คำนวณค่าผกผันของการแจกแจงความน่าจะเป็นของค่า F ทางด้านขวา หรือที่เรียกว่าการแจกแจงของ Fisher-Snedecor หรือการแจกแจงค่า F ของ Snedecor
ตัวอย่างการใช้งาน
F.INV.RT(0.42, 2, 3)
F.INV.RT(A2, B2, C2)
รูปแบบคำสั่ง
F.INV.RT(ความน่าจะเป็น, องศาอิสระ 1, องศาอิสระ 2)
-
ความน่าจะเป็น
- ความน่าจะเป็นที่สัมพันธ์กับการแจกแจงแบบ F ด้านขวา-
ต้องมากกว่า
0
และน้อยกว่า1
-
-
องศาอิสระ 1
- จำนวนองศาอิสระของตัวเศษของค่าสถิติที่ใช้ทดสอบ -
องศาอิสระ 2
- จำนวนองศาอิสระของตัวส่วนของค่าสถิติที่ใช้ทดสอบ
หมายเหตุ
-
ทั้ง
องศาอิสระ 1
และองศาอิสระ 2
จะถูกตัดทศนิยมให้เป็นจำนวนเต็มในการคำนวณหากมีการระบุตัวเลขทีไม่ใช่จำนวนเต็มเป็นอาร์กิวเมนต์ -
ทั้ง
องศาอิสระ 1
และองศาอิสระ 2
ต้องมีค่าอย่างน้อย1
-
อาร์กิวเมนต์ทั้งหมดต้องเป็นตัวเลข
-
F.INV.RT
คือฟังก์ชันเดียวกับFINV
ดูเพิ่มเติม
CHIINV
: คำนวณค่าผกผันของการแจกแจงแบบไคสแควร์ทางด้านขวา
FDIST
: คำนวนการกระจายความน่าจะเป็นของค่า F ทางด้านขวา (การแจกแจงความน่าจะเป็น) สำหรับชุดข้อมูล 2 ชุด ที่ระบุค่า x หรือที่เรียกว่าการแจกแจงของ Fisher-Snedecor หรือการแจกแจงค่า F ของ Snedecor
F.INV
: คำนวณค่าผกผันของการแจกแจงความน่าจะเป็นแบบ F ทางด้านซ้าย หรือที่เรียกว่าการแจกแจงของ Fisher-Snedecor หรือการแจกแจง F ของ Snedecor
FTEST
: ส่งกลับค่าความน่าจะเป็นที่ได้จากการทำการทดสอบความแตกต่างของค่าความแปรปรวนแบบ F-Test สำหรับค่าการกระจายของข้อมูลประชากร เพื่อพิจารณาว่าตัวอย่างสองกลุ่มมีแนวโน้มว่ามาจากกลุ่มประชากรสองกลุ่มที่มีค่าความแปรปรวนเท่ากันหรือไม่
TINV
: คำนวณค่าผกผันของฟังก์ชัน TDIST แบบ 2 ด้าน
ตัวอย่าง
สมมติว่าคุณต้องการหาค่าคัตออฟสำหรับสถิติแบบ F ที่สัมพันธ์กับค่า p ที่ 0.05
หากใช้ค่าองศาอิสระเท่ากับ 4
และ 5
จะถือได้ว่าค่าสถิติแบบ F ที่มากกว่า 5.19
มีนัยสำคัญทางสถิติ
A | B | C | D | |
---|---|---|---|---|
1 | ความน่าจะเป็น | ตัวเศษขององศาอิสระ | ตัวส่วนขององศาอิสระ | โซลูชัน |
2 | 0.05 | 4 | 5 | 5.192167773 |
3 | 0.05 | 4 | 5 | =F.INV.RT(0.05, 4, 5) |
4 | 0.05 | 4 | 5 | =F.INV.RT(A2, B2, C2) |