รับข้อมูลในเนื้อหาที่เกี่ยวกับสุขภาพ

หมายเหตุ: หากคุณต้องการให้ช่องมีสิทธิ์ใช้งานฟีเจอร์เกี่ยวกับสุขภาพของ YouTube โปรดดูข้อมูลเพิ่มเติมที่นี่

YouTube มุ่งมั่นที่จะให้คุณได้เข้าถึงเนื้อหาเกี่ยวกับสุขภาพจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ เพื่อช่วยให้คุณได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและดำเนินชีวิตด้วยแนวทางการดูแลสุขภาพที่เหมาะสมที่สุด เราได้พัฒนาฟีเจอร์มากมายเพื่อช่วยให้บริบทแก่คุณในเนื้อหาเกี่ยวกับสุขภาพที่แสดงบน YouTube

ฟีเจอร์ด้านล่างนี้อาจไม่พร้อมให้บริการในบางประเทศ/ภูมิภาคและบางภาษา โดยเรากำลังพยายามขยายการให้บริการไปยังประเทศ/ภูมิภาค และภาษาอื่นๆ เพิ่มเติม

แผงข้อมูลให้บริบทเกี่ยวกับแหล่งข้อมูลด้านสุขภาพ

เมื่อรับชมวิดีโอ YouTube ในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ คุณอาจเห็นแผงข้อมูลที่ให้บริบทเกี่ยวกับแหล่งข้อมูลนั้นๆ ใต้วิดีโอ ซึ่งเป็นการให้ข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อช่วยให้คุณเข้าใจแหล่งข้อมูลของเนื้อหาเกี่ยวกับสุขภาพที่ค้นพบและรับชมบน YouTube ได้ดียิ่งขึ้น

เราใช้ชุดหลักการและคำนิยามที่ได้จากการประชุมร่วมกันของคณะผู้เชี่ยวชาญซึ่งจัดโดยสถาบันการแพทย์แห่งชาติ (National Academy of Medicine หรือ NAM) และตรวจสอบโดยสมาคมสาธารณสุขแห่งสหรัฐอเมริกา (APHA) ในการระบุแหล่งข้อมูลด้านสุขภาพที่มีสิทธิ์ในฟีเจอร์นี้ โดยเริ่มจากในสหรัฐอเมริกา คณะผู้เชี่ยวชาญได้เผยแพร่หลักการพื้นฐานเหล่านี้ในบทความการระบุแหล่งข้อมูลด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือในโซเชียลมีเดีย: หลักการและคุณสมบัติ (Identifying Credible Sources of Health Information in Social Media: Principles and Attributes)

ในการขยายการใช้งานไปยังนอกสหรัฐอเมริกา เราอ้างอิงข้อมูลที่ได้จากองค์การอนามัยโลก (WHO) ในปี 2022 WHO และ NAM ได้จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญด้านสหวิทยาการจากทั่วโลกเพื่อตรวจสอบและอนุมัติหลักการที่พัฒนาขึ้นสำหรับสหรัฐอเมริกาเพื่อให้นำไปปรับใช้ทั่วโลก นอกจากนี้ เราอาจอ้างอิงข้อมูลที่ได้จากหน่วยงานอื่นๆ ด้วย เช่น ในสหราชอาณาจักร เพื่อขยายการใช้งานไปทั่วโลก

ขั้นตอนการทำงานล่าสุดช่วยให้เราสามารถระบุแหล่งข้อมูลด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือจากบุคคลธรรมดาและองค์กรที่ไม่ได้รับการรับรอง หลักการในการระบุแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือพัฒนาขึ้นจากการประชุมร่วมกันระหว่างผู้เชี่ยวชาญจากคณะกรรมการสมาคมการแพทย์เฉพาะทาง (Council of Medical Specialty Societies หรือ CMSS), NAM และ WHO

หลักการสำหรับแหล่งข้อมูลด้านสุขภาพที่เชื่อถือได้จากบทความที่เกี่ยวข้องระบุไว้ว่าแหล่งข้อมูลควรมีหลักฐานอ้างอิงทางวิทยาศาสตร์ เป็นกลาง โปร่งใส และไว้ใจได้ YouTube ใช้หลักการต่อไปนี้ในการระบุประเภทแหล่งข้อมูลด้านสุขภาพที่ถือว่าเชื่อถือได้

  • องค์กรที่มีกลไกการตรวจสอบที่ได้มาตรฐานอยู่แล้ว (รวมถึงองค์กรด้านสุขภาพ สถาบันการศึกษา หน่วยงานด้านสาธารณสุข และองค์กรภาครัฐ) กลไกการตรวจสอบประกอบด้วยการรับรอง การจัดทำดัชนีวารสารวิชาการ และกฎการรับผิดชอบขององค์กรภาครัฐ ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก Figure 1 ในบทความของ NAM
  • บุคคลธรรมดาและองค์กรที่ไม่ได้รับการรับรองซึ่งมีช่อง YouTube ที่มุ่งเน้นเรื่องสุขภาพ บุคคลและองค์กรเหล่านี้ต้องสมัครและผ่านชุดการตรวจสอบการมีสิทธิ์เพื่อรับแผงข้อมูล ในขั้นตอนการสมัครนี้ เราจะตรวจสอบว่าบุคคลหรือบุคคลจากองค์กรที่ไม่ได้รับการรับรองซึ่งควบคุมดูแลและตรวจสอบเนื้อหาของช่องเป็นผู้ประกอบวิชาชีพสาธารณสุขที่มีใบประกอบวิชาชีพหรือไม่ ปัจจุบันแหล่งข้อมูลด้านสุขภาพในหมวดหมู่นี้มีสิทธิ์แสดงในบางประเทศ

องค์กรที่มีกลไกการตรวจสอบที่ได้มาตรฐานอยู่แล้ว

องค์กรที่มีกลไกการตรวจสอบที่ได้มาตรฐานอยู่แล้ว อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับเนื้อหาจากสหราชอาณาจักรได้ที่ส่วนด้านล่าง
ประเภทแหล่งข้อมูลด้านสุขภาพที่มีสิทธิ์ในขณะนี้ กลไกการตรวจสอบที่ได้มาตรฐานซึ่งมีอยู่แล้ว ข้อมูลอ้างอิงจากคณะผู้เชี่ยวชาญ

สถาบันการศึกษา เช่น*

  • คณะแพทยศาสตร์
  • คณะพยาบาลศาสตร์
  • คณะสาธารณสุขศาสตร์

* ตัวอย่างบางรายการอาจไม่มีในบางประเทศ/ภูมิภาค

กระบวนการรับรอง

ตัวอย่าง: องค์กรที่ให้การรับรองโรงเรียนแพทย์

ภาคผนวก B ในบทความของ NAM

องค์กรด้านการดูแลสุขภาพ เช่น*

  • โรงพยาบาล
  • คลินิก

* ตัวอย่างบางรายการอาจไม่มีในบางประเทศ/ภูมิภาค

กระบวนการรับรอง

ตัวอย่าง: องค์กรที่ให้การรับรองโรงพยาบาล

ภาคผนวก B ในบทความของ NAM
วารสารการแพทย์

การจัดทำดัชนีวารสารวิชาการ

ตัวอย่าง: วารสารด้านสุขภาพและการแพทย์ "ต้องมีคุณสมบัติตรงตามมาตรฐานด้าน 'วัตถุประสงค์และขอบเขต นโยบายด้านบรรณาธิการ และกระบวนการ' ความเคร่งครัดในระเบียบวิธีวิจัยและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การผลิตและการจัดการ รวมถึงผลกระทบ"

หน้า 12 ในบทความของ NAM
องค์กรภาครัฐ กฎความรับผิดชอบขององค์กรภาครัฐ กล่องข้อความ 7 ในบทความของ NAM

บุคคลธรรมดาและองค์กรที่ไม่ได้รับการรับรองซึ่งมีช่อง YouTube ที่มุ่งเน้นเรื่องสุขภาพ

บุคคลธรรมดาและองค์กรที่ไม่ได้รับการรับรองซึ่งมีช่อง YouTube ที่มุ่งเน้นเรื่องสุขภาพ
ประเภทแหล่งข้อมูลด้านสุขภาพที่มีสิทธิ์ในขณะนี้ กลไกภายนอกที่ใช้สำหรับการมีสิทธิ์ ข้อมูลอ้างอิงจากคณะผู้เชี่ยวชาญ

ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพที่มีใบประกอบวิชาชีพแบบรายบุคคล เช่น*

  • แพทย์ที่มีใบประกอบวิชาชีพ
  • พยาบาลที่มีใบประกอบวิชาชีพ
  • ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตที่มีใบประกอบวิชาชีพ

* ตัวอย่างบางรายการอาจไม่มีในบางประเทศ/ภูมิภาค

บุคคลธรรมดาต้องมีใบประกอบวิชาชีพที่ใช้งานได้จึงจะปฏิบัติงานในสายงานที่เชี่ยวชาญในภูมิภาคที่เกี่ยวข้องได้

ตัวอย่าง: องค์กรที่ออกใบประกอบวิชาชีพให้แก่แพทย์

ตารางที่ 1 ในบทความของ CMSS/NAM/WHO

องค์กรที่ไม่ได้รับการรับรองซึ่งมีตัวแทนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพสาธารณสุขที่มีใบประกอบวิชาชีพ เช่น*

  • มูลนิธิด้านสุขภาพ
  • ผู้เผยแพร่โฆษณาด้านสุขภาพ
  • บริษัทด้านสุขภาพ 

* ตัวอย่างบางรายการอาจไม่มีในบางประเทศ/ภูมิภาค

องค์กรต้องมีตัวแทนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพสาธารณสุขที่มีใบประกอบวิชาชีพแบบรายบุคคล ซึ่งต้องควบคุมดูแลและตรวจสอบเนื้อหา YT ขององค์กร

 

ตัวอย่าง: องค์กรที่ออกใบประกอบวิชาชีพให้แก่แพทย์

 

หมายเหตุ: นี่คือก้าวแรกของเราในการระบุและกำหนดแหล่งข้อมูลด้านสุขภาพที่เชื่อถือได้บน YouTube ประเภทแหล่งข้อมูลด้านสุขภาพที่ระบุในปัจจุบันเป็นเพียงตัวอย่างของแต่ละหมวดหมู่ และการมีสิทธิ์ใช้ฟีเจอร์อาจมีการเปลี่ยนแปลง เราดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มแหล่งข้อมูลโดยอิงตามหลักการและคุณสมบัติเหล่านี้ และกำลังหาวิธีขยายเกณฑ์การมีสิทธิ์ในแผงข้อมูลเหล่านี้ให้ครอบคลุมแหล่งข้อมูลด้านสุขภาพประเภทอื่นๆ ด้วย

หมายเหตุ: หากแผงข้อมูลที่ให้บริบทเกี่ยวกับแหล่งข้อมูลด้านสุขภาพมีป้ายกำกับที่ไม่ถูกต้อง หรือหน่วยงานด้านสุขภาพมีช่องที่ไม่ถูกต้องหรือไม่มีช่องที่เชื่อมโยงอยู่ โปรดส่งความคิดเห็นโดยติดแฮชแท็ก #healthinfo

หมายเหตุ: "การประชุมหารือทางออนไลน์ของ WHO เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับหลักการสากลในการระบุแหล่งข้อมูลด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือในโซเชียลมีเดีย" โดยองค์การอนามัยโลกได้รับอนุญาตภายใต้ CC BY-NC-SA 3.0 IGO

สำหรับสหราชอาณาจักร

ในสหราชอาณาจักร เราทำงานร่วมกับระบบบริการสุขภาพแห่งชาติเพื่อพัฒนาแนวทางในการระบุว่าช่องใดจะมีสิทธิ์ใช้ฟีเจอร์แผงข้อมูล ระบบบริการสุขภาพแห่งชาติเป็นคำที่ใช้ครอบคลุมระบบบริการสาธารณสุขที่ได้รับเงินสนับสนุนจากกองทุนสาธารณะของสหราชอาณาจักร แนวทางนี้รวมถึงการที่ NHS จะ 1) ตรวจสอบหลักการต่างๆ ที่ได้จากคณะผู้เชี่ยวชาญในที่ประชุมของ NAM ตามบริบทของสหราชอาณาจักร และ 2) เผยแพร่มาตรฐานการสร้างเนื้อหาเกี่ยวกับสุขภาพ ซึ่งสรุปข้อกำหนดที่สำคัญและแนวทางปฏิบัติแนะนำให้องค์กรปฏิบัติตามเพื่อสร้างเนื้อหาเกี่ยวกับสุขภาพที่มีคุณภาพสูง

เบื้องต้นในสหราชอาณาจักรจะมีเพียงองค์กร NHS ที่ได้รับเชิญให้รับรองการสร้างเนื้อหาเกี่ยวกับสุขภาพตามมาตรฐาน NHS ด้วยตนเอง การรับรองด้วยตนเองจะทำให้ช่องขององค์กร NHS มีสิทธิ์ใช้ฟีเจอร์แผงข้อมูลที่จะบ่งบอกถึงความน่าเชื่อถือของ NHS

แนวทางสำหรับสหราชอาณาจักรนี้ได้รับการตรวจสอบโดยสำนักประสานราชวิทยาลัยการแพทย์ (AoMRC) โดย AoMRC ได้สรุปว่าแนวทางนี้จะช่วยสร้างเกณฑ์ที่ชัดเจนในการพิจารณาความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูลด้านสุขภาพบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย

ชั้นวางเนื้อหาเกี่ยวกับสุขภาพ

หากค้นหาหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับสภาวะทางกายหรือสุขภาพจิตที่เจาะจงบน YouTube คุณอาจเห็นชั้นวางเนื้อหาเกี่ยวกับสุขภาพในผลการค้นหา ซึ่งจะแสดงวิดีโอที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อด้านสุขภาพที่คุณค้นหา และอาจรวมเนื้อหาจากประเทศ/ภูมิภาคอื่นๆ ที่ตรงกับภาษาในการค้นหาของคุณ

เราใช้หลักการที่พัฒนาขึ้นโดยผู้เชี่ยวชาญในที่ประชุมของ NAM, WHO และ CMSS เพื่อระบุว่าช่องใดมีสิทธิ์แสดงบนชั้นวางนี้ หลักการเหล่านี้ช่วยระบุรายการแหล่งข้อมูลที่มีสิทธิ์เบื้องต้นสำหรับองค์กรด้านสุขภาพที่ได้รับการรับรอง วารสารวิชาการในสาขาแพทยศาสตร์ หน่วยงานรัฐ และได้รับการพิจารณาในขั้นตอนการสมัครสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพที่มีใบประกอบวิชาชีพและองค์กรที่ไม่ได้รับการรับรอง

ในสหราชอาณาจักร หน่วยงานหลักด้านสุขภาพของรัฐคือ NHS ดังนั้นองค์กร NHS ทั้งหมดจะมีสิทธิ์ในเบื้องต้น แต่ช่องขององค์กร NHS ยังต้องรับรองการสร้างเนื้อหาเกี่ยวกับสุขภาพตามมาตรฐาน NHS ด้วยตนเองเพื่อให้มีสิทธิ์แสดงบนชั้นวางนี้

ในฝรั่งเศส แพทย์และพยาบาลจะต้องขึ้นทะเบียนกับ Répertoire Partagé des Professions de Santé (RPPS) อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับขั้นตอนการขึ้นทะเบียนและเกณฑ์ได้ในเว็บไซต์

ชั้นวางเนื้อหาเกี่ยวกับสุขภาพอาจไม่พร้อมให้บริการในผลการค้นหาเกี่ยวกับสภาวะทางร่างกายบางหัวข้อ เรากำลังพยายามให้ชั้นวางนี้ครอบคลุมเนื้อหาเกี่ยวกับสภาวะทางร่างกายที่หลากหลายและขยายการมีสิทธิ์ไปยังช่องต่างๆ มากขึ้น

แผงข้อมูลด้านสุขภาพในการค้นหา

คุณอาจเห็นแผงข้อมูลด้านสุขภาพในผลการค้นหาเมื่อค้นหาหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพบน YouTube เช่น โควิด-19 แผงเหล่านี้จะแสดงข้อมูล เช่น อาการ การป้องกัน และตัวเลือกในการรักษา ซึ่งเป็นข้อมูลที่มาจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ เช่น องค์การอนามัยโลกและสถาบันทางการแพทย์อื่นๆ

นอกจากนี้ แผงข้อมูลด้านสุขภาพจะลิงก์ไปยังเว็บไซต์ของสถาบันดังกล่าวเพื่อให้คุณดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ด้วย แผงข้อมูลนี้มีไว้เพื่อให้คุณได้รับข้อมูลด้านสุขภาพที่เชื่อถือได้และอิงตามพื้นที่ที่คุณอาศัยอยู่

ในบางประเทศ/ภูมิภาค คุณอาจเห็นลิงก์ไปยังการประเมินตนเองจาก Google หรือหน่วยงานด้านสาธารณสุขในท้องถิ่น ซึ่งการประเมินดังกล่าวได้รับการยืนยันทางการแพทย์แล้ว และจะได้รับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเภทการสนับสนุนหรือการดูแลรักษาที่อาจเหมาะสมกับตนเอง โดยอิงจากคำตอบในแบบประเมิน

แหล่งที่มาของข้อมูล

ในแผงข้อมูลด้านสุขภาพบน YouTube เราพยายามนำเสนอข้อมูลที่มาจากหน่วยงานรัฐบาล กระทรวงสาธารณสุข และสถาบันทางการแพทย์อื่นๆ ที่ได้รับการยอมรับ โดยจะพัฒนาแผงข้อมูลเหล่านี้ต่อไป รวมถึงจะเพิ่มหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและข้อมูลจากองค์กรอื่นๆ ในอนาคต

ข้อมูลการปฐมพยาบาลในการค้นหา

สำหรับสภาวะทางร่างกายบางอย่าง ระบบอาจปักหมุดชั้นวาง "การปฐมพยาบาลจากแหล่งข้อมูลด้านสุขภาพ" ไว้ที่ด้านบนสุดของผลการค้นหา ชั้นวางนี้จะมีวิดีโอที่ทำตามได้ง่าย โดยมีเป้าหมายเพื่อช่วยให้ผู้คนพบแหล่งข้อมูลการปฐมพยาบาลจากแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือในเวลาที่ต้องการโดยไม่ต้องอ่านหรือฟังวิธีการที่ซับซ้อน

ชั้นวางนี้จะปรากฏขึ้นสำหรับหัวข้อการปฐมพยาบาลต่างๆ เช่น การทำ CPR, การสำลักและการกดอัดหน้าท้อง, ภาวะเลือดออก, หัวใจวาย, โรคหลอดเลือดสมอง, การชัก และอื่นๆ

ขณะนี้ชั้นวางนี้มีให้บริการในสหรัฐอเมริกาเป็นภาษาอังกฤษและสเปนเท่านั้น

กรณีที่ควรปรึกษาผู้ประกอบวิชาชีพสาธารณสุข

ข้อมูลด้านสุขภาพบน YouTube ไม่ได้เหมาะสำหรับทุกคนและไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์ หากคุณมีข้อสงสัยทางการแพทย์ โปรดติดต่อผู้ให้บริการสาธารณสุข หากคิดว่ากำลังเผชิญภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ โปรดติดต่อแพทย์หรือหมายเลขฉุกเฉินในท้องถิ่น

ข้อมูลที่ YouTube จัดเก็บเกี่ยวกับการค้นหาของคุณ

ฟีเจอร์เกี่ยวกับสุขภาพจะปรากฏก็ต่อเมื่อการค้นหาปัจจุบันของคุณหรือวิดีโอที่คุณกำลังรับชมอยู่เกี่ยวข้องกับหัวข้อด้านสุขภาพ ประวัติการดูและประวัติการค้นหาจะไม่มีผลต่อการปรากฏของฟีเจอร์เหล่านี้ แต่หากคุณต้องการดูและนำการค้นหาออก ให้ไปที่ข้อมูลของคุณใน YouTube คุณยังดูข้อมูลเกี่ยวกับวิธีดูและลบประวัติการค้นหาได้ด้วย

รายงานข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง

หากพบปัญหาเกี่ยวกับฟีเจอร์ด้านสุขภาพบน YouTube หรือมีข้อเสนอแนะ คุณสามารถส่งความคิดเห็นโดยทำดังนี้

  • ส่งความคิดเห็นผ่านเพิ่มเติม '' ในแผงข้อมูล หรือ
  • ส่งความคิดเห็นถึงเราโดยใช้ "เมนู" จากรูปโปรไฟล์
  • โปรดใส่ "#healthinfo" ในความคิดเห็นหากความคิดเห็นเรื่องแผงข้อมูลที่ให้บริบทเกี่ยวกับแหล่งข้อมูลด้านสุขภาพตรงกับเรื่องต่อไปนี้
    • ช่องมีแผงข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง
    • แผงข้อมูลอยู่ในช่องที่ไม่ถูกต้องเมื่อดูจากหน่วยงานด้านสุขภาพที่ระบุ
    • คุณเชื่อว่าช่องควรมีแผงข้อมูลที่ให้บริบทเกี่ยวกับแหล่งข้อมูลด้านสุขภาพแต่ช่องดังกล่าวกลับไม่มีแผงข้อมูลนี้ โปรดทราบว่าบุคคลธรรมดาและองค์กรที่ไม่ได้รับการรับรองซึ่งมีช่อง YouTube ที่มุ่งเน้นเรื่องสุขภาพจะต้องสมัครใช้งานฟีเจอร์นี้
หมายเหตุ: คุณสามารถส่งความคิดเห็นเรื่องชั้นวางเนื้อหาเกี่ยวกับสุขภาพได้โดยใช้ "เมนู" จากรูปโปรไฟล์ของคุณเท่านั้น

ข้อมูลนี้มีประโยชน์ไหม

เราจะปรับปรุงได้อย่างไร
ค้นหา
ล้างการค้นหา
ปิดการค้นหา
เมนูหลัก
17312532310373459172
true
ค้นหาศูนย์ช่วยเหลือ
true
true
true
true
true
59
false
false