การใช้ AccessibilityService API

Google Play อนุญาตให้ใช้ AccessibilityService API ในแอปพลิเคชันต่างๆ ที่มีอยู่หลากหลาย อย่างไรก็ตาม บริการที่ออกแบบมาเพื่อช่วยให้คนพิการเข้าถึงอุปกรณ์ของตนหรือก้าวข้ามความท้าทายที่เกิดจากความพิการเท่านั้นที่จะมีสิทธิ์ประกาศว่าเป็นเครื่องมือสำหรับการช่วยเหลือพิเศษ ซึ่งทำได้โดยใช้แอตทริบิวต์ isAccessibilityTool ในไฟล์ข้อมูลเมตาของบริการ

แอปที่ประกาศว่า isAccessibilityTool จะได้รับการยกเว้นจากข้อกำหนดด้านการเปิดเผยข้อมูลและการขอความยินยอมอย่างชัดเจนตามที่อธิบายไว้ด้านล่าง นอกจากนี้ แอปทั้งหมดที่กำหนดเป้าหมายเป็น Android 12 ที่ใช้ AccessibilityService API จะต้องกรอกแบบฟอร์มการประกาศสิทธิ์และขออนุมัติจาก Google Play ตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน 2021 เป็นต้นไป

แอปอะไรบ้างที่จัดว่าเป็นเครื่องมือสำหรับการช่วยเหลือพิเศษ 

แอปที่ออกแบบมาเพื่อช่วยเหลือคนพิการซึ่งได้แก่

  • โปรแกรมอ่านหน้าจอ ซึ่งช่วยเหลือผู้ที่มีความบกพร่องทางสายตา
  • ระบบป้อนข้อมูลแบบสวิตช์ ซึ่งช่วยเหลือผู้ที่มีความบกพร่องทางการเคลื่อนไหว
  • ระบบป้อนข้อมูลแบบเสียง ซึ่งช่วยเหลือผู้ที่มีความบกพร่องทางการเคลื่อนไหว
  • ระบบการเข้าถึงด้วยอักษรเบรลล์ ซึ่งช่วยเหลือผู้ที่มีความบกพร่องทั้งทางสายตาและการได้ยิน

เครื่องมือช่วยเหลือผู้พิการด้านอื่นๆ เช่น ความบกพร่องของสมรรถนะทางสมองหรือความพิการซ้ำซ้อน ก็ถือว่าเป็นเครื่องมือสำหรับการช่วยเหลือพิเศษเช่นกัน

เครื่องมือดังกล่าวต้องมีวัตถุประสงค์หลักในการช่วยเหลือคนพิการ ตัวอย่างเช่น เครื่องมือช่วยเหลือทั่วไปที่เปิดใช้งานด้วยเสียงและมีเป้าหมายเป็นกลุ่มผู้ใช้ขนาดใหญ่แต่สามารถช่วยเหลือผู้ใช้ที่มีความบกพร่องทางการเคลื่อนไหวได้ในบางสถานการณ์ จะไม่ถือว่าเป็นเครื่องมือสำหรับการช่วยเหลือพิเศษ นักพัฒนาเครื่องมือสำหรับการช่วยเหลือพิเศษส่วนใหญ่มีการศึกษาวิจัยผู้ใช้อย่างละเอียดเพื่อทำความเข้าใจความท้าทายที่ซับซ้อน ซึ่งผู้ที่มีความพิการบางอย่างต้องพบเจอเวลาใช้อุปกรณ์ของตน และปรับแต่งโซลูชันให้ตอบโจทย์ความท้าทายเหล่านั้น เมื่ออ่านคำอธิบายเครื่องมือสำหรับการช่วยเหลือพิเศษใน Google Play Store แล้วควรทราบได้อย่างชัดเจนว่าเครื่องมือดังกล่าวผลิตมาเพื่อใครและแอปนี้ช่วยให้ผู้ใช้ก้าวข้ามความท้าทายที่ต้องพบเจอได้อย่างไร

ตัวอย่างอื่นๆ ของแอปที่ไม่ใช่เครื่องมือสำหรับการช่วยเหลือพิเศษ ได้แก่ ซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัส เครื่องมือระบบอัตโนมัติ เครื่องมือช่วยเหลือทั่วไป แอปติดตามตรวจสอบ เครื่องมือทำความสะอาด เครื่องมือจัดการรหัสผ่าน และ Launcher

ข้อกำหนดด้านการเปิดเผยข้อมูลและการขอความยินยอมอย่างชัดเจน

แอปที่ไม่มีสิทธิ์ใช้แอตทริบิวต์ IsAccessibilityTool ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดด้านการเปิดเผยข้อมูลและการขอความยินยอมอย่างชัดเจนตามที่อธิบายไว้ในนโยบายข้อมูลผู้ใช้ของ Google Play แอปดังกล่าวต้องมีการเปิดเผยข้อมูลอย่างชัดเจนที่

  • ต้องอยู่ในตัวแอป โดยต้องไม่อยู่เฉพาะในคำอธิบายแอปหรือในเว็บไซต์
  • ต้องแสดงในการใช้งานปกติของแอปโดยผู้ใช้ไม่ต้องเลื่อนหาตามเมนูหรือการตั้งค่าต่างๆ
  • ต้องอธิบายข้อมูลที่เข้าถึงหรือเก็บรวบรวมผ่าน AccessibilityService API
  • ต้องอธิบายว่าจะนำข้อมูลไปใช้งานและ/หรือแชร์อย่างไร
  • ต้องมีการดำเนินการยอมรับที่แสดงการให้ความยินยอมจากผู้ใช้ (เช่น แตะเพื่อยอมรับหรือเลือกช่องทำเครื่องหมาย)
  • ต้องไม่ใส่ไว้เฉพาะในนโยบายความเป็นส่วนตัวหรือข้อกำหนดในการให้บริการ และ 
  • ต้องไม่รวมอยู่กับการเปิดเผยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลหรือข้อมูลที่ละเอียดอ่อน โดยต้องแยกออกจากการเปิดเผยข้อมูลอื่นๆ และระบุว่าเหตุใดแอปจึงต้องใช้ AccessibilityService API รวมถึง Use Case ที่เป็นไปได้

สำคัญ: หากมีการเปลี่ยนแปลงวิธีที่แอปใช้ API นี้ คุณต้องส่งแบบฟอร์มซึ่งมีข้อมูลที่อัปเดตและถูกต้องอีกครั้ง การใช้ API เหล่านี้โดยก่อให้เกิดความเข้าใจผิดหรือใช้โดยไม่ได้ประกาศให้ทราบอาจส่งผลให้แอปของคุณถูกระงับและ/หรือบัญชีนักพัฒนาแอปของคุณถูกปิดใช้งาน

การประกาศเกี่ยวกับบริการช่วยเหลือพิเศษ

ตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน 2021 เป็นต้นไป แอปที่กำหนดเป้าหมายเป็นระดับ API 31 และมี AccessibilityService จะต้องประกาศนโยบายใหม่ใน Play Console ให้เสร็จสิ้น เราไม่ได้ปิดกั้นการใช้ API นี้ แต่จะกำหนดให้มีการเปิดเผยการใช้ API ดังกล่าวอย่างชัดเจนสำหรับแอปใดๆ ที่ไม่ใช่เครื่องมือช่วยเหลือพิเศษ เครื่องมือช่วยเหลือพิเศษคือแอปที่มีจุดประสงค์หลักเพื่อสนับสนุนผู้ใช้ที่พิการ

การประกาศสําหรับแอปที่เป็นเครื่องมือช่วยเหลือพิเศษ

หากคุณประกาศว่าแอปของคุณเป็นเครื่องมือช่วยเหลือพิเศษโดยตั้งค่า isAccessibilityTool=true ในไฟล์ข้อมูลเมตาของบริการ คุณจะต้องแจ้งให้เราทราบว่าแอปให้การช่วยเหลือพิเศษอย่างไรบ้าง

ต่อไปนี้คือตัวอย่างคําถามเกี่ยวกับการประกาศดังกล่าว

  1. อธิบาย 1 ฟีเจอร์หลักในแอปของคุณที่จำเป็นต้องมีการใช้งาน AccessibilityServices API โดยที่ได้รับอนุญาต
     
  2. แอปของคุณให้ความช่วยเหลือเกี่ยวกับความพิการประเภทใด เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ
    • การเคลื่อนไหว
    • การมองเห็น
    • การได้ยิน
    • การรับรู้หรือการเรียนรู้
    • อื่นๆ
  3. ใครคือกลุ่มผู้ใช้เป้าหมายของแอป
     
  4. เพื่อช่วยให้เราตรวจสอบแอปได้ โปรดระบุลิงก์ไปยังวิดีโอสั้นๆ ซึ่งแสดงให้เห็นการเปิดแอป การเปิดใช้บริการช่วยเหลือพิเศษ และการใช้งานบริการช่วยเหลือพิเศษดังกล่าว ถ้าเห็นได้ไม่ชัดเจนจากอินเทอร์เฟซผู้ใช้ว่ามีการใช้งานบริการช่วยเหลือพิเศษในแอปของคุณอย่างไร โปรดใส่เสียงหรือคำบรรยายวิดีโอเพื่อช่วยอธิบาย

การประกาศสําหรับแอปที่ไม่ใช่เครื่องมือช่วยเหลือพิเศษ

หากคุณไม่ได้ประกาศว่าแอปเป็นเครื่องมือช่วยเหลือพิเศษ แต่ใช้ AccessibilityService API กล่าวคือ คุณไม่ได้ตั้งค่าแฟล็ก isAccessibilityTool ในไฟล์ข้อมูลเมตาของบริการช่วยเหลือพิเศษ คุณจะต้องประกาศการช่วยเหลือพิเศษใน Play Console ให้เสร็จสมบูรณ์

ต่อไปนี้คือตัวอย่างคําถามเกี่ยวกับการประกาศดังกล่าว

  1. เหตุใดแอปของคุณจึงต้องใช้ Accessibility Services API เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ
    • ฟังก์ชันการทำงานของแอป
    • การวิเคราะห์
    • การสื่อสารจากนักพัฒนาแอป
    • การป้องกันการประพฤติมิชอบ การรักษาความปลอดภัย และการปฏิบัติตามข้อกำหนด
    • การโฆษณาหรือการตลาด
    • การปรับเปลี่ยนในแบบของคุณ
    • การจัดการบัญชี
  2. คุณมีการเก็บรวบรวมและ/หรือแชร์ข้อมูลส่วนบุคคลหรือข้อมูลที่ละเอียดอ่อนโดยใช้ความสามารถของฟังก์ชันการช่วยเหลือพิเศษหรือไม่
    • ใช่
    • ไม่

หมายเหตุ: ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรวบรวมข้อมูลและการแชร์ข้อมูล

[หากตอบว่าใช่ ให้ไปที่ 2] 

  1. ข้อมูลใดของผู้ใช้ที่คุณรวบรวมและ/หรือแชร์ด้วย AccessibilityServices API เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ
    • ตำแหน่ง
      • ตำแหน่งโดยประมาณ
      • ตำแหน่งที่แน่นอน
    • ข้อมูลส่วนบุคคล
      • ชื่อ
      • อีเมล
      • รหัสระบุตัวบุคคล
      • ที่อยู่
      • หมายเลขโทรศัพท์
      • เชื้อชาติและชาติกำเนิด
      • ความเชื่อทางการเมืองหรือศาสนา
      • รสนิยมทางเพศหรืออัตลักษณ์ทางเพศ
      • ข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ
    • ข้อมูลทางการเงิน
      • บัตรเครดิต บัตรเดบิต หรือหมายเลขบัญชีธนาคาร
      • ประวัติการซื้อ
      • ข้อมูลเครดิต
      • ข้อมูลอื่นๆ ทางการเงิน
    • สุขภาพและการออกกำลังกาย
      • ข้อมูลด้านสุขภาพ
      • ข้อมูลการออกกำลังกาย
    • ข้อความ
      • อีเมล
      • ข้อความ SMS หรือ MMS
      • ข้อความอื่นๆ ที่มีการรับส่งในแอป
    • รูปภาพหรือวิดีโอ
      • รูปภาพ
      • วิดีโอ
    • ไฟล์เสียง
      • การบันทึกเสียง
      • ไฟล์เพลง
      • ไฟล์เสียงอื่นๆ
    • ไฟล์และเอกสาร
      • ไฟล์และเอกสาร
    • ปฏิทิน
      • กิจกรรมในปฏิทิน
    • รายชื่อติดต่อ
      • รายชื่อติดต่อ
    • กิจกรรมบนแอป
      • การดูหน้าเว็บและการแตะในแอป
      • ประวัติการค้นหาในแอป
      • แอปที่ติดตั้ง
      • เนื้อหาอื่นๆ ที่ผู้ใช้สร้างขึ้น
      • การดำเนินการอื่นๆ
    • การท่องเว็บ
      • ประวัติการท่องเว็บ
    • ข้อมูลและประสิทธิภาพของแอป
      • บันทึกข้อขัดข้อง
      • การวินิจฉัย
      • ข้อมูลประสิทธิภาพอื่นๆ ของแอป
    • อุปกรณ์หรือตัวระบุอื่นๆ
      • อุปกรณ์หรือตัวระบุอื่นๆ
  2. เพื่อช่วยให้เราตรวจสอบแอปของคุณได้ คุณต้องระบุลิงก์ไปยังวิดีโอสั้นๆ ซึ่งแสดงการเปิดเผยข้อมูลอย่างชัดเจนต่อผู้ใช้ในแอป

 

คำแนะนำสำหรับวิดีโอที่แสดงการเปิดเผยข้อมูลของแอปอย่างชัดเจน

วิดีโอที่คุณจัดเตรียมไว้เพื่อใช้ในการประกาศต้องมีข้อมูลต่อไปนี้

  1. การเปิดแอปของคุณในอุปกรณ์
  2. โฟลว์ผู้ใช้เพื่อไปยังหน้าจอการเปิดเผยข้อมูลและการขอความยินยอมสำหรับการช่วยเหลือพิเศษอย่างชัดเจน
    • ตรวจสอบว่าวิดีโอมีการเปิดเผยข้อมูลทั้งหมด หากต้องเลื่อน ให้ตรวจสอบว่าภาพเลื่อนอย่างช้าๆ เพื่อให้มองเห็นข้อความทั้งหมดในวิดีโอ
    • ไม่สามารถใช้ AccessibilityService_description หรือ AccessibilityService_htmlDescription แทนการเปิดเผยข้อมูลอย่างชัดเจนในแอป
  3. โฟลว์ผู้ใช้เมื่อผู้ใช้ให้ความยินยอม ซึ่งรวมถึงการให้สิทธิ์การช่วยเหลือพิเศษแก่แอป
  4. โฟลว์ผู้ใช้เมื่อผู้ใช้ไม่ให้ความยินยอม ซึ่งรวมถึงขั้นตอนเมื่อผู้ใช้ทำให้หน้าจอการเปิดเผยข้อมูลและการขอความยินยอมอย่างชัดเจนแสดงขึ้นมาอีกครั้ง
  5. ฟีเจอร์หลักในแอปที่ใช้ความสามารถในการช่วยเหลือพิเศษ ถ้าเห็นได้ไม่ชัดเจนจากอินเทอร์เฟซผู้ใช้ว่ามีการใช้งานบริการช่วยเหลือพิเศษในแอปของคุณอย่างไร โปรดใส่เสียงหรือคำบรรยายภาพเพื่อช่วยอธิบาย

 

ข้อมูลนี้มีประโยชน์ไหม

เราจะปรับปรุงได้อย่างไร

หากต้องการความช่วยเหลือเพิ่มเติม

ลองทำตามขั้นตอนต่อไปนี้

ค้นหา
ล้างการค้นหา
ปิดการค้นหา
เมนูหลัก
3052396368997677466
true
ค้นหาศูนย์ช่วยเหลือ
true
true
true
true
true
92637
false
false