ส่งกลับค่าความน่าจะเป็นที่ได้จากการทำการทดสอบความแตกต่างของค่าความแปรปรวนแบบ F-Test สำหรับค่าการกระจายของข้อมูลประชากร เพื่อพิจารณาว่าตัวอย่างสองกลุ่มมีแนวโน้มว่ามาจากกลุ่มประชากรสองกลุ่มที่มีค่าความแปรปรวนเท่ากันหรือไม่
ตัวอย่างการใช้งาน
FTEST(A1:A5, B1:B5)
FTEST(A1:D3, A5:D7)
รูปแบบคำสั่ง
FTEST(range1, range2)
-
ช่วงที่1
- ตัวอย่างแรกของข้อมูลหรือกลุ่มเซลล์ที่จะพิจารณาในการทดสอบ F-test -
ช่วงที่2
- ตัวอย่างที่สองของข้อมูลหรือกลุ่มเซลล์ที่จะพิจารณาในการทดสอบ F-test
หมายเหตุ
-
การคำนวณจะไม่รวมเซลล์ใดๆ ในช่วงที่ไม่ใช่ตัวเลข
-
คุณจะใช้
FTEST
หรือF.TEST
เพื่อเรียกใช้ฟังก์ชันนี้ได้
ดูเพิ่มเติม
CHITEST
: ส่งกลับค่าความน่าจะเป็นที่เกี่ยวข้องกับการทดสอบไคสแควร์ของ Pearson บนข้อมูลสองช่วง คำนวณความเป็นไปได้ที่ข้อมูลกลุ่มที่พบจะมาจากการกระจายที่คาดไว้
FDIST
: คำนวนการกระจายความน่าจะเป็นของค่า F ทางด้านขวา (การแจกแจงความน่าจะเป็น) สำหรับชุดข้อมูล 2 ชุด ที่ระบุค่า x หรือที่เรียกว่าการแจกแจงของ Fisher-Snedecor หรือการแจกแจงค่า F ของ Snedecor
FINV
: คำนวณค่าผกผันของการแจกแจงความน่าจะเป็นของค่า F ทางด้านขวา หรือที่เรียกว่าการแจกแจงของ Fisher-Snedecor หรือการแจกแจงค่า F ของ Snedecor
TTEST
: ส่งกลับค่าความน่าจะเป็นที่ได้จากการทำ t-Test เพื่อพิจารณาว่าตัวอย่างสองกลุ่มมีแนวโน้มว่ามาจากกลุ่มประชากรสองกลุ่มที่เหมือนกันซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากันใช่ไหม
ตัวอย่าง
สมมติว่าคุณต้องการหาว่าคะแนนสอบของเทอมนี้มีความแปรปรวนแตกต่างจากเทอมที่แล้วไหม ให้ระบุคะแนนของแต่ละเทอมเป็นอาร์กิวเมนต์ใน FTEST
เนื่องจากค่า p มีค่าสูง เราจะสรุปได้ว่าความแปรปรวนของคะแนนสอบในแต่ละเทอมไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ
A | B | |
---|---|---|
1 | คะแนนของเทอมนี้ | คะแนนของเทอมที่แล้ว |
2 | 92 | 84 |
3 | 75 | 89 |
4 | 97 | 87 |
5 | 85 | 95 |
6 | 87 | 82 |
7 | 82 | 71 |
8 | 79 | |
9 | ผลลัพธ์ | สูตร |
10 | 0.8600520777 | =FTEST(A2:A8, B2:B7) |