ตั้งค่าการติดตามผลแบบข้ามโดเมน (analytics.js)

การติดตามผลแบบข้ามโดเมนทำให้ Analytics ดูเซสชันในไซต์ที่เกี่ยวข้องกัน 2 เว็บไซต์ (เช่น เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซและเว็บไซต์รถเข็นช็อปปิ้งแยกต่างหาก) เป็นเซสชันเดียวได้ ซึ่งในบางครั้งเรียกว่าการเชื่อมโยงไซต์

ในการตั้งค่าการติดตามผลแบบข้ามโดเมน คุณจะต้องสามารถแก้ไข HTML และเขียนโค้ดใน JavaScript หรือสามารถขอความช่วยเหลือจากนักพัฒนาเว็บที่มีประสบการณ์

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการตั้งค่าโค้ดติดตามขั้นพื้นฐาน

บทความนี้ประกอบด้วย

ภาพรวมการติดตามผลแบบข้ามโดเมน

Analytics จะรวบรวมค่า Client-ID ในทุกๆ Hit เพื่อติดตามเซสชัน ทั้งนี้ค่า Client-ID จะได้รับการจัดเก็บไว้ในคุกกี้ โดยคุกกี้จะจัดเก็บในแบบทีละโดเมน และเว็บไซต์ต่างๆ ในโดเมนหนึ่งจะไม่สามารถเข้าถึงคุกกี้ที่กำหนดไว้สำหรับอีกโดเมนหนึ่งได้ ขณะติดตามเซสชันในหลายๆ โดเมน ค่า Client-ID จะต้องโอนจากโดเมนหนึ่งไปยังอีกโดเมนหนึ่ง โดยในการดำเนินการนี้ โค้ดติดตามของ Analytics มีฟีเจอร์การลิงก์ที่ช่วยให้โดเมนต้นทางวาง Client-ID ในพารามิเตอร์ URL ของลิงก์ ซึ่งเป็นที่ที่โดเมนปลายทางสามารถเข้าถึงได้

ตั้งค่าการติดตามผลแบบข้ามโดเมนโดยใช้ Google Tag Manager

หากคุณใช้ Google Tag Manager ในการจัดการการติดตามของ Analytics ให้ทำตามคำแนะนำในการติดตามผลแบบข้ามโดเมน

ตั้งค่าการติดตามผลแบบข้ามโดเมนโดยการแก้ไขโค้ดติดตาม

ในการตั้งค่าการติดตามผลแบบข้ามโดเมนสำหรับโดเมนระดับบนสุดหลายรายการ คุณจะต้องแก้ไขโค้ดติดตาม Analytics ในแต่ละโดเมน คุณควรมีความรู้พื้นฐานเรื่อง HTML และ JavaScript หรือทำงานร่วมกับนักพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อตั้งค่าการติดตามผลแบบข้ามโดเมน ตัวอย่างในบทความนี้ใช้ข้อมูลโค้ดติดตามของ Universal Analytics (analytics.js)

  1. ตั้งค่าพร็อพเพอร์ตี้ในบัญชี Analytics
    สำหรับการติดตามผลแบบข้ามโดเมน ให้ตั้งค่าพร็อพเพอร์ตี้ 1 รายการในบัญชี Analytics ใช้ข้อมูลโค้ดติดตามและรหัสการติดตามเดียวกันจากพร็อพเพอร์ตี้ดังกล่าวสำหรับโดเมนทั้งหมดของคุณ

    คุณจำเป็นต้องแก้ไขข้อมูลโค้ดติดตามจึงจะติดตามผลแบบข้ามโดเมนได้ หากยังไม่ได้รวมข้อมูลโค้ดไว้ในหน้าเว็บทั้งหมด คุณควรคัดลอกและวางข้อมูลโค้ดลงในโปรแกรมแก้ไขข้อความก่อนดำเนินการตามคำแนะนำในที่นี้ต่อไป วิธีนี้ทำให้คุณต้องทำการเปลี่ยนแปลงเพียงครั้งเดียว หลังจากนั้นก็รวมข้อมูลโค้ดที่แก้ไขแล้วลงในหน้าเว็บทั้งหมดได้เลย

  2. แก้ไขโค้ดติดตามสำหรับโดเมนหลัก
    ค้นหาบรรทัด create ในข้อมูลโค้ด สำหรับเว็บไซต์ที่ชื่อว่า example-1.com บรรทัดดังกล่าวจะมีลักษณะดังนี้

     

      ga('create', 'UA-XXXXXXX-Y', 'example-1.com');

    ทำการเปลี่ยนแปลงต่อไปนี้กับข้อมูลโค้ด (การเปลี่ยนแปลงที่คุณต้องทำจะเป็นข้อความตัวหนาสีแดง) ดังนี้

      ga('create', 'UA-XXXXXXX-Y', 'auto', {'allowLinker': true});
      ga('require', 'linker');
      ga('linker:autoLink', ['example-2.com'] );

    อย่าลืมใช้รหัสการติดตามของคุณเองแทนรหัสการติดตามในตัวอย่าง (UA-XXXXXX-Y) และใช้ชื่อโดเมนรองของคุณแทนโดเมนรองในตัวอย่าง (example-2.com) ด้วย



    ข้อมูลโค้ดติดตามต้องมีการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ในทุกที่ที่ปรากฏในโดเมนหลัก

     

    สำหรับโดเมน 3 รายการขึ้นไป

    ทำตามตัวอย่างข้างต้น แต่ให้เพิ่มโดเมนอื่นๆ ในปลั๊กอินลิงก์อัตโนมัติ แม้แต่เครื่องหมายจุลภาคที่เพิ่มขึ้นมาก็มีความสำคัญ

    ga('linker:autoLink', ['example-2.com', 'example-3.com'] );
    ดูตัวอย่างข้อมูลโค้ดที่สมบูรณ์

    ข้อมูลโค้ดติดตามในโดเมนหลักของคุณควรมีลักษณะเช่นนี้

    <script>

    (function(i,s,o,g,r,a,m){i['GoogleAnalyticsObject']=r;i[r]=i[r]||function(){ (i[r].q=i[r].q||[]).push(arguments)},i[r].l=1*new Date();a=s.createElement(o), m=s.getElementsByTagName(o)[0];a.async=1;a.src=g;m.parentNode.insertBefore(a,m) })(window,document,'script','//www.google-analytics.com/analytics.js','ga');

    ga('create', 'UA-XXXXXXX-Y', 'auto', {'allowLinker': true});
    ga('require', 'linker');
    ga('linker:autoLink', ['example-2.com'] );

    ga('send', 'pageview');

    </script>
  3. แก้ไขโค้ดติดตามในโดเมนรอง

    ค้นหาบรรทัด create ในข้อมูลโค้ด ทำการเปลี่ยนแปลงต่อไปนี้กับข้อมูลโค้ด (การเปลี่ยนแปลงที่คุณต้องทำจะเป็นข้อความตัวหนาสีแดง) ดังนี้

      ga('create', 'UA-XXXXXXX-Y', 'auto', {'allowLinker': true});
      ga('require', 'linker');
      ga('linker:autoLink', ['example-1.com'] );

    อย่าลืมใช้รหัสการติดตามของคุณเองแทนรหัสการติดตามในตัวอย่าง (UA-XXXXXX-Y) และใช้ชื่อโดเมนหลักของคุณแทนโดเมนหลักในตัวอย่าง (example-1.com) ด้วย

    ข้อมูลโค้ดติดตามต้องมีการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ในทุกที่ที่ปรากฏในโดเมนรอง

    สำหรับโดเมน 3 รายการขึ้นไป

    ทำตามตัวอย่างข้างต้น แต่ให้เพิ่มโดเมนอื่นๆ ในปลั๊กอินลิงก์อัตโนมัติ แม้แต่เครื่องหมายจุลภาคที่เพิ่มขึ้นมาก็มีความสำคัญ

    ga('linker:autoLink', ['example-1.com', 'example-3.com'] );
    ดูตัวอย่างข้อมูลโค้ดที่สมบูรณ์

    ข้อมูลโค้ดติดตามในโดเมนรองของคุณควรมีลักษณะเช่นนี้

    <script>

    (function(i,s,o,g,r,a,m){i['GoogleAnalyticsObject']=r;i[r]=i[r]||function(){ (i[r].q=i[r].q||[]).push(arguments)},i[r].l=1*new Date();a=s.createElement(o), m=s.getElementsByTagName(o)[0];a.async=1;a.src=g;m.parentNode.insertBefore(a,m) })(window,document,'script','//www.google-analytics.com/analytics.js','ga');

    ga('create', 'UA-XXXXXXX-Y', 'auto', {'allowLinker': true});
    ga('require', 'linker');
    ga('linker:autoLink', ['example-1.com'] );

    ga('send', 'pageview');

    </script>

ตั้งค่าข้อมูลพร็อพเพอร์ตี้สำหรับการรายงานและเพิ่มตัวกรอง

โดยค่าเริ่มต้น Analytics จะรวมเฉพาะเส้นทางหน้าเว็บและชื่อหน้าเว็บเท่านั้น แต่ไม่รวมชื่อโดเมน ตัวอย่างเช่น คุณอาจเห็นหน้าเว็บปรากฏในรายงานเนื้อหาไซต์ในลักษณะต่อไปนี้

  • /about/contactUs.html
  • /about/contactUs.html
  • /products/buy.html

เพราะไม่มีการแสดงชื่อโดเมน จึงบอกได้ยากว่าหน้าเว็บเป็นของโดเมนไหน

หากต้องการให้ชื่อโดเมนปรากฏในรายงาน คุณต้องดำเนินการ 2 อย่าง ได้แก่ สร้างสำเนาของข้อมูลพร็อพเพอร์ตี้สำหรับการรายงานที่รวมข้อมูลจากโดเมนทั้งหมดของคุณไว้ด้วยกันและเพิ่มตัวกรองขั้นสูงให้กับข้อมูลพร็อพเพอร์ตี้ใหม่นั้น ตัวกรองนี้จะบอก Analytics ให้แสดงชื่อโดเมนในรายงานของคุณ

ทำตามตัวอย่างนี้เพื่อตั้งค่าตัวกรองข้อมูลพร็อพเพอร์ตี้ให้แสดงชื่อโดเมนในรายงาน หากคุณได้ตั้งค่าการติดตามผลแบบข้ามโดเมนเอาไว้ คุณจะต้องเลือกรายการจากเมนูแบบเลื่อนลงสำหรับบางช่อง และต้องป้อนอักขระดังนี้ในบางช่อง

  • ประเภทตัวกรอง: ตัวกรองที่กำหนดเอง > ขั้นสูง
  • ช่อง A -> ดึงข้อมูล A: ชื่อโฮสต์ = (.*)
  • ช่อง B -> ดึงข้อมูล B: URI คำขอ = (.*)
  • เอาต์พุตไปยัง -> เครื่องมือสร้าง: URI คำขอ = $A1$B1

คลิกบันทึกเพื่อสร้างตัวกรอง

คุณสามารถตรวจสอบว่าตัวกรองทำงานตามที่คาดไว้ได้โดยใช้บันทึกผู้ช่วยแท็กของ Google บันทึกผู้ช่วยแท็กจะแสดงให้เห็นชัดเจนว่าตัวกรองเปลี่ยนแปลงการเข้าชมของคุณไปอย่างไรบ้าง

เพิ่มโดเมนลงในรายการการยกเว้นการอ้างอิง

เมื่อเส้นทางของผู้ใช้ข้ามจากโดเมนแรกไปยังโดเมนที่ 2 Analytics จะตีความว่าผู้ใช้ดังกล่าวได้รับการอ้างอิงไปยังโดเมนที่ 2 จากโดเมนแรก และจะสร้างเซสชันใหม่ หากต้องการติดตามเซสชันเดียวในหลายๆ โดเมน คุณจะต้องเพิ่มโดเมนต่างๆ ลงในรายการยกเว้นการอ้างอิง

ตรวจสอบว่าการติดตามผลแบบข้ามโดเมนทำงานอยู่

วิธีที่ดีที่สุดในการตรวจสอบว่ามีการตั้งค่าการติดตามผลแบบข้ามโดเมนอย่างถูกต้องคือการใช้บันทึกผู้ช่วยแท็กของ Google เมื่อคุณสร้างเซสชันที่ข้ามโดเมน บันทึกผู้ช่วยแท็กจะบอกได้ทันทีว่าการติดตามผลใช้งานได้หรือไม่

นี่คือตัวอย่างรายงานบันทึกผู้ช่วยแท็กที่แสดงให้เห็นลักษณะของการติดตามผลแบบข้ามโดเมนที่ตั้งค่าไม่ถูกต้อง

แหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

analytics.js

gtag.js

 

ข้อมูลนี้มีประโยชน์ไหม

เราจะปรับปรุงได้อย่างไร
true
เลือกเส้นทางการเรียนรู้ของคุณเอง

โปรดไปที่ google.com/analytics/learn ซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลใหม่ที่จะช่วยให้คุณได้รับประโยชน์สูงสุดจาก Google Analytics 4 เว็บไซต์ใหม่นี้มีทั้งวิดีโอ บทความ และขั้นตอนพร้อมคำแนะนำ รวมถึงลิงก์ไปยังแหล่งข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับ Google Analytics เช่น Discord, บล็อก, ช่อง YouTube ตลอดจนที่เก็บ GitHub

เริ่มเรียนรู้วันนี้เลย

ค้นหา
ล้างการค้นหา
ปิดการค้นหา
เมนูหลัก
2119990053970058344
true
ค้นหาศูนย์ช่วยเหลือ
true
true
true
true
true
69256
false
false