประเภทบัญชีเป็นบัญชีขององค์กรหรือบัญชีส่วนบุคคล 
  5. ยืนยันข้อมูลประจำตัวนักพัฒนาแอป 
  6. หากนักพัฒนาแอปเลือกใช้บัญชีส่วนบุคคล จะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดในการทดสอบก่อนที่จะทำให้แอปพร้อมใช้งานใน Google Play

ข. บริการของ Google Play ในฐานะพาร์ทเนอร์ตลอดวงจร 

Google Play ให้การสนับสนุนแอปต่างๆ ตลอดวงจร เพื่อให้นักพัฒนาแอปสามารถสร้าง ขยายการมองเห็น และสร้างรายได้จากแอปได้อย่างเต็มศักยภาพ การสนับสนุนตลอดวงจรของ Google Play ครอบคลุมฟีเจอร์ต่างๆ มากมาย ได้แก่

1. สภาพแวดล้อมที่เชื่อถือได้ที่ช่วยให้ผู้ใช้และนักพัฒนาแอปปลอดภัย

อินเทอร์เน็ตจัดว่าเป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสำหรับผู้บริโภค และแอปและแพลตฟอร์มออนไลน์บางรายการอาจรับประกันไม่ได้ว่าจะปลอดภัย  Google Play ลงทุนกับระบบรักษาความปลอดภัยระดับโลกอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ใช้และนักพัฒนาแอปได้รับการปกป้องจากภัยคุกคามใหม่ๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา วิธีนี้ช่วยให้ผู้ใช้มั่นใจในการดาวน์โหลด อัปเดต และทำธุรกรรมกับแอปของนักพัฒนาแอป ตลอดจนปกป้องนักพัฒนาแอปจากการประพฤติมิชอบ 

เฟรมเวิร์กความปลอดภัยของ Google Play ช่วยคัดกรองแอปใหม่และอัปเดตแอปทั้งหมดตามความเสี่ยงที่หลากหลาย เช่น มัลแวร์ เนื้อหาไม่เหมาะสม เทคนิคที่เป็นการฉ้อโกง และผลิตภัณฑ์ปลอมหรือละเมิดลิขสิทธิ์  กระบวนการตรวจสอบของเราต้องอาศัยทั้งการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ กระบวนการของแมชชีนเลิร์นนิง และเครื่องมือตรวจสอบแบบอัตโนมัติขั้นสูง Google Play ตรวจสอบแอปใหม่ๆ และการอัปเดตแอปหลายพันรายการในลักษณะนี้ทุกวัน และลงทุนอย่างมากกับทีมตรวจสอบทั่วโลกเพื่อให้มั่นใจว่า Google Play จะสามารถประเมินแอปใหม่และแอปที่อัปเดตทั้งหมดได้  มาตรการรักษาความปลอดภัยของ Google Play ในปี 2022 ทำให้ Google Play ดำเนินการดังนี้

  • ป้องกันธุรกรรมที่เป็นการฉ้อโกงและการละเมิดที่มีมูลค่ากว่า 2 พันล้าน USD
  • ป้องกันไม่ให้มีการเผยแพร่แอปที่ละเมิดนโยบายจำนวน 1.4 ล้านแอปใน Google Play
  • บล็อกบัญชีนักพัฒนาแอปที่ไม่ถูกต้อง 173,000 บัญชี และ
  • ช่วยนักพัฒนาแอปแก้ไขจุดอ่อนด้านความปลอดภัยราวๆ 500,000 รายการ ซึ่งส่งผลต่อแอปประมาณ 300,000 แอป โดยมีฐานผู้ใช้งานรวมกันคิดเป็นการติดตั้งประมาณ 2.5 แสนล้านครั้ง

2. เครื่องมือสำหรับนักพัฒนาแอปเพื่อทดสอบ สร้าง และเพิ่มประสิทธิภาพแอป

เราต้องการให้นักพัฒนาแอปประสบความสำเร็จตั้งแต่เริ่มต้น Google Play จึงจัดเตรียมคำแนะนำวิธีใช้ กรณีศึกษา และโมดูลการฝึกอบรมสำหรับประสบการณ์ทุกระดับผ่าน Google Play Academy เพื่อช่วยให้นักพัฒนาแอปบรรลุเป้าหมายนี้  แหล่งข้อมูลเหล่านี้ครอบคลุมทุกอย่างตั้งแต่พื้นฐานการพัฒนาแอปไปจนถึงกลยุทธ์การตลาดและการสร้างรายได้ 

ฟีเจอร์ทดสอบและสร้างของ Google Play ช่วยให้นักพัฒนาแอปสามารถสร้างแอปคุณภาพสูงและทดสอบแอปก่อนเปิดตัว  นักพัฒนาแอปสามารถประเมินประสิทธิภาพบิลด์ของตนผ่านฟีเจอร์ต่างๆ ของ Google Play เช่น รายงานข้อขัดข้อง เครื่องมือด้านประสิทธิภาพ และการทดสอบความปลอดภัย นอกจากนี้ นักพัฒนาแอปยังสามารถเผยแพร่บิลด์ของตนให้กับผู้ตรวจสอบที่เชื่อถือได้และรับรายงานก่อนการเปิดตัวเฉพาะจาก Google Play เพื่อดูแลให้แอปของตนทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ  ที่จริงแล้วแอปที่ใช้เครื่องมือทดสอบของ Google Play มีการติดตั้งแอปและการมีส่วนร่วมของผู้ใช้โดยเฉลี่ยมากกว่า 3 เท่าเมื่อเทียบกับแอปที่ไม่ได้ใช้

เครื่องมือของเราไม่เพียงให้การสนับสนุนนักพัฒนาแอปขณะสร้างแอปเท่านั้น นักพัฒนาแอปยังสามารถใช้เครื่องมือเพิ่มประสิทธิภาพของ Google Play เพื่อปรับปรุงแอปได้อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งวงจรด้วย เครื่องมือเหล่านี้ ได้แก่ Android Performance Tuner, Android Vitals, Google Play Developer Reporting API และการนำส่งเนื้อหา Play ของ Google Play

3. โครงสร้างพื้นฐานในการจัดจำหน่าย อัปเดต และติดตั้งแอปอีกครั้ง

Google Play ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานทางเทคนิคที่ทันสมัยสำหรับอุปกรณ์หลากหลายประเภทเพื่อให้ผู้ใช้ดาวน์โหลดแอป รับอัปเดตแอป และติดตั้งแอปอีกครั้งได้ง่ายและเชื่อถือได้เมื่อเปลี่ยนอุปกรณ์ โครงสร้างพื้นฐานที่รองรับการปรับขนาดของ Google Play ทำให้นักพัฒนาแอปสามารถอัปเดตแอปได้ในไม่กี่คลิก เพื่อให้ผู้ใช้ได้รับเนื้อหาใหม่ในแอปไม่ว่าจะอยู่ที่ใดในโลก Google Play ทำการอัปเดตทีละรายการมากกว่า 2.4 หมื่นล้านครั้งต่อสัปดาห์ และเซิร์ฟเวอร์ 150,000 เซิร์ฟเวอร์ประมวลผลการค้นหา 2.4 ล้านครั้งต่อวินาทีเพื่อตอบสนองความต้องการที่แตกต่างกันในการแสดงเนื้อหาดิจิทัลไปยังอุปกรณ์หลายพันล้านเครื่อง

4. เครื่องมือสำหรับการได้ผู้ใช้ใหม่และเพิ่มจำนวนกลุ่มเป้าหมาย

Google Play มีเครื่องมือสำหรับการค้นพบและจัดอันดับแอปมากมายเพื่อให้ผู้ใช้ค้นพบแอปได้ นอกจากนี้ เรายังมีเครื่องมือที่ออกแบบมาเพื่อช่วยให้นักพัฒนาแอปได้ผู้ใช้ใหม่โดยเฉพาะ เช่น เครื่องมือการลงทะเบียนล่วงหน้าเพื่อกระตุ้นความต้องการแอปก่อนเปิดตัว เนื้อหาส่งเสริมการขายเพื่อให้นักพัฒนาแอปโปรโมตเนื้อหาแก่ผู้ใช้ภายนอกแอปได้ บริการแปลภาษาเพื่อให้แอปเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายทั่วโลกในภาษาที่ต้องการได้ และเครื่องมือด้านสถิติเพื่อช่วยให้นักพัฒนาแอปประเมินประสิทธิภาพแอปของตนเมื่อเทียบกับแอปที่คล้ายกันได้

5. เครื่องมือสำหรับสร้างการมีส่วนร่วม สร้างการกลับมามีส่วนร่วม และคงผู้ใช้ไว้

Play มีฟีเจอร์มากมายที่สนับสนุนการมีส่วนร่วมของผู้ใช้และการกลับมามีส่วนร่วม เช่น ข้อมูลผลิตภัณฑ์ใน Store ที่กำหนดเองเพื่อกำหนดเป้าหมายผู้ใช้ที่ไม่ได้ใช้งาน, ข้อความ Push เพื่อดึงดูดความสนใจและทำให้ผู้ใช้กลับมามีส่วนร่วม และการฝึกอบรมที่ปรับแต่งเกี่ยวกับวิธีกระตุ้นการมีส่วนร่วมของผู้ใช้ 

ค. ค่าบริการของเรา

Google Play เรียกเก็บค่าบริการตามมูลค่าต่อเนื่องที่เรามอบให้

เราเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเป็นเปอร์เซ็นต์สำหรับการดาวน์โหลดแอปที่ต้องซื้อและการซื้อเนื้อหาดิจิทัลในแอปเพื่อให้สอดคล้องกับมูลค่าที่ Google Play มอบให้ในระบบนิเวศของ Google Play ที่กว้างขึ้น นักพัฒนาแอปดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมของเราได้ในนโยบายการชำระเงิน  

รูปแบบการเรียกเก็บเงินตามธุรกรรมของ Google Play หมายความว่าเราจะเรียกเก็บค่าบริการเมื่อนักพัฒนาแอปใน Google Play ขายสินค้าและบริการดิจิทัลในแอปเท่านั้น  ด้วยเหตุนี้ เราจึงไม่ได้สร้างรายได้หากนักพัฒนาแอปก็ไม่ได้สร้างรายได้เหมือนกัน  

รูปแบบการเรียกเก็บเงินตามธุรกรรมของเราออกแบบมาเพื่อให้นักพัฒนาแอปมีความยืดหยุ่นในการเลือกโมเดลธุรกิจที่ต้องการ ดังนี้ 

  • อนุญาตให้นักพัฒนาแอปเสนอเนื้อหาแบบไม่มีค่าใช้จ่ายในแอปของตนโดยไม่เสียค่าธรรมเนียมของ Google Play
  • สนับสนุนให้นักพัฒนาแอปนำเสนอเนื้อหาแบบไม่มีค่าใช้จ่ายควบคู่ไปกับเนื้อหาที่ต้องซื้อในแอปของตน (รูปแบบ "ฟรีเมียม")  ซึ่งช่วยให้นักพัฒนาแอปได้ผู้ใช้ใหม่และดึงดูดผู้ใช้ด้วยเนื้อหาแบบไม่มีค่าใช้จ่ายโดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม 
  • ลดต้นทุนล่วงหน้าสำหรับนักพัฒนาแอป เนื่องจาก Google Play จะเรียกเก็บค่าบริการเมื่อนักพัฒนาแอปมีการซื้อแบบดิจิทัลแล้วเท่านั้น

ตารางด้านล่างแสดงค่าบริการของ Google Play ซึ่งเป็นค่าบริการต่ำสุดที่มีใน App Store ใหญ่ๆ  นักพัฒนาแอปอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับค่าบริการของเราได้ที่นี่

ค่าบริการของ Google Play
ประเภทธุรกรรม ค่าบริการ
การดาวน์โหลดแบบชำระเงินและการซื้อในแอป
  • 15% สำหรับรายได้ $1 ล้านแรกที่นักพัฒนาแอปได้รับทั่วโลกในปีนั้น หากลงทะเบียนในโปรแกรมระดับค่าบริการ 15%
  • 30% สำหรับรายได้ที่เกินจาก $1 ล้านที่นักพัฒนาแอปได้รับทั่วโลกในแต่ละปี (หากลงทะเบียนในโปรแกรม 15%) หรือ 30% ของรายได้ทั้งหมด (หากไม่ได้ลงทะเบียน)
การสมัครใช้บริการ 15% สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ต้องสมัครใช้บริการที่ผู้ใช้ชำระเงินอย่างต่อเนื่อง
ธุรกรรมอื่นๆ ไม่เกิน 15% สำหรับนักพัฒนาแอปที่มีสิทธิ์ตรงตามเกณฑ์ของโปรแกรมต่างๆ เช่น Play Media Experience Program
 

ดังที่อธิบายไว้ในส่วน จ. และ ฉ. ด้านล่าง สำหรับนักพัฒนาแอปที่ทำธุรกรรมผ่านระบบการเรียกเก็บเงินระบบอื่นหรือที่ใช้โปรแกรมข้อเสนอภายนอก ระบบจะใช้รูปแบบค่าธรรมเนียมที่ปรับตาม

ง. นโยบายของเรา

นโยบายของ Google Play จะปกป้องผู้ใช้และนักพัฒนาแอป รวมถึงคงรักษาสภาพแวดล้อมที่มีคุณภาพสูงของ Google Play เอาไว้

นโยบายของ Google Play มีผลบังคับใช้กับแอปทั้งหมดอย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งรวมถึงแอปของ Google เองด้วย นโยบายของ Google Play ระบุไว้ในDDA ของ Google Play DDA ระบุความสัมพันธ์ทางสัญญาระหว่างนักพัฒนาแอปกับ Google เกี่ยวกับการใช้ Google Play เพื่อเผยแพร่ผลิตภัณฑ์ DDA มีนโยบายโปรแกรมสำหรับนักพัฒนาแอป (DPP) ต่างๆ ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ DPP ได้ในศูนย์นโยบายสำหรับนักพัฒนาแอป DDA และ DPP มีผลบังคับใช้ทั่วโลก  นักพัฒนาแอปควรตรวจสอบว่าแอปของตนเป็นไปตาม DDA และ DPP ในเขตอำนาจศาลทั้งหมดที่ตนจัดจำหน่ายแอป 

สำหรับนักพัฒนาแอปที่เสนอโปรแกรมเฉพาะของ EEA ที่ระบุไว้ในส่วน จ. ด้านล่างจะมีเงื่อนไขเพิ่มเติม  นักพัฒนาแอปต้องตรวจสอบด้วยว่าไม่ได้เสนอแอปที่อยู่ภายใต้โปรแกรมเฉพาะ EEA ให้แก่ผู้ใช้ที่อยู่นอก EEA

การปฏิบัติตามนโยบายของ Google Play

นโยบายของ Google Play ช่วยรับรองให้ผู้ใช้ได้รับการปกป้องจากเนื้อหาที่เป็นอันตรายและแสวงหาประโยชน์จากผู้อื่น และแอปเป็นไปตามข้อกำหนดพื้นฐานเพื่อดูแลให้ผู้ใช้ใช้งานได้ นโยบายของ Google Play เป็นสิ่งจำเป็นต่อการคงรักษาสภาพแวดล้อมที่เชื่อถือได้ของ Google Play ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้ดาวน์โหลดและทำธุรกรรมกับแอปใน Google Play ได้อย่างมั่นใจ

เราช่วยให้นักพัฒนาแอปปฏิบัติตามนโยบายของ Google Play ได้ง่ายๆ ดังนี้

  • นโยบายของเราเขียนด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย และพร้อมให้เข้าถึงทางออนไลน์ได้อย่างอิสระ
  • นักพัฒนาแอปจะได้รับการแจ้งเตือนอย่างเพียงพอก่อนการเริ่มใช้นโยบายใหม่หรือการปรับปรุงนโยบายที่มีอยู่ด้วยข้อกำหนดใหม่
  • Google Play มีเครื่องมือติดตามสถานะนโยบายสำหรับแอป ซึ่งช่วยให้นักพัฒนาแอปจัดการการปฏิบัติตามนโยบายใหม่และที่มีอยู่ของ Google Play ได้

นักพัฒนาแอปดูแหล่งข้อมูลให้ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตามนโยบายของ Google Play ได้ที่นี่ รวมถึงใน Google Play Academy ซึ่งมีหลักสูตรฝึกอบรมแบบไม่มีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการปฏิบัติตามนโยบายของ Google Play

จ. จัดการการชำระเงินในแบบของคุณ

นักพัฒนาแอปสามารถเลือกได้ว่าจะดำเนินการกับการซื้อในแอปผ่านระบบการเรียกเก็บเงินของ Google หรือผ่านผู้ให้บริการการเรียกเก็บเงินระบบอื่น

Google Play ให้ความยืดหยุ่นแก่นักพัฒนาแอปในการเลือกว่าจะดำเนินการกับการซื้อในแอปผ่านระบบการเรียกเก็บเงินของ Google Play หรือผ่านระบบการเรียกเก็บเงินของนักพัฒนาแอปเอง  ธุรกรรมที่เกิดขึ้นภายในแอป Google Play แต่อาศัยระบบการเรียกเก็บเงินระบบอื่นจะได้รับสิทธิประโยชน์จากบริการ Google Play เดียวกันกับการซื้อในแอปอื่นๆ ยกเว้นบริการการเรียกเก็บเงิน  ดังนั้น ธุรกรรมเหล่านี้จึงจะเสียค่าบริการ Google Play น้อยกว่าการปรับค่าใช้จ่าย  

นักพัฒนาแอปสามารถทำธุรกรรมผ่านระบบการเรียกเก็บเงินระบบอื่นโดยการลงทะเบียนในโปรแกรมต่อไปนี้อย่างน้อย 1 โปรแกรม 

  • โปรแกรมการเรียกเก็บเงินแบบให้ผู้ใช้ตัดสินใจของ Google Play ซึ่งอนุญาตให้นักพัฒนาแอปมีตัวเลือกให้ผู้ใช้เลือกว่าจะทำธุรกรรมผ่านระบบการเรียกเก็บเงินของ Google Play หรือผ่านระบบการเรียกเก็บเงินระบบอื่น  เมื่อผู้ใช้เลือกทำธุรกรรมโดยใช้ระบบการเรียกเก็บเงินระบบอื่นภายใต้การเรียกเก็บเงินแบบให้ผู้ใช้ตัดสินใจ นักพัฒนาแอปจะต้องชำระค่าบริการมาตรฐาน โดยน้อยกว่าการปรับค่าใช้จ่ายที่จุด 4 เปอร์เซ็นต์  หากผู้ใช้เลือกใช้ระบบการเรียกเก็บเงินของ Google Play เพื่อทำธุรกรรมภายใต้การเรียกเก็บเงินแบบให้ผู้ใช้ตัดสินใจ ระบบจะเรียกเก็บค่าบริการมาตรฐานโดยไม่มีการปรับเปลี่ยนใดๆ อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโปรแกรมการเรียกเก็บเงินแบบให้ผู้ใช้ตัดสินใจได้ที่บทความในศูนย์ช่วยเหลือนี้
  • โปรแกรม EEA ของ Google Play ซึ่งอนุญาตให้นักพัฒนาแอปเสนอเฉพาะระบบการเรียกเก็บเงินระบบอื่นให้แก่ผู้ใช้ โดยไม่ต้องเสนอระบบการเรียกเก็บเงินของ Google Play ควบคู่ไปด้วย  ธุรกรรมที่ดำเนินการผ่านระบบการเรียกเก็บเงินระบบอื่นภายใต้โปรแกรม EEA จะขึ้นอยู่กับค่าบริการมาตรฐาน โดยน้อยกว่าการปรับค่าใช้จ่ายที่จุด 3 เปอร์เซ็นต์ อ่านบทความในศูนย์ช่วยเหลือนี้เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโปรแกรม EEA

นักพัฒนาแอปต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดของโปรแกรมเหล่านี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นักพัฒนาแอปต้องใช้ API ของโปรแกรมเพื่อรายงานธุรกรรมที่ดำเนินการผ่านโปรแกรมเหล่านี้อย่างถูกต้อง และต้องปฏิบัติตามข้อกำหนด UX ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้แน่ใจว่าผู้ใช้จะไม่เข้าใจผิดหรือเห็นเนื้อหาที่ไม่ปลอดภัยหรือผิดกฎหมาย

ฉ. โปรโมตและสรุปธุรกรรมข้ามแพลตฟอร์ม

นักพัฒนาแอปโปรโมตข้อเสนอจากภายนอกและสรุปสัญญาของข้อเสนอได้โดยอิสระ

นักพัฒนาแอปมีตัวเลือกมากมายสำหรับการโปรโมตเนื้อหาสำหรับผู้ใช้ Google Play ซึ่งสามารถซื้อได้นอกแอป (เช่น เว็บสโตร์ของนักพัฒนาแอปเอง)  

นักพัฒนาแอปมีอิสระที่จะติดต่อผู้ใช้ Google Play ของตนเพื่อการโปรโมตผ่านช่องทางต่างๆ นอก Google Play เช่น อีเมลหรือ SMS นักพัฒนาแอปยังสามารถโปรโมตข้อเสนอภายในแอป Google Play ของตน รวมถึงด้วยการเปิดใช้ "ลิงก์ออกนอกแอป" โดย Google Play มีโปรแกรมข้อเสนอภายนอกเพื่อเปิดใช้การโปรโมตในแอปดังกล่าว ตามที่อธิบายไว้ด้านล่าง  

Google Play ไม่จำกัดไม่ให้ผู้ใช้สรุปสัญญานอกแอปซึ่งเป็นผลมาจากการโปรโมตดังกล่าว  และผู้ใช้สามารถดูเนื้อหาภายในแอป Google Play ที่ตนซื้อนอกแอปได้  

โปรแกรมข้อเสนอภายนอกของ Google Play ช่วยให้นักพัฒนาแอปสามารถนำเสนอข้อความโปรโมตและไฮเปอร์ลิงก์ภายในแอป Google Play ของตนสำหรับข้อเสนอภายนอกในเว็บไซต์ ซึ่งผู้ใช้สามารถทำสัญญาสำหรับข้อเสนอเหล่านั้นได้ นักพัฒนาแอปในโปรแกรมข้อเสนอภายนอกที่มีการโปรโมตในแอปซึ่งนำผู้ใช้ออกนอกแอปต้องใช้มาตรการเพื่อให้ผู้ใช้ทราบว่าตนกำลังทำธุรกรรมนอกแอปโดยไม่มีการรักษาความปลอดภัยจาก Play โปรดดูข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องที่นี่ 

สำหรับนักพัฒนาแอปที่ลงชื่อสมัครใช้โปรแกรมข้อเสนอภายนอก ทาง Google Play จะใช้รูปแบบค่าธรรมเนียมใหม่สำหรับการซื้อของผู้ใช้ที่เชื่อมโยงกับแอป Play แต่สรุปสัญญาภายนอกแอป โดย Google Play จะเรียกเก็บค่าธรรมเนียม 2 รายการแยกกันภายใต้รูปแบบนี้ ได้แก่ 

  • ค่าธรรมเนียม "การได้ผู้ใช้ใหม่เริ่มต้น" (DMA, อารัมภบท 40) ที่จะคำนวณเป็นส่วนแบ่งรายได้ตามการซื้อที่เชื่อมโยงกับแอป Play และสรุปสัญญานอกแอป ค่าธรรมเนียมนี้จะจำกัดอยู่ที่ 2 ปีและจะอยู่ที่ 5% สำหรับการสมัครใช้บริการแบบต่ออายุใหม่อัตโนมัติ และ 10% สำหรับข้อเสนออื่นๆ ที่ใช้งานในแอปได้  
  • ค่าธรรมเนียมแยกต่างหากสำหรับบริการต่อเนื่องที่ Google Play มอบให้ เช่น บริการด้านความปลอดภัย อัปเดตแอป และการสนับสนุนการสร้างรายได้ Google Play จะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมนี้ตลอดระยะเวลาของบริการที่ต่อเนื่อง นักพัฒนาแอปสามารถเลือกไม่รับบริการต่อเนื่องจาก Google Play ได้หลังจากระยะเวลาการได้ผู้ใช้ใหม่เริ่มต้น 2 ปี โดยขึ้นอยู่กับผู้ใช้ที่ยอมรับและเปิดใช้การเลือกไม่รับ  เมื่อเลือกไม่รับ ค่าธรรมเนียมจะสิ้นสุดลง ระดับค่าธรรมเนียมจะเท่ากับ 7% สำหรับการสมัครใช้บริการแบบต่ออายุใหม่โดยอัตโนมัติ และ 17% สำหรับข้อเสนออื่นๆ ที่ใช้งานในแอปได้ 

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโปรแกรมข้อเสนอภายนอกได้จากบทความในศูนย์ช่วยเหลือนี้

ช. การอุทธรณ์และบริการไกล่เกลี่ย 

อุทธรณ์

หากนักพัฒนาแอปเชื่อว่าเราบังคับใช้นโยบายกับแอปอย่างไม่ถูกต้อง นักพัฒนาแอปอาจคัดค้านการดำเนินการบังคับใช้ของเราผ่านกระบวนการอุทธรณ์ภายในของ Google Play  Google Play จะคืนสิทธิให้แอปของนักพัฒนาแอปในกรณีที่การดำเนินการบังคับใช้เกิดจากข้อผิดพลาด หากต้องการยื่นอุทธรณ์ นักพัฒนาแอปสามารถคลิกลิงก์ในอีเมลข้อมูลที่ได้รับจาก Google หรือกรอกและส่งแบบฟอร์มนี้ 

นอกจากนี้ นักพัฒนาแอปอาจยกเลิกการดำเนินการบังคับใช้ของ Google Play ได้ด้วยการแก้ไขปัญหาที่ระบุเกี่ยวกับแอป และส่งแอปเวอร์ชันที่เป็นไปตามนโยบาย บทความในศูนย์ช่วยเหลือนี้มีข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการส่งแอปอีกครั้ง

บริการไกล่เกลี่ย

ในกรณีที่ข้อพิพาทที่เกี่ยวข้องกับการใช้นโยบายของ Google Play กับแอปที่เสนอผ่าน Google Play แก่ผู้ใช้ใน EEA ไม่ได้รับการระงับผ่านกระบวนการอุทธรณ์ภายในของ Google นักพัฒนาแอปก็ยังมีตัวเลือกในการระงับข้อพิพาทผ่านบริการไกล่เกลี่ยอิสระโดยศูนย์สำหรับการระงับข้อพิพาทที่มีประสิทธิภาพ (Centre for Effective Dispute Resolution หรือ CEDR) บริการไกล่เกลี่ยคือกระบวนการที่ยืดหยุ่น เป็นความลับ และเป็นกลางซึ่งดำเนินการโดยไม่มีผลกระทบใดๆ ต่อสถานะทางกฎหมายของแต่ละฝ่าย โดยที่ผู้ไกล่เกลี่ยซึ่งเป็นบุคคลที่สามที่เป็นกลางจะช่วยคู่ความที่มีข้อพิพาทในการเจรจาเพื่อให้ได้ข้อสรุปที่เห็นพ้องร่วมกัน

การใช้บริการไกล่เกลี่ยเป็นไปตามความสมัครใจ และทั้งนักพัฒนาแอปและ Google ไม่จำเป็นต้องไกล่เกลี่ยข้อพิพาท เว้นแต่กฎหมายจะกำหนดไว้

นักพัฒนาแอปสามารถสมัครเพื่อรับบริการไกล่เกลี่ยสำหรับข้อพิพาทโดยกรอกแบบฟอร์มการสมัครที่นี่ หากนักพัฒนาแอปและ Google ตกลงที่จะไกล่เกลี่ย Google จะเป็นผู้จ่ายค่าบริการไกล่เกลี่ย แต่นักพัฒนาแอปจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายอื่นๆ ทั้งหมดในการเข้าร่วมและการเตรียมความพร้อมสำหรับการไกล่เกลี่ย รวมถึงค่าใช้จ่ายทางกฎหมาย

เพื่ออำนวยความสะดวกในกระบวนการสำหรับนักพัฒนาแอป CEDR ได้เผยแพร่คำแนะนำไว้ที่นี่ ซึ่งครอบคลุมวิธีเตรียมพร้อมสำหรับบริการไกล่เกลี่ยและสิ่งที่ต้องรวมไว้ในสรุปเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งมักจะส่งให้ผู้ไกล่เกลี่ยและแลกเปลี่ยนก่อนการไกล่เกลี่ย ผลลัพธ์ของการไกล่เกลี่ยไม่มีผลผูกพันต่อนักพัฒนาแอปหรือ Google และไม่มีผลต่อความสามารถของนักพัฒนาแอปในการยื่นการร้องเรียนภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ซ. การออกจาก Google Play

นักพัฒนาแอปสามารถสิ้นสุดบัญชีนักพัฒนาแอป Play Console ได้โดยทำดังนี้ 

  1. เลิกเผยแพร่ซอฟต์แวร์ เนื้อหา เนื้อหาดิจิทัล ตลอดจนสินค้าและบริการอื่นๆ ที่ทำให้พร้อมใช้งานผ่าน Play Console
  2. หยุดใช้ Play Console และข้อมูลเข้าสู่ระบบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องของนักพัฒนาแอป 

นักพัฒนาแอปดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการสิ้นสุดบัญชีนักพัฒนาแอป Play Console ได้ในส่วนที่ 10 ของ DDA

 

ข้อมูลนี้มีประโยชน์ไหม

เราจะปรับปรุงได้อย่างไร

หากต้องการความช่วยเหลือเพิ่มเติม

ลองทำตามขั้นตอนต่อไปนี้

true
ค้นหา
ล้างการค้นหา
ปิดการค้นหา
เมนูหลัก
12584763367483422605
true
ค้นหาศูนย์ช่วยเหลือ
true
true
true
true
true
92637
false
false