[UA] เกี่ยวกับเหตุการณ์ (Universal Analytics)

ใช้เหตุการณ์เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการโต้ตอบกับเนื้อหา
บทความนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับเหตุการณ์ใน Universal Analytics ดูแหล่งข้อมูลต่อไปนี้เพื่อดูข้อมูลที่คล้ายกันซึ่งเกี่ยวกับ Google Analytics 4

ใน Universal Analytics เหตุการณ์คือการโต้ตอบของผู้ใช้กับเนื้อหาอื่นๆ ที่ไม่ใช่การโหลดหน้าเว็บ (การดูหน้าเว็บ) คุณอาจต้องการวิเคราะห์การกระทำต่อไปนี้เป็นเหตุการณ์ ซึ่งได้แก่ การดาวน์โหลด การคลิกลิงก์ การส่งฟอร์ม และการเล่นวิดีโอ

บทความนี้ประกอบด้วย

ดูข้อมูลเหตุการณ์ในรายงาน

คุณต้องเพิ่มโค้ดลงในเว็บไซต์หรือแอปเพื่อดูข้อมูลในรายงานเหตุการณ์ อ่านตั้งค่าการวัดเหตุการณ์

วิธีดูรายงานเหตุการณ์

  1. ลงชื่อเข้าใช้ Google Analytics
  2. ไปที่ข้อมูลพร็อพเพอร์ตี้
  3. เปิดรายงาน
  4. เลือกพฤติกรรม > เหตุการณ์

องค์ประกอบของเหตุการณ์

เหตุการณ์มีองค์ประกอบต่อไปนี้ Hit ของเหตุการณ์จะมีค่าสำหรับองค์ประกอบแต่ละรายการ และค่าเหล่านี้จะแสดงในรายงานของคุณ

  • หมวดหมู่
  • การกระทำ
  • ป้ายกำกับ (แนะนำ แต่ไม่บังคับ)
  • ค่า (ไม่บังคับ)

ตัวอย่างเช่น คุณอาจตั้งค่าปุ่ม "เล่น" วิดีโอบนไซต์ให้ส่ง Hit เหตุการณ์ด้วยค่าต่อไปนี้

  • หมวดหมู่: "วิดีโอ"
  • การกระทำ: "เล่น"
  • ป้ายกำกับ: "วันเกิดครบรอบหนึ่งขวบของลูก"

หมวดหมู่

หมวดหมู่คือชื่อที่คุณใช้เป็นวิธีจัดกลุ่มออบเจ็กต์ที่ต้องการวิเคราะห์ โดยทั่วไป คุณจะใช้ชื่อหมวดหมู่เดียวกันหลายครั้งสำหรับองค์ประกอบ UI ที่เกี่ยวข้องซึ่งคุณต้องการจัดกลุ่มให้อยู่ในหมวดหมู่ดังกล่าว

สมมติคุณต้องการวัดว่ามีการดาวน์โหลดวิดีโอกี่ครั้ง ให้ใช้

  • หมวดหมู่: "วิดีโอ"
  • การกระทำ: "ดาวน์โหลด"
  • ป้ายกำกับ: "รักแห่งสยาม"

ในกรณีนี้จะมีแค่หมวดหมู่เดียวคือ "วิดีโอ" ในรายงานของคุณ และคุณจะเห็นเมตริกรวมสำหรับการโต้ตอบของผู้ใช้กับองค์ประกอบทั้งชุดของออบเจ็กต์วิดีโอรายการเดียวนั้น

อย่างไรก็ตาม โดยปกติแล้วคุณมักจะต้องการวัดออบเจ็กต์มากกว่า 1 รายการ จึงควรคิดก่อนว่าจะจัดหมวดหมู่การรายงานอย่างไรก่อนที่จะติดตั้งใช้งาน ตัวอย่างเช่น คุณอาจต้องการวิเคราะห์ภาพยนตร์ทั้งหมดภายใต้หมวดหมู่หลัก "วิดีโอ" เพื่อดูจำนวนรวมของการโต้ตอบกับวิดีโอทั้งหมด โดยไม่คำนึงว่าผู้ใช้โต้ตอบกับวิดีโอรายการใด

หรืออีกแบบหนึ่ง คุณอาจสร้างหมวดหมู่แยกตามประเภทของวิดีโอ หมวดหมู่หนึ่งสำหรับวิดีโอภาพยนตร์ อีกหมวดหมู่หนึ่งสำหรับวิดีโอเพลง แถมยังอยากสร้างหมวดหมู่แยกสำหรับการดาวน์โหลดวิดีโอด้วย

  • วิดีโอ - ภาพยนตร์
  • วิดีโอ - เพลง
  • ดาวน์โหลด

ในสถานการณ์นี้ คุณจะเห็นจำนวนเหตุการณ์ทั้งหมดรวมกัน 3 หมวดหมู่ในรายงาน เมตริกเหตุการณ์ทั้งหมดจะแสดงจำนวนเหตุการณ์ทั้งหมดสำหรับทุกหมวดหมู่ที่คุณระบุไว้ในการติดตั้งใช้งาน อย่างไรก็ตาม คุณจะดูเมตริกแบบรวมสำหรับวิดีโอทั้งหมดแยกจากการดาวน์โหลดไม่ได้ เนื่องจากเมตริกเหตุการณ์แบบละเอียดจะรวมอยู่ในหมวดหมู่ของเหตุการณ์นั้นๆ แล้ว

แม้ว่ารูปแบบออบเจ็กต์ของเหตุการณ์จะยืดหยุ่นได้ แต่คุณก็ควรวางแผนโครงสร้างการรายงานที่ต้องการไว้ก่อนที่จะตัดสินใจตั้งชื่อหมวดหมู่ หากคุณวางแผนที่จะใช้ชื่อหมวดหมู่เดียวกันในหลายตำแหน่ง โปรดอ้างอิงหมวดหมู่ด้วยชื่อให้ถูกต้อง ตัวอย่างเช่น หากคุณวางแผนที่จะเรียกหมวดหมู่วิดีโอว่า "วิดีโอ" และภายหลังคุณลืมโดยใช้คำที่สะกดว่า "วีดีโอ" แทน จะกลายเป็นว่าคุณมีหมวดหมู่แยกกัน 2 หมวดหมู่ นอกจากนี้ หากคุณตัดสินใจที่จะเปลี่ยนชื่อหมวดหมู่ของออบเจ็กต์ที่บันทึกด้วยชื่ออื่นไปแล้ว ข้อมูลที่ผ่านมาของหมวดหมู่เดิมจะไม่ได้รับการประมวลผลใหม่ ดังนั้นคุณจึงมีเมตริกสำหรับองค์ประกอบหน้าเว็บเดียวกันแสดงใน 2 หมวดหมู่ในอินเทอร์เฟซการรายงาน

การกระทำ

โดยทั่วไป คุณจะใช้พารามิเตอร์การกระทำในการตั้งชื่อประเภทของเหตุการณ์หรือการโต้ตอบที่ต้องการวัดสำหรับออบเจ็กต์บนเว็บหนึ่งๆ ตัวอย่างเช่น ใช้หมวดหมู่ "วิดีโอ" หมวดหมู่เดียวในการวิเคราะห์จำนวนเหตุการณ์ที่มีพารามิเตอร์นี้ เช่น

  • เวลาที่วิดีโอโหลดเสร็จสมบูรณ์
  • การคลิกปุ่ม "เล่น"
  • การคลิกปุ่ม "หยุด"
  • การคลิกปุ่ม "หยุดชั่วคราว"

เช่นเดียวกับหมวดหมู่ คุณสามารถตั้งชื่อการกระทำได้ตามใจคุณ แต่โปรดคำนึงถึงคุณลักษณะสำคัญ 2 ข้อเกี่ยวกับวิธีการใช้การกระทำของเหตุการณ์ในรายงาน

  • การกระทำทั้งหมดแสดงแยกต่างหากจากหมวดหมู่หลัก นี่เป็นวิธีที่ดีอีกวิธีหนึ่งในการจัดกลุ่มข้อมูลเหตุการณ์ในรายงาน
  • เหตุการณ์ที่ไม่ซ้ำกำหนดโดยชื่อการกระทำที่ไม่ซ้ำ คุณสามารถใช้ชื่อการกระทำซ้ำกันในหมวดหมู่ต่างๆ ได้ แต่จะส่งผลต่อการคำนวณเหตุการณ์ที่ไม่ซ้ำ โปรดดูคำแนะนำด้านล่าง และในส่วน "การนับโดยนัย" สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม

ป้ายกำกับ

คุณใช้ป้ายกำกับเพื่อให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่ต้องการติดตาม เช่น ชื่อภาพยนตร์ในวิดีโอ หรือชื่อไฟล์ที่ดาวน์โหลดได้

  • หมวดหมู่: "ดาวน์โหลด"
  • การกระทำ: "PDF"
  • ป้ายกำกับ: "/salesForms/orderForm1.pdf"

เช่นเดียวกับหมวดหมู่และการกระทำ จะมีรายงานหนึ่งที่แสดงป้ายกำกับทั้งหมดที่คุณสร้างขึ้น ให้คิดเสียว่าป้ายกำกับเป็นเหมือนการสร้างมิติข้อมูลการรายงานเพิ่มเติมสำหรับการโต้ตอบของผู้ใช้กับออบเจ็กต์หน้าเว็บ ตัวอย่างเช่น สมมติว่าคุณมีวิดีโอที่ฝังอยู่ 5 รายการในหน้าเว็บที่ต้องการวิเคราะห์ วิดีโอเพลเยอร์แต่ละโปรแกรมจะใช้หมวดหมู่ "วิดีโอ" ที่มีการกระทำ "เล่น" แต่ก็มีป้ายกำกับแยกกันได้ (เช่น ชื่อภาพยนตร์) เพื่อให้ปรากฏเป็นองค์ประกอบที่แยกจากกันในรายงาน

  • หมวดหมู่: "วิดีโอ", การกระทำ: "เล่น", ป้ายกำกับ: "รักแห่งสยาม"
  • หมวดหมู่: "วิดีโอ", การกระทำ: "เล่น", ป้ายกำกับ: "องค์บาก"

เช่นเดียวกับหมวดหมู่ คุณสามารถตั้งชื่อป้ายกำกับได้ตามใจคุณ แต่โปรดคำนึงถึงคุณลักษณะสำคัญ 2 ข้อเกี่ยวกับวิธีการใช้ป้ายกำกับของเหตุการณ์ในรายงาน

  • ป้ายกำกับทั้งหมดแสดงแยกต่างหากจากหมวดหมู่และการกระทำหลัก นี่เป็นวิธีที่ดีอีกวิธีหนึ่งในการจัดกลุ่มข้อมูลเหตุการณ์ในรายงาน
  • เหตุการณ์ที่ไม่ซ้ำกำหนดได้บางส่วนโดยชื่อป้ายกำกับที่ไม่ซ้ำ คุณสามารถใช้ชื่อป้ายกำกับซ้ำกันในหมวดหมู่และการกระทำต่างๆ ได้ แต่จะส่งผลต่อการคำนวณเหตุการณ์ที่ไม่ซ้ำ โปรดดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ด้านล่างและในส่วน "การนับโดยนัย"

แนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดเกี่ยวกับการกระทำและป้ายกำกับ

เพื่อให้ได้รับการรายงานที่ดีที่สุด โปรดคำนึงถึงข้อเสนอแนะในการใช้การกระทำต่อไปนี้

  • ชื่อการกระทำควรเกี่ยวข้องกับข้อมูลรายงานของคุณ การวัดเหตุการณ์จะรวมเมตริกที่มีชื่อการกระทำเดียวกันใน 2 หมวดหมู่ที่ต่างกัน เช่น หากคุณใช้ชื่อการกระทำว่า "คลิก" สำหรับทั้งหมวดหมู่ "ดาวน์โหลด" และ "วิดีโอ" เมตริกสำหรับ "คลิก" ในรายงานการกระทำยอดนิยมจะแสดงการโต้ตอบทั้งหมดที่ติดแท็กด้วยชื่อเดียวกันนั้น จากนั้นคุณจึงจะดูการแจกแจงโดยละเอียดของการกระทำ "คลิก" แยกตามหมวดหมู่ได้ในระดับรายงานถัดไป อย่างไรก็ตาม หากคุณใช้การกระทำ "คลิก" แบบไม่แยกหมวดหมู่เลยเมื่อติดตั้งใช้งานการวัดเหตุการณ์ ประโยชน์ของกลุ่มนั้นในรายงานก็จะลดลง แนะนำให้เลือกชื่อการกระทำที่เกี่ยวข้องกับหมวดหมู่ข้อมูลหากคุณวางแผนที่จะใช้การวัดเหตุการณ์ทั่วทั้งเว็บไซต์ ตัวอย่างเช่น คุณอาจเลือกที่จะเก็บคำว่า "คลิก" ไว้สำหรับการโต้ตอบกับแกดเจ็ต ขณะที่เก็บคำว่า "เล่น" "หยุดชั่วคราว" และ "หยุด" ไว้สำหรับการโต้ตอบกับวิดีโอเพลเยอร์
  • ใช้ชื่อการกระทำเหมือนกันหมดเพื่อรวมหรือแยกการโต้ตอบของผู้ใช้ ตัวอย่างเช่น คุณสามารถใช้คำว่า "เล่น" เป็นชื่อการกระทำของหมวดหมู่ "วิดีโอ" สำหรับวิดีโอทั้งหมดบนเว็บไซต์ของคุณ ในกรณีนี้ รายงานการกระทำยอดนิยมจะแสดงข้อมูลรวมของเหตุการณ์สำหรับการกระทำ "เล่น" และคุณจะเห็นการเปรียบเทียบระหว่างเหตุการณ์นี้ของวิดีโอกับเหตุการณ์อื่นๆ ของวิดีโอ เช่น "หยุดชั่วคราว" หรือ "หยุด"

    อย่างไรก็ตาม สมมติว่าคุณต้องการใช้หมวดหมู่วิดีโอเดียวสำหรับรายงาน แต่ต้องการข้อมูลบางอย่างเกี่ยวกับอินเทอร์เฟซวิดีโอเพลเยอร์ 2 รายการที่แตกต่างกัน คุณสามารถใช้ชื่อการกระทำเพื่อแยกระหว่างอินเทอร์เฟซวิดีโอเพลเยอร์ทั้งสอง โดยไม่ต้องสร้างหมวดหมู่วิดีโอแยกต่างหาก จากนั้นรายงานจะสามารถแยกระหว่างวิดีโอเพลเยอร์ทั้งสองได้โดยไม่ต้องเสียประโยชน์ของข้อมูลรวมจากวิดีโอทั้งหมดบนเว็บไซต์ของคุณ

    หมวดหมู่: "วิดีโอ", การกระทำ: "เล่น - Mac Chrome"
    หมวดหมู่: "วิดีโอ", การกระทำ: "เล่น - Windows Chrome"
  • การกระทำไม่จำเป็นต้องตั้งชื่อตายตัว คุณตั้งชื่อการกระทำเป็นอะไรก็ได้ ในบางสถานการณ์ เหตุการณ์หรือชื่อการกระทำจริงอาจเป็นคำที่ไม่มีความหมาย คุณจึงอาจต้องใช้พารามิเตอร์การกระทำเพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบอื่นๆ ตัวอย่างเช่น หากต้องการวิเคราะห์การดาวน์โหลดบนหน้าเว็บ คุณอาจระบุประเภทไฟล์เอกสารเป็นพารามิเตอร์การกระทำสำหรับเหตุการณ์การดาวน์โหลดได้ ในกรณีนี้ รายงานของคุณสำหรับหมวดหมู่ "การกระทำ" จะแจกแจงเป็นประเภทไฟล์ (pdf, doc, xls)
  • เหตุการณ์ที่ไม่ซ้ำเพิ่มขึ้นตามการกระทำที่ไม่ซ้ำ ทุกครั้งที่ผู้ใช้โต้ตอบกับออบเจ็กต์ที่ติดแท็กด้วยชื่อการกระทำหนึ่งๆ ระบบจะนับการโต้ตอบแรกเป็นเหตุการณ์ที่ไม่ซ้ำ 1 รายการสำหรับชื่อการกระทำนั้น การโต้ตอบเพิ่มเติมที่มีทริกเกอร์การกระทำเดียวกันสำหรับเซสชันของผู้ใช้ดังกล่าวจะไม่รวมอยู่ในการคำนวณเหตุการณ์ที่ไม่ซ้ำสำหรับการกระทำนั้นๆ ซึ่งจะเป็นเช่นนี้แม้ในกรณีที่ผู้ใช้ออกจากออบเจ็กต์นั้นและเริ่มโต้ตอบกับออบเจ็กต์อื่นที่ติดแท็กด้วยชื่อการกระทำเดียวกัน

    กรณีนี้จะทำให้เกิดผลลัพธ์ที่สำคัญ 2 ประการในรายงาน อย่างแรก สมมติว่าผู้ใช้โต้ตอบกับการกระทำ "เล่น" จากวิดีโอเพลเยอร์ที่ไม่ซ้ำ 2 โปรแกรมที่ติดแท็กด้วยหมวดหมู่แยกกัน รายงานการกระทำยอดนิยมสำหรับการ "เล่น" จะแสดงเหตุการณ์ที่ไม่ซ้ำ 1 รายการแม้ว่าผู้ใช้จะโต้ตอบกับวิดีโอเพลเยอร์ที่ไม่ซ้ำ 2 อันก็ตาม อย่างที่สอง รายงานการกระทำของแต่ละหมวดหมู่จะแสดงการกระทำที่ไม่ซ้ำ 1 รายการ เนื่องจากมีเหตุการณ์ที่ไม่ซ้ำ 1 รายการต่อคู่หมวดหมู่/การกระทำ ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ในหัวข้อการนับโดยนัย

 

ค่า

องค์ประกอบค่าเป็นจำนวนเต็ม และใช้เพื่อกำหนดค่าตัวเลขให้กับออบเจ็กต์หน้าเว็บ ตัวอย่างเช่น ใช้ค่าในการระบุเวลาเป็นวินาทีสำหรับการโหลดวิดีโอเพลเยอร์ หรือทริกเกอร์ค่าเป็นจำนวนเงินเมื่อวิดีโอเพลเยอร์เล่นไปถึงตำแหน่งที่ระบุ

หมวดหมู่: "วิดีโอ", การกระทำ: "เวลาโหลดวิดีโอ", ป้ายกำกับ: "รักแห่งสยาม", ค่า: เวลาดาวน์โหลด

ระบบจะอ่านค่าเป็นตัวเลขและรายงานจะบวกจำนวนเหตุการณ์แต่ละครั้งเข้าไปในค่ารวม (ดูการนับโดยนัยด้านล่าง) รวมทั้งยังระบุค่าเฉลี่ยของหมวดหมู่ด้วย ในตัวอย่างข้างต้น ระบบจะเรียกเหตุการณ์สำหรับการกระทำ "เวลาโหลดวิดีโอ" เมื่อวิดีโอโหลดเสร็จสมบูรณ์ ชื่อวิดีโอจะระบุเป็นป้ายกำกับ และเวลาโหลดจะนับสะสมไปเรื่อยๆ ทุกครั้งที่มีการดาวน์โหลดวิดีโอ จากนั้นคุณจึงสามารถระบุเวลาโหลดเฉลี่ยของการกระทำ "เวลาโหลดวิดีโอ" สำหรับหมวดหมู่ "วิดีโอ" ได้ สมมติว่าคุณมีการดาวน์โหลดที่ไม่ซ้ำกัน 5 ครั้งสำหรับวิดีโอบนเว็บไซต์ โดยมีเวลาดาวน์โหลดเป็นวินาทีดังนี้

  • 10
  • 25
  • 8
  • 5
  • 5
รายงานของคุณจะคำนวณค่าต่อไปนี้ โดยที่ตัวเลขในตัวอย่างแสดงถึงเวลาดาวน์โหลดเป็นวินาที
  • จำนวนเซสชันที่มีเหตุการณ์: 5
  • ค่า: 53
  • ค่าเฉลี่ย: 10.6

ไม่สามารถใช้จำนวนเต็มลบได้

เหตุการณ์ที่ไม่ใช่การโต้ตอบ

คำว่า "ไม่ใช่การโต้ตอบ" ใช้กับพารามิเตอร์บูลีนที่ไม่บังคับซึ่งส่งผ่านไปยังเมธอดที่ส่ง Hit เหตุการณ์ได้ พารามิเตอร์นี้ทำให้คุณระบุวิธีกำหนดอัตราตีกลับสำหรับหน้าเว็บในเว็บไซต์ที่มีการวัดเหตุการณ์ด้วยได้ เช่น สมมติว่าคุณมีหน้าแรกที่มีวิดีโอฝังอยู่ โดยปกติแล้วคุณก็คงจะอยากรู้อัตราตีกลับสำหรับหน้าแรก แต่จะกำหนดอย่างไรดีล่ะ คุณจะถือว่าการโต้ตอบของผู้เข้าชมกับวิดีโอบนหน้าแรกเป็นสัญญาณการมีส่วนร่วมที่สำคัญหรือไม่ หากใช่ คุณก็คงต้องรวมการโต้ตอบกับวิดีโอดังกล่าวในการคำนวณอัตราตีกลับด้วย เพื่อให้เซสชันซึ่งมีเฉพาะหน้าแรกที่มีการคลิกวิดีโอไม่ถูกคำนวณเป็นการตีกลับ ในทางตรงกันข้าม คุณอาจต้องการการคำนวณอัตราตีกลับสำหรับหน้าแรกที่ละเอียดกว่า โดยคุณต้องการทราบเปอร์เซ็นต์ของเซสชันซึ่งมีเฉพาะหน้าแรกโดยไม่คำนึงถึงการคลิกที่วิดีโอ ในกรณีนี้ คุณคงจะต้องยกเว้นการโต้ตอบกับวิดีโอทั้งหมดจากการคำนวณอัตราตีกลับ

ซึ่งตรงนั้นเองที่พารามิเตอร์ที่ไม่ใช่การโต้ตอบซึ่งเป็นพารามิเตอร์ที่ไม่บังคับเข้ามามีบทบาท อย่าลืมว่าอัตราตีกลับหมายถึงเซสชันที่มี Hit การโต้ตอบแค่ครั้งเดียวเท่านั้น โดยค่าเริ่มต้น Hit เหตุการณ์จะถือว่าเป็น Hit การโต้ตอบ ซึ่งหมายความว่าจะรวมอยู่ในการคำนวณอัตราตีกลับด้วย อย่างไรก็ตาม เมื่อตั้งค่าพารามิเตอร์นี้เป็นจริง ประเภทของ Hit เหตุการณ์จะไม่ถือเป็น Hit การโต้ตอบอีกต่อไป คุณสามารถใช้เรื่องนี้ในการปรับการคำนวณอัตราตีกลับสำหรับหน้าเว็บที่มีเหตุการณ์ การตั้งค่าพารามิเตอร์นี้เป็นจริงหมายความว่าเซสชันที่มีหน้าเว็บเดียวที่ติดแท็กด้วยเหตุการณ์ที่ไม่ใช่การโต้ตอบจะถูกนับเป็นการตีกลับ แม้ในกรณีที่ผู้เข้าชมทริกเกอร์เหตุการณ์ดังกล่าวระหว่างเซสชันด้วยก็ตาม ในทางกลับกัน การตัดตัวเลือกนี้ออกหมายความว่าเซสชันหน้าเว็บเดียวบนหน้าที่มีการวัดเหตุการณ์จะไม่ถูกนับเป็นการตีกลับถ้าผู้เข้าชมยังทริกเกอร์เหตุการณ์ระหว่างเซสชันเดียวกันอยู่

การนับโดยนัย

ในการวัดเหตุการณ์ ระบบจะนับการโต้ตอบกับออบเจ็กต์หน้าเว็บเป้าหมายแต่ละครั้งและเชื่อมโยงกับเซสชันของผู้ใช้ที่เกี่ยวข้อง ในรายงาน จำนวนเหตุการณ์ทั้งหมดจะคำนวณจากจำนวนการโต้ตอบทั้งหมดกับออบเจ็กต์หน้าเว็บเป้าหมาย

ตัวอย่างเช่น หากผู้ใช้รายหนึ่งคลิกปุ่มเดียวกันบนวิดีโอ 5 ครั้ง จำนวนรวมของเหตุการณ์ที่เชื่อมโยงกับวิดีโอนั้นจะเท่ากับ 5 และจำนวนเหตุการณ์ที่ไม่ซ้ำจะเท่ากับ 1

ตารางต่อไปนี้จะแสดงให้เห็นว่าข้อมูลมีการรวมในอินเทอร์เฟซการรายงานอย่างไรสำหรับหมวดหมู่เหตุการณ์หนึ่งๆ ในตัวอย่างนี้ ชื่อหมวดหมู่เดียวกันจะถูกเรียกจากวิดีโอเพลเยอร์แยกกัน 2 อัน แต่ละอันจะมีป้ายกำกับไม่เหมือนกัน วิดีโอเพลเยอร์เหล่านี้จะมีการกระทำ "เล่น" และ "หยุด" เหมือนกันตามที่โปรแกรมไว้ใน Flash UI สำหรับวิดีโอเพลเยอร์

การวิเคราะห์เหตุการณ์สำหรับหมวดหมู่ "วิดีโอ"

การกระทำ ป้ายกำกับ: "รักแห่งสยาม" ป้ายกำกับ:"คิดถึงวิทยา" ผลรวม
เล่น

22 คลิกใน

10 เซสชันที่มีเหตุการณ์

7 คลิกใน

5 เซสชันที่มีเหตุการณ์

รวม 29 เหตุการณ์และ

15 เหตุการณ์ที่ไม่ซ้ำ "เล่น"

หยุดชั่วคราว

3 คลิกใน

2 เซสชันที่มีเหตุการณ์

16 คลิกใน

8 เซสชันที่มีเหตุการณ์

รวม 19 เหตุการณ์และ 

10 เหตุการณ์ที่ไม่ซ้ำ "หยุดชั่วคราว"

หยุด

2 คลิกใน

2 เซสชันที่มีเหตุการณ์

4 คลิกใน

3 เซสชันที่มีเหตุการณ์

รวม 6 เหตุการณ์และ 

5 เหตุการณ์ที่ไม่ซ้ำ "หยุด"

ผลรวม

รวม 27 เหตุการณ์และ

14 เหตุการณ์ที่ไม่ซ้ำสำหรับรักแห่งสยาม

รวม 27 เหตุการณ์และ

16 เหตุการณ์ที่ไม่ซ้ำสำหรับคิดถึงวิทยา

รวม 54 เหตุการณ์และ

30 เหตุการณ์ที่ไม่ซ้ำสำหรับหมวดหมู่ "วิดีโอ"

ระบบจะถือว่าเหตุการณ์แหล่งที่มาเป็นของเซสชันที่มีเหตุการณ์ต่อเมื่อเหตุการณ์นั้นเป็นเหตุการณ์แรกของเซสชัน แม้ว่าคุณจะมีค่าเฉพาะสำหรับหมวดหมู่ การกระทำ และป้ายกำกับแต่ละรายการ แต่จำนวนเหตุการณ์ที่ไม่ซ้ำกันก็อาจไม่เท่ากับเซสชันที่มีเหตุการณ์

ข้อควรพิจารณาในการติดตั้งใช้งาน

โปรดคำนึงถึงประเด็นต่อไปนี้เมื่อติดตั้งใช้งานการวัดเหตุการณ์

ผลกระทบที่มีต่ออัตราตีกลับ

โดยทั่วไป "การตีกลับ" หมายถึงเซสชันการเข้าชมไซต์ของคุณเพียงหน้าเดียว ใน Analytics การตีกลับจะคำนวณจากเซสชันที่ทริกเกอร์คำขอ GIF เพียงรายการเดียว เช่น เมื่อผู้ใช้เข้าชมเว็บไซต์ของคุณเพียงหน้าเดียวแล้วออกไปโดยไม่มีการส่งคำขออื่นๆ ไปยังเซิร์ฟเวอร์ของ Analytics สำหรับเซสชันนั้น แต่หากคุณติดตั้งการวัดเหตุการณ์สำหรับเว็บไซต์ ก็อาจสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงในเมตริกอัตราตีกลับในหน้าที่มีการวัดเหตุการณ์ นั่นเป็นเพราะการวัดเหตุการณ์ถือเป็นคำขอการโต้ตอบเช่นเดียวกับการวัดหน้าเว็บ

ตัวอย่างเช่น สมมติว่าคุณมีหน้าเว็บที่มีวิดีโอเพลเยอร์ซึ่งมีอัตราตีกลับสูงมาโดยตลอด และไม่ได้ติดตั้งการวัดเหตุการณ์สำหรับหน้าเว็บนั้น หากภายหลังคุณตั้งค่าการวัดเหตุการณ์สำหรับวิดีโอเพลเยอร์ คุณอาจสังเกตพบว่าอัตราตีกลับลดลงสำหรับหน้าเว็บดังกล่าว เนื่องจาก Analytics จะบันทึกการโต้ตอบของผู้ใช้กับวิดีโอเพลเยอร์และส่งการโต้ตอบนั้นไปยังเซิร์ฟเวอร์เป็นคำขอ GIF เพิ่มเติม ดังนั้นแม้ว่าผู้เข้าชมหน้าเว็บในเปอร์เซ็นต์เดียวกันอาจยังคงออกจากหน้าเว็บโดยไม่ดูหน้าเว็บอื่นในเว็บไซต์ แต่การโต้ตอบกับวิดีโอเพลเยอร์ของผู้เข้าชมก็จะเรียกการวัดเหตุการณ์ ซึ่งทำให้เซสชันนั้นไม่ใช่การตีกลับอีกต่อไป

ในกรณีนี้ "การตีกลับ" สำหรับหน้าเว็บที่เปิดใช้เหตุการณ์จะมีความหมายแตกต่างไปเล็กน้อย นั่นคือเซสชันหน้าเว็บเดียวที่ไม่มีการโต้ตอบกับผู้ใช้เลยในเหตุการณ์เป้าหมาย

สิ่งสำคัญที่ควรทราบไว้ก็คือการใช้การวัดเหตุการณ์ที่รันอัตโนมัติเมื่อมีการโหลดหน้าเว็บจะทำให้อัตราการตีกลับสำหรับหน้าเว็บนั้นเป็น 0

ขีดจำกัดเหตุการณ์ต่อเซสชัน

ga.js

Hit เหตุการณ์ 10 ครั้งแรกที่ส่งไปยัง Analytics จะได้รับการประมวลผลโดยทันที หลังจากนั้นอัตราการประมวลผลจะจำกัดอยู่ที่ 1 Hit เหตุการณ์ต่อวินาที อัตราการประมวลผลสูงสุดอยู่ที่ 500 Hit ต่อเซสชัน

analytics.js และ gtag.js

Hit เหตุการณ์ 20 ครั้งแรกที่ส่งไปยัง Analytics จะได้รับการประมวลผลโดยทันที หลังจากนั้นอัตราการประมวลผลจะจำกัดอยู่ที่ 2 Hit เหตุการณ์ต่อวินาที อัตราการประมวลผลสูงสุดอยู่ที่ 500 Hit ต่อเซสชัน ขีดจำกัดนี้มีผลกับ Hit ทั้งหมดยกเว้นรายการอีคอมเมิร์ซหรือ Hit ธุรกรรม

วิธีจำกัดจำนวน Hit ให้ต่ำกว่าขีดจำกัดต่อเซสชัน

  • หลีกเลี่ยงการเขียนสคริปต์ให้วิดีโอส่งเหตุการณ์ทุกวินาทีที่มีการเล่นรวมทั้งทริกเกอร์เหตุการณ์อื่นๆ ที่ซ้ำกันบ่อย
  • หลีกเลี่ยงการวัดการขยับเมาส์มากเกินไป
  • หลีกเลี่ยงการใช้ไทม์แลปส์ที่ทำให้จำนวนเหตุการณ์เพิ่มขึ้นสูง

แนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดในการใช้เหตุการณ์

รูปแบบการออกแบบการวัดเหตุการณ์นั้นยืดหยุ่นมาก และใช้ได้หลายแบบนอกเหนือจากรูปแบบทั่วไปที่เป็นเหตุการณ์ซึ่งเกิดขึ้นจากผู้ใช้ โดยคุณจะเป็นผู้ตัดสินใจเลือกการออกแบบด้วยตัวเอง ด้วยเหตุผลนี้ รายงานการวัดเหตุการณ์ที่มีประโยชน์จึงต้องมีการทำงานร่วมกันกับผู้ใช้รายงานและการวางแผนรายงานที่ดี

  • กำหนดองค์ประกอบทั้งหมดที่คุณต้องการวิเคราะห์ข้อมูลไว้ล่วงหน้า แม้ว่าตอนแรกคุณจะตรวจสอบเพียงออบเจ็กต์เดียวในเว็บไซต์ แต่การเห็นภาพรวมของออบเจ็กต์/เหตุการณ์ต่างๆ ที่ต้องการวิเคราะห์จะช่วยในการจัดโครงสร้างรายงานที่สามารถปรับขนาดให้เหมาะกับจำนวนและประเภทเหตุการณ์ที่คุณต้องการวิเคราะห์ซึ่งเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
  • ทำงานร่วมกับผู้ใช้รายงานเพื่อวางแผนรายงานการวัดเหตุการณ์ การรู้ล่วงหน้าว่ารายงานจะออกมาเป็นอย่างไรจะช่วยเป็นแนวทางในการใช้งานการวัดเหตุการณ์ตามโครงสร้างที่วางไว้ ตัวอย่างเช่น หากรายงานต้องการแสดงแค่การโต้ตอบกับ UI โครงสร้างหมวดหมู่ของคุณก็จะต่างจากรายงานที่ต้องการติดตาม Flash UI ชนิดอื่นๆ เช่น เมนู แกดเจ็ตที่ฝัง และเวลาในการโหลด นอกจากนี้ คุณยังแจ้งให้ผู้ใช้รายงานทราบเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการติดตามลักษณะอื่นๆ ได้ด้วยการวัดเหตุการณ์เพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุด เช่น ผู้ใช้รายงานอาจสนใจติดตามพฤติกรรมของผู้ใช้บนอินเทอร์เฟซวิดีโอ Flash แต่ก็สนใจที่จะติดตามเวลาในการตอบสนองสำหรับเวลาในการโหลดวิดีโอเช่นกัน ในกรณีนั้น คุณสามารถวางแผนล่วงหน้าเพื่อตั้งชื่อที่สื่อความหมายในการเรียกเหตุการณ์ของคุณ
  • ใช้หลักเกณฑ์ในการตั้งชื่อทีมีความชัดเจนและสอดคล้องกัน ในกระบวนการใช้งานการวัดเหตุการณ์ ทุกชื่อที่คุณระบุสำหรับหมวดหมู่ การกระทำ และป้ายกำกับจะปรากฏในอินเทอร์เฟซการรายงาน นอกจากนี้ คู่หมวดหมู่/การกระทำจะถือเป็นองค์ประกอบที่ไม่ซ้ำในสถิติรายงาน คุณจึงควรคิดก่อนว่าต้องการคำนวณเมตริกอย่างไรสำหรับออบเจ็กต์ทั้งหมดที่อยู่ในหมวดหมู่ใกล้เคียงกัน

เหตุการณ์กับเป้าหมายเหตุการณ์

เหตุการณ์คือการโต้ตอบของผู้ใช้กับเว็บไซต์หรือแอปที่คุณระบุและเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการแก้ไขโค้ดแท็กตามที่อธิบายไว้ในเนื้อหาของบทความนี้

เป้าหมายเหตุการณ์คือเป้าหมายที่คุณระบุ ซึ่งจะระบุเหตุการณ์ที่เฉพาะเจาะจงเป็น Conversion

โปรดทราบว่าคุณจะต้องเพิ่มโค้ดการวัดเหตุการณ์ลงในเว็บไซต์หรือแอปเพื่อให้มีข้อมูลปรากฏในรายงานเหตุการณ์ อ่านตั้งค่าการวัดเหตุการณ์

ข้อมูลนี้มีประโยชน์ไหม

เราจะปรับปรุงได้อย่างไร
true
เลือกเส้นทางการเรียนรู้ของคุณเอง

โปรดไปที่ google.com/analytics/learn ซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลใหม่ที่จะช่วยให้คุณได้รับประโยชน์สูงสุดจาก Google Analytics 4 เว็บไซต์ใหม่นี้มีทั้งวิดีโอ บทความ และขั้นตอนพร้อมคำแนะนำ รวมถึงลิงก์ไปยังแหล่งข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับ Google Analytics เช่น Discord, บล็อก, ช่อง YouTube ตลอดจนที่เก็บ GitHub

เริ่มเรียนรู้วันนี้เลย

ค้นหา
ล้างการค้นหา
ปิดการค้นหา
เมนูหลัก
3572488669920533305
true
ค้นหาศูนย์ช่วยเหลือ
true
true
true
true
true
69256
false
false