การแจ้งเตือน

Duet AI เปลี่ยนเป็น Gemini สำหรับ Google Workspace แล้ว ดูข้อมูลเพิ่มเติม

การใช้หน้าแดชบอร์ดความปลอดภัย

รุ่นที่รองรับฟีเจอร์นี้ ได้แก่ Frontline Standard; Enterprise Standard และ Enterprise Plus; Education Standard และ Education Plus; Enterprise Essentials Plus เปรียบเทียบรุ่นของคุณ

ในฐานะผู้ดูแลระบบ คุณจะใช้แดชบอร์ดความปลอดภัยเพื่อดูภาพรวมของรายงานความปลอดภัยต่างๆ ได้ โดยค่าเริ่มต้น แผงรายงานความปลอดภัยแต่ละแผงจะแสดงข้อมูลภายในเดือนที่ผ่านมา คุณสามารถปรับแต่งหน้าแดชบอร์ดเพื่อดูข้อมูลจากวันนี้ เมื่อวาน สัปดาห์นี้ สัปดาห์ที่แล้ว เดือนนี้ เดือนที่แล้ว หรือวันที่ผ่านมา (ไม่เกิน 180 วัน) ได้

หมายเหตุ: รุ่น Google Workspace ของคุณจะกำหนดรายงานบนหน้าแดชบอร์ดความปลอดภัยที่พร้อมให้ใช้งาน ดังนั้นคุณจึงอาจไม่มีสิทธิ์เข้าถึงรายงานทั้งหมดที่อธิบายไว้ด้านล่างได้

ดูและใช้หน้าแดชบอร์ด

  1. ลงชื่อเข้าใช้ คอนโซลผู้ดูแลระบบของ Google

    ลงชื่อเข้าใช้โดยใช้บัญชีผู้ดูแลระบบ (ที่ไม่ลงท้ายด้วย @gmail.com)

  2. ในคอนโซลผู้ดูแลระบบ ไปที่เมนู จากนั้นความปลอดภัยจากนั้นศูนย์ความปลอดภัยจากนั้นแดชบอร์ด
  3. หากต้องการดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายงานใดๆ ให้คลิกดูรายงานที่มุมขวาล่างของแผง

โปรดดูรายละเอียดการเก็บรักษาข้อมูลและเวลาว่างที่หัวข้อการเก็บรักษาข้อมูลและเวลาล่าช้าสําหรับหน้าแดชบอร์ดความปลอดภัย

รายงานที่พร้อมใช้งานใน Google Workspace 

คุณจะใช้งานรายงานต่อไปนี้ได้เมื่อดูหน้าแดชบอร์ดความปลอดภัยด้วยบัญชี Google Workspace

รายงาน สิ่งที่รายงานแสดง
การเปิดเผยไฟล์ การแชร์ไฟล์กับภายนอกโดเมนเป็นอย่างไรบ้าง
การตรวจสอบสิทธิ์ มีการตรวจสอบสิทธิ์ข้อความกี่ฉบับ
การตั้งค่าที่กำหนดเอง ข้อความที่ได้รับผลกระทบจากการตั้งค่าที่กำหนดเองมีจำนวนเท่าใด
เหตุการณ์ DLP การละเมิดกฎ DLP เกิดขึ้นบ่อยแค่ไหนเมื่อเทียบกับความรุนแรง
เหตุการณ์เกี่ยวกับนโยบายที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุด นโยบายยอดนิยมที่ก่อให้เกิดเหตุการณ์จำนวนมากที่สุดคืออะไร
การเข้ารหัส มีข้อความที่ได้รับการเข้ารหัสกี่ฉบับ
การส่งข้อความ ข้อความขาเข้ามีปริมาณเท่าใด
ตัวกรองจดหมายขยะ - ทั้งหมด ข้อความขาเข้าได้รับการจัดเส้นทางอย่างไร
ตัวกรองจดหมายขยะ - ฟิชชิง อีเมลที่น่าจะเป็นฟิชชิงได้รับการจัดเส้นทางอย่างไร
ตัวกรองจดหมายขยะ - มัลแวร์ ระบบจะทำเครื่องหมายข้อความว่าเป็นมัลแวร์ในกรณีใด
รายงานของผู้ใช้ ผู้ใช้ทำเครื่องหมายอีเมลได้อย่างไร
จำนวนครั้งที่ป้อนรหัสผ่านในอุปกรณ์ผิด มีการป้อนรหัสผ่านในอุปกรณ์ผิดกี่ครั้ง
เหตุการณ์ที่มีการบุกรุกอุปกรณ์ ระบบตรวจพบเหตุการณ์ใดที่ถือว่ามีการบุกรุกอุปกรณ์
กิจกรรมในอุปกรณ์ที่น่าสงสัย ระบบตรวจพบกิจกรรมใดในอุปกรณ์ที่น่าสงสัย
การให้สิทธิ์ขอบเขต OAuth ตามผลิตภัณฑ์ (เฉพาะลูกค้ารุ่นเบต้า) การให้สิทธิ์ขอบเขต OAuth ตามผลิตภัณฑ์เป็นอย่างไร
กิจกรรมการให้สิทธิ์ OAuth แอปใดมีกิจกรรมการให้สิทธิ์ OAuth มากที่สุด
การให้สิทธิ์ OAuth กับแอปใหม่ๆ แอปใหม่ใดได้รับสิทธิ์จากโทเค็น OAuth
ไฟล์แนบที่น่าสงสัย ข้อความใดมีไฟล์แนบที่น่าสงสัย
การปลอมแปลง ข้อความใดที่มีหลักฐานว่าอาจเป็นการปลอมแปลง
จำนวนครั้งที่ผู้ใช้พยายามเข้าสู่ระบบ มีการใช้คำถามในการเข้าสู่ระบบแบบใด
จำนวนครั้งที่ผู้ใช้พยายามเข้าสู่ระบบ มีความพยายามเข้าสู่ระบบของผู้ใช้ที่ล้มเหลวกี่ครั้ง
จำนวนครั้งที่ผู้ใช้พยายามเข้าสู่ระบบ มีความพยายามเข้าสู่ระบบของผู้ใช้ที่น่าสงสัยกี่ครั้ง
การเข้ารหัสฝั่งไคลเอ็นต์ มีไฟล์ที่เข้ารหัสฝั่งไคลเอ็นต์กี่รายการ
การถอดรหัสฝั่งไคลเอ็นต์ มีไฟล์ที่เข้ารหัสฝั่งไคลเอ็นต์กี่รายการที่ได้รับการดาวน์โหลดและถอดรหัส

ไม่มีให้บริการใน Frontline Standard หรือ Enterprise Standard

ดูเพิ่มเติม รายงานที่มีใน Cloud Identity 

 รายงานที่ใช้ได้ด้วย Cloud Identity

คุณจะใช้งานรายงานต่อไปนี้ได้เมื่อดูหน้าแดชบอร์ดความปลอดภัยด้วยบัญชี Cloud Identity

รายงาน มีหมายความว่าอย่างไร
จำนวนครั้งที่ป้อนรหัสผ่านในอุปกรณ์ผิด มีการป้อนรหัสผ่านในอุปกรณ์ผิดกี่ครั้ง
เหตุการณ์ที่มีการบุกรุกอุปกรณ์ ระบบตรวจพบเหตุการณ์ใดที่ถือว่ามีการบุกรุกอุปกรณ์
กิจกรรมในอุปกรณ์ที่น่าสงสัย ระบบตรวจพบกิจกรรมใดในอุปกรณ์ที่น่าสงสัย
การให้สิทธิ์ขอบเขต OAuth ตามผลิตภัณฑ์ (เฉพาะลูกค้ารุ่นเบต้า) การให้สิทธิ์ขอบเขต OAuth ตามผลิตภัณฑ์เป็นอย่างไร
กิจกรรมการให้สิทธิ์ OAuth แอปใดมีกิจกรรมการให้สิทธิ์ OAuth มากที่สุด
การให้สิทธิ์ OAuth กับแอปใหม่ๆ แอปใหม่ใดได้รับสิทธิ์จากโทเค็น OAuth
จำนวนครั้งที่ผู้ใช้พยายามเข้าสู่ระบบ มีการใช้คำถามในการเข้าสู่ระบบแบบใด
จำนวนครั้งที่ผู้ใช้พยายามเข้าสู่ระบบ มีความพยายามเข้าสู่ระบบของผู้ใช้ที่ล้มเหลวกี่ครั้ง
จำนวนครั้งที่ผู้ใช้พยายามเข้าสู่ระบบ มีความพยายามเข้าสู่ระบบของผู้ใช้ที่น่าสงสัยกี่ครั้ง
ข้อมูลสรุปการป้องกันภัยคุกคามของ Chrome กิจกรรมที่เป็นภัยคุกคามต่อ Chrome เกิดขึ้นกี่ครั้ง
ข้อมูลสรุปเกี่ยวกับการปกป้องข้อมูลของ Chrome กฎการปกป้องข้อมูลแต่ละข้อมีเหตุการณ์จำนวนเท่าไร
ผู้ใช้ Chrome ที่มีความเสี่ยงสูง ผู้ใช้ Chrome รายใดพบกับภัยคุกคามมากที่สุด
โดเมน Chrome ที่มีความเสี่ยงสูง โดเมนใดมีความเสี่ยงต่อผู้ใช้ Chrome มากที่สุด

โปรดดูหัวข้อรายงานที่ใช้ได้ด้วย Google Workspace

ดูเทรนด์

คุณจะใช้หน้าแดชบอร์ดเพื่อดูเทรนด์ได้อย่างรวดเร็ว เช่น เมื่อต้องการดูข้อมูลโดยย่อว่าการแชร์ไฟล์ภายนอกเพิ่มขึ้นหรือลดลงในช่วงเวลาที่ระบุ

แต่ละแผงในหน้าแดชบอร์ดจะแสดงเปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงเมื่อเวลาผ่านไปของข้อมูล ตัวอย่างเช่น หากช่วงวันที่ในหน้าแดชบอร์ดถูกตั้งค่าเป็น 10 วันที่ผ่านมาและจำนวนข้อความที่ได้รับการตรวจสอบสิทธิ์เพิ่มขึ้นเป็น 25% ใน 10 วันที่ผ่านมา คุณจะเห็นค่าเป็น + 25%ในหัวข้อตรวจสอบสิทธิ์แล้ว (บางครั้งค่าเปอร์เซ็นต์นี้อาจไม่ปรากฏขึ้นมาเพราะมีข้อมูลไม่เพียงพอ)

เปรียบเทียบข้อมูลปัจจุบันและข้อมูลย้อนหลัง

หากต้องการเปรียบเทียบข้อมูลปัจจุบันกับข้อมูลย้อนหลัง จากเมนูการวิเคราะห์เชิงสถิติที่ด้านบนขวา ให้เลือกเปอร์เซ็นไทล์ (ใช้ไม่ได้กับแผนภูมิหน้าแดชบอร์ดด้านความปลอดภัยทั้งหมด) คุณจะเห็นเส้นซ้อนทับบนแผนภูมิแสดงเปอร์เซ็นไทล์ที่ 10, 50 และ 90 ของข้อมูลย้อนหลัง (180 วันสำหรับข้อมูลส่วนใหญ่และ 30 วันสำหรับข้อมูล Gmail) จากนั้น หากต้องการเปลี่ยนการวิเคราะห์ ให้ใช้เมนูที่ด้านขวาบนของแผนภูมิเพื่อเปลี่ยนเส้นซ้อนทับ

การเก็บรักษาข้อมูลและเวลาล่าช้าสําหรับหน้าแดชบอร์ดความปลอดภัย

การเก็บรักษาข้อมูล

ระบบจะเก็บข้อมูลไว้เป็นเวลา 30 หรือ 180 วัน โดยขึ้นอยู่กับประเภทของรายงานความปลอดภัย

รายงานเหล่านี้มีข้อมูลจาก 30 วันที่ผ่านมา ดังนี้

  • ไฟล์แนบที่น่าสงสัย
  • การตรวจสอบสิทธิ์
  • การตั้งค่าที่กำหนดเอง
  • การเข้ารหัส
  • การส่งข้อความ
  • ตัวกรองสแปม
  • การปลอมแปลง
  • รายงานของผู้ใช้

รายงานเหล่านี้มีข้อมูลจาก 180 วันที่ผ่านมา ดังนี้

  • เหตุการณ์ที่มีการบุกรุกอุปกรณ์
  • การเปิดเผยไฟล์
  • จำนวนครั้งที่ป้อนรหัสผ่านในอุปกรณ์ผิด
  • การให้สิทธิ์ขอบเขต OAuth ตามผลิตภัณฑ์
  • กิจกรรมการให้สิทธิ์ OAuth
  • การให้สิทธิ์ OAuth กับแอปใหม่ๆ
  • กิจกรรมของอุปกรณ์ที่น่าสงสัย
  • จำนวนครั้งที่ผู้ใช้พยายามเข้าสู่ระบบ
  • สรุปข้อมูลภัยคุกคาม Chrome
  • การป้องกันข้อมูล Chrome
  • ผู้ใช้ Chrome ที่มีความเสี่ยงสูง
  • โดเมน Chrome ที่มีความเสี่ยงสูง
  • การเข้ารหัสฝั่งไคลเอ็นต์
  • การถอดรหัสฝั่งไคลเอ็นต์

เวลาล่าช้า

อาจต้องใช้เวลาระยะหนึ่ง ระบบจึงจะแสดงข้อมูลในรายงานต่างๆ ของแดชบอร์ด โดยเบื้องต้น รายงานของแดชบอร์ดอาจแสดงข้อมูลล่าช้าประมาณ 4 ชั่วโมง ส่วนรายงานที่กําหนดเองจะล่าช้าไม่เกิน 1 ชั่วโมง

การแชร์ไฟล์กับภายนอกโดเมนเป็นอย่างไรบ้าง

ใช้แผงควบคุมนี้เพื่อดูภาพรวมของจำนวนกิจกรรมการแชร์กับผู้ใช้นอกโดเมนในช่วงเวลาที่ระบุ และจำนวนการดู ดูรายละเอียดต่อไปนี้ได้โดยคลิกที่แท็บที่ด้านบนของแผง

  • การแชร์ - จำนวนกิจกรรมการแชร์ของไฟล์ที่ปรากฎภายนอก
  • การดู - จำนวนการดูไฟล์ที่ปรากฎภายนอก

หากต้องการดูรายงานการเปิดเผยไฟล์ ให้คลิกดูรายงาน สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับรายงาน โปรดดูรายงานการเปิดเผยไฟล์

ข้อมูลเกี่ยวกับไฟล์ที่ปรากฎภายนอก

ไฟล์ที่มองเห็นภายนอกคือไฟล์ที่แชร์ด้วยวิธีการต่อไปนี้

  • เป็นสาธารณะทางเว็บ - ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกคนค้นหาและเข้าถึงได้ ไม่จำเป็นต้องลงชื่อเข้าใช้
    ในหน้าต่างการแชร์ลิงก์ ผู้ใช้เลือกเปิด - สาธารณะทางเว็บ
  • ทุกคนที่มีลิงก์ - ทุกคนที่มีลิงก์จะเข้าถึงได้ ไม่จำเป็นต้องลงชื่อเข้าใช้
    ในหน้าต่างการแชร์ลิงก์ ผู้ใช้เลือกเปิด - ทุกคนที่มีลิงก์
  • แชร์ภายนอกกับผู้ใช้ที่ระบุ - ผู้ใช้อยู่นอกโดเมน
    ในหน้าต่างการแชร์ลิงก์ ผู้ใช้เลือกปิด - ผู้ใช้ที่ระบุ และแชร์ไฟล์กับผู้ที่ระบุจากนอกโดเมน

หมายเหตุ:

  • สำหรับแผนภูมิการแชร์ไฟล์ภายนอก ข้อมูลจะแสดงการเปรียบเทียบกับช่วงเวลาล่าสุด ตัวอย่างเช่น หากเลือกช่วงเวลา 7 วันล่าสุด เดลต้าที่แสดงในแผนภูมิจะเป็นการเปรียบเทียบกับสัปดาห์ก่อนหน้า
  • อาจมีความล่าช้า 1 ชั่วโมงขึ้นไปสำหรับข้อมูลไดรฟ์ที่จะแสดงในศูนย์ความปลอดภัยสำหรับบางโดเมน

มีการตรวจสอบสิทธิ์ข้อความกี่ฉบับ

มาตรฐานการตรวจสอบสิทธิ์ของอีเมล เช่น DKIM และ SPF จะปกป้องโดเมนจากภัยคุกคามทางอีเมลบางชนิด เช่น ฟิชชิง ได้ แผนภูมินี้แสดงข้อความขาเข้าและขาออกโดยแบ่งตาม ตรวจสอบสิทธิ์แล้ว และ ยังไม่ตรวจสอบสิทธิ์:

  • ตรวจสอบสิทธิ์แล้ว - ข้อความที่สอดคล้องกับมาตรฐานการตรวจสอบสิทธิ์ของอีเมล เช่น DKIM และ SPF
  • ยังไม่ตรวจสอบสิทธิ์ - ข้อความที่ไม่มีการตรวจสอบสิทธิ์ของอีเมล

หากต้องการดูรายงานการตรวจสอบสิทธิ์ ให้คลิกดูรายงาน สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับรายงาน โปรดดูรายงานการตรวจสอบสิทธิ์

ข้อความที่ได้รับผลกระทบจากการตั้งค่าแบบกำหนดเองมีจำนวนเท่าใด

ผลที่ตามมาของข้อความที่ส่งไปยังโดเมน (เช่น ไม่ว่าข้อความจะถูกปฏิเสธ เปลี่ยนเส้นทาง อยู่ในรายการที่อนุญาตพิเศษ หรือกักกัน) จะพิจารณาจากการตั้งค่าที่กำหนดเองของ Gmail สำหรับโดเมน บางครั้งการตั้งค่าเหล่านี้จะลบล้างตัวกรองจดหมายขยะของ Gmail ซึ่งกำหนดว่าข้อความนั้นๆ จะถูกทำเครื่องหมายว่าปลอดภัยหรือเป็นอีเมลขยะ

แผงการตั้งค่าแบบกำหนดเองช่วยให้คุณเห็นได้ทันทีว่ามีข้อความจำนวนเท่าใดบ้างในโดเมนที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งระหว่างตัวกรองจดหมายขยะกับการตั้งค่า Gmail แบบกำหนดเอง

  • ทั้งหมด - จำนวนข้อความที่การกำหนดค่า Gmail เป็นตัวกำหนดผลที่ตามมา
  • ขัดแย้ง - จำนวนข้อความที่การกำหนดค่า Gmail และตัวกรองจดหมายขยะ Gmail ของโดเมนมีผลที่ตามมาขัดแย้งกัน

หากต้องการดูรายงานการตั้งค่าที่กำหนดเอง ให้คลิกดูรายงาน สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับรายงาน โปรดดูที่รายงานการตั้งค่าที่กำหนดเอง

มีการละเมิดกฎ DLP บ่อยแค่ไหนเมื่อเทียบกับความรุนแรง

คุณจะใช้กฎการป้องกันข้อมูลรั่วไหล (DLP) เพื่อควบคุมข้อมูลที่ละเอียดอ่อนที่ผู้ใช้จะแชร์ได้ 

จากแผงเหตุการณ์ DLP คุณจะตรวจสอบจำนวนเหตุการณ์ DLP ระหว่างช่วงวันที่ที่ระบุได้ โดยเหตุการณ์จะถูกจัดแบ่งเป็น 3 ระดับความรุนแรง ได้แก่ สูง ปานกลาง และต่ำ จำนวนเหตุการณ์ทั้งหมดที่เรียงตามระดับความรุนแรงจะปรากฏใต้แผนภูมินี้

หากต้องการดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเหตุการณ์ DLP ในองค์กร ให้คลิกดูรายงาน โปรดดูรายละเอียดเกี่ยวกับรายงานดังกล่าวในรายงานเหตุการณ์ DLP

นโยบายยอดนิยมที่ก่อให้เกิดเหตุการณ์จำนวนมากที่สุดคืออะไร

คุณจะตรวจสอบนโยบายยอดนิยมที่ทำให้เกิดเหตุการณ์จำนวนมากที่สุดในช่วงวันที่ที่ระบุได้จากแผงเหตุการณ์เกี่ยวกับนโยบายยอดนิยม

คุณจะดูจำนวนเหตุการณ์เกี่ยวกับนโยบายแต่ละรายการโดยแบ่งตามบริการ (เช่น Google ไดรฟ์) ได้ในแผนภูมิ เหตุการณ์จะจัดอันดับตามจำนวนสูงสุดของเหตุการณ์เกี่ยวกับนโยบายในช่วงวันที่ที่ระบุ ซึ่งคุณจะดูจำนวนเหตุการณ์ทั้งหมดของนโยบายที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุดในไดรฟ์ได้ที่ด้านล่างของแผนภูมิ

หากต้องการดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเหตุการณ์สำหรับนโยบายยอดนิยมในองค์กรของคุณ ให้คลิกดูรายงาน โปรดดูรายละเอียดเกี่ยวกับรายงานในหัวข้อรายงานเหตุการณ์สำหรับนโยบายยอดนิยม

ข้อความที่ได้รับการเข้ารหัสมีจำนวนเท่าใด

คุณจะตรวจสอบความปลอดภัยของโดเมนได้โดยดูจำนวนข้อความที่เข้ารหัสด้วย Transport Layer Security (TLS) 

TLS เป็นโปรโตคอลที่เข้ารหัสและส่งอีเมลอย่างปลอดภัยทั้งสำหรับการรับส่งอีเมลขาเข้าและขาออก ช่วยป้องกันการดักข้อมูลระหว่างเซิร์ฟเวอร์อีเมล ใช้แผงการเข้ารหัสเพื่อดูสถิติที่เกี่ยวข้องกับ TLS และดูแนวโน้มในช่วงเวลาที่ระบุ ตัวอย่างเช่น การใช้ TLS กำลังเพิ่มหรือลดลงหรือไม่

  • TLS - ข้อความที่ส่งโดยใช้โปรโตคอล Transport Layer Security (TLS)
  • ไม่ใช้ TLS - ข้อความที่ส่งโดยไม่ใช้โปรโตคอล Transport Layer Security (TLS)

หากต้องการดูรายงานการเข้ารหัส ให้คลิกดูรายงาน สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับรายงาน โปรดดูรายงานการเข้ารหัส

จำนวนข้อความขาเข้ามีลักษณะเป็นอย่างไร

ตัวกรองจดหมายขยะของ Gmail ช่วยปกป้องโดเมนโดยการปฏิเสธข้อความส่วนใหญ่ที่เป็นจดหมายขยะและมัลแวร์อย่างเด่นชัดโดยอัตโนมัติ นอกจากนี้ การตั้งค่าขั้นสูงบางอย่างของ Gmail จะลบล้างตัวกรองจดหมายขยะ และยอมรับหรือปฏิเสธข้อความได้ ใช้แผงการส่งข้อความเพื่อดูจำนวนข้อความที่ได้รับการยอมรับและจำนวนข้อความที่ถูกปฏิเสธสำหรับช่วงเวลาที่ระบุ

  • ยอมรับ - จำนวนข้อความที่โดเมนยอมรับเนื่องจากการตั้งค่า Gmail หรือตัวกรองจดหมายขยะของ Gmail
  • ปฏิเสธ - จำนวนข้อความที่ถูกบล็อกไม่ให้เข้าสู่โดเมนเนื่องจากการตั้งค่า Gmail หรือตัวกรองจดหมายขยะ Gmail

หากต้องการดูรายงานการส่งข้อความ ให้คลิกดูรายงาน สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับรายงาน โปรดดูที่รายงานการส่งข้อความ

ข้อความขาเข้าได้รับการจัดเส้นทางอย่างไร

ข้อความอาจถูกทำเครื่องหมายเป็นจดหมายขยะโดยตัวกรองจดหมายขยะของ Gmail และใส่ไว้ในโฟลเดอร์จดหมายขยะของผู้ใช้ ดูจำนวนข้อความที่ถูกทำเครื่องหมายว่าเป็นจดหมายขยะ ฟิชชิง หรือมัลแวร์ในช่วงเวลาที่ระบุได้ด้วยการใช้ตัวกรองจดหมายขยะ - แผงทั้งหมด

หากข้อความได้รับการพิจารณาว่าน่าสงสัยแต่ยังมีคุณลักษณะที่เป็นบวก (ตัวอย่างเช่น หากผู้ส่งข้อความอยู่ในรายการที่อนุญาตพิเศษ) ข้อความอาจถูกใส่ในกล่องจดหมายของผู้ใช้ ข้อความขาเข้าจะถูกใส่ไว้ในหนึ่งในสองปลายทางต่อไปนี้

  • โฟลเดอร์จดหมายขยะ - จำนวนข้อความที่ได้รับการยืนยันว่าเป็นจดหมายขยะ ฟิชชิง หรือมัลแวร์ที่ใส่ในโฟลเดอร์จดหมายขยะของผู้ใช้
  • กล่องจดหมาย - จำนวนข้อความในกล่องจดหมายของผู้ใช้ที่มีการทำเครื่องหมายว่าปลอดภัยหรือมีการพิจารณาว่าน่าสงสัยแต่ยังมีคุณลักษณะเชิงบวก

หมายเหตุ: บางครั้งระบบกรองอีเมลขาเข้าของบุคคลที่สามอาจส่งผลกระทบต่อผลการค้นหาจดหมายขยะได้ ดังนั้นจึงส่งผลกระทบต่อข้อมูลในแผงตัวกรองจดหมายขยะ - ทั้งหมดด้วย นอกจากนี้ การตั้งค่าที่กำหนดเองของ Gmail บางส่วนอาจลบล้างตัวกรองจดหมายขยะ และยอมรับหรือปฏิเสธข้อความได้

หากต้องการดูรายงานตัวกรองจดหมายขยะ ให้คลิกดูรายงานในแผงตัวกรองจดหมายขยะ - ทั้งหมด สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับรายงาน โปรดดูที่รายงานตัวกรองจดหมายขยะ

อีเมลที่น่าจะเป็นฟิชชิงได้รับการจัดเส้นทางอย่างไร

ข้อความอาจถูกทำเครื่องหมายเป็นฟิชชิงโดยตัวกรองสแปมของ Gmail และถูกนำไปไว้ในโฟลเดอร์สแปมของผู้ใช้ คุณจะดูจำนวนข้อความที่ถูกทำเครื่องหมายเป็นฟิชชิงในช่วงเวลาที่ระบุได้ด้วยการใช้แผงตัวกรองจดหมายขยะ - ฟิชชิง

หากข้อความได้รับการพิจารณาว่าน่าสงสัยแต่ยังมีคุณลักษณะที่เป็นบวก เช่น หากผู้ส่งข้อความอยู่ในรายการที่อนุญาตพิเศษ ข้อความอาจถูกนำไปไว้ในกล่องจดหมายของผู้ใช้ข้อความขาเข้าที่ระบุว่าอาจเป็นภัยคุกคามฟิชชิงจะเก็บไว้ในปลายทางที่ใดที่หนึ่งใน 2 ที่ต่อไปนี้

  • โฟลเดอร์จดหมายขยะ - จำนวนข้อความที่ได้รับการยืนยันว่าเป็นจดหมายขยะ ฟิชชิง หรือมัลแวร์ที่ใส่ในโฟลเดอร์จดหมายขยะของผู้ใช้
  • กล่องจดหมาย - จำนวนข้อความในกล่องจดหมายของผู้ใช้ที่มีการทำเครื่องหมายว่าปลอดภัยหรือมีการพิจารณาว่าน่าสงสัยแต่ยังมีคุณลักษณะเชิงบวก

หมายเหตุ: บางครั้งระบบกรองอีเมลขาเข้าของบุคคลที่สามอาจส่งผลกระทบต่อผลการค้นหาจดหมายขยะได้ ดังนั้นจึงส่งผลกระทบต่อข้อมูลในแผงตัวกรองจดหมายขยะ - ฟิชชิงด้วย นอกจากนี้ การตั้งค่าที่กำหนดเองของ Gmail บางส่วนอาจลบล้างตัวกรองจดหมายขยะ และยอมรับหรือปฏิเสธข้อความได้

หากต้องการดูรายงานตัวกรองจดหมายขยะ ให้คลิกดูรายงานในแผงตัวกรองจดหมายขยะ - ฟิชชิง สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับรายงาน โปรดดูที่รายงานตัวกรองจดหมายขยะ

เมื่อใดที่ข้อความจะถูกทำเครื่องหมายว่าเป็นมัลแวร์

ข้อความอาจถูกทำเครื่องหมายว่าเป็นมัลแวร์โดยตัวกรองสแปมของ Gmail และถูกนำไปไว้ในโฟลเดอร์สแปมของผู้ใช้ ดูจำนวนข้อความที่ถูกระบุว่าเป็นมัลแวร์ในช่วงเวลาที่ระบุได้ด้วยการใช้แผงจดหมายขยะ - มัลแวร์

ข้อความขาเข้าอาจถูกระบุว่าเป็นมัลแวร์ก่อนหรือหลังจากส่งไปยังกล่องจดหมายของผู้ใช้

  • ก่อนการส่ง - ข้อความพร้อมไฟล์แนบที่ได้รับการยืนยันว่าเป็นมัลแวร์ก่อนการส่งจะถูกนำไปไว้ในโฟลเดอร์จดหมายขยะของผู้ใช้พร้อมกับปิดใช้ไฟล์แนบ
  • หลังการส่ง - ข้อความที่มีไฟล์แนบที่ผ่านการตรวจสอบมัลแวร์เบื้องต้นจะถูกใส่ในกล่องจดหมายของผู้ใช้ แต่อาจถูกระบุว่าเป็นมัลแวร์หลังจากทำการสแกนมัลแวร์แบบใช้เวลานาน ไฟล์แนบจะปิดการใช้งานเมื่อถูกจัดเป็นมัลแวร์

หากต้องการดูรายงานตัวกรองจดหมายขยะ ให้คลิกดูรายงานในแผงตัวกรองจดหมายขยะ - มัลแวร์ สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับรายงาน โปรดดูที่รายงานตัวกรองจดหมายขยะ

ผู้ใช้ทำเครื่องหมายอีเมลอย่างไร 

ผู้ใช้อีเมลรายงานข้อความในกล่องจดหมายว่าเป็นสแปม ไม่ใช่สแปม หรือฟิชชิงได้ Gmail จะใช้การรายงานดังกล่าวฝึกระบบในการระบุข้อความที่คล้ายกันว่าเป็นจดหมายขยะ ไม่ใช่จดหมายขยะ หรือฟิชชิงในอนาคต ดูสถิติเหล่านี้ในช่วงเวลาที่ระบุได้อย่างรวดเร็วจากแผงรายงานผู้ใช้ในหน้าภาพรวม

  • ไม่ใช่จดหมายขยะ - จำนวนข้อความที่ทำเครื่องหมายว่าไม่ใช่จดหมายขยะ
  • จดหมายขยะ - จำนวนข้อความที่ทำเครื่องหมายว่าเป็นจดหมายขยะ
  • ฟิชชิง - จำนวนข้อความที่ทำเครื่องหมายว่าเป็นฟิชชิง

หากต้องการดูรายงานผู้ใช้ ให้คลิกดูรายงาน สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับรายงาน โปรดดูที่รายงานผู้ใช้

มีการป้อนรหัสผ่านในอุปกรณ์ผิดกี่ครั้ง 

ในรายงานฉบับนี้ ระบบจะรวมเฉพาะข้อมูลของอุปกรณ์เคลื่อนที่ Android ที่อยู่ภายใต้การจัดการขั้นสูงเท่านั้น

การป้อนรหัสผ่านผิดหมายถึงการป้อนรหัสผ่านผิดในอุปกรณ์ 1 เครื่องติดต่อกัน 6 ครั้ง โดยการป้อนรหัสผ่านผิดหลังจากนั้นแต่ละครั้งจะนับเพิ่มไปอีก 1 ครั้ง 

เช่น ความพยายามที่ไม่สำเร็จติดต่อกัน 6 ครั้งจะนับเป็นการป้อนรหัสผ่านผิด 1 ครั้ง ความพยายามที่ไม่สำเร็จติดต่อกัน 7 ครั้งจะนับเป็นการป้อนรหัสผ่านผิด 2 ครั้ง ความพยายามที่ไม่สำเร็จติดต่อกัน 8 ครั้งจะนับเป็นการป้อนรหัสผ่านผิด 3 ครั้ง เป็นต้น

คุณจะดูจำนวนครั้งที่การใส่รหัสผ่านไม่สำเร็จได้จากแผงการใส่รหัสผ่านในอุปกรณ์ไม่สำเร็จ

หากต้องการดูรายงานการใส่รหัสผ่านในอุปกรณ์ไม่สำเร็จ ให้คลิกดูรายงาน รายงานนี้จะแสดงรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับเหตุการณ์เหล่านี้ รวมถึงรหัสของอุปกรณ์และเจ้าของอุปกรณ์ สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับรายงาน โปรดดูการใส่รหัสผ่านในอุปกรณ์ไม่สำเร็จ 

ระบบตรวจพบเหตุการณ์ใดที่ถือว่ามีการบุกรุกอุปกรณ์ 

ในรายงานฉบับนี้ ระบบจะรวมเฉพาะข้อมูลของอุปกรณ์เคลื่อนที่ Android และ iOS ที่อยู่ภายใต้การจัดการขั้นสูงเท่านั้น

ระบบอาจพิจารณาว่าอุปกรณ์ถูกบุกรุกหากตรวจพบกิจกรรมผิดปกติบางอย่าง

  • อุปกรณ์ Android - อุปกรณ์ Android จะถือว่าบุกรุกหากอุปกรณ์ผ่านการรูท หากอุปกรณ์ผ่านการรูท ผู้ใช้อาจแก้ไขโค้ดซอฟต์แวร์ในอุปกรณ์ หรือติดตั้งซอฟต์แวร์ที่ไม่ได้รับอนุญาตตามปกติจากผู้ผลิต
  • อุปกรณ์ iOS - อุปกรณ์ iOS จะถือว่าถูกบุกรุกหากอุปกรณ์ผ่านการเจลเบรก การเจลเบรกอาจทำให้มีการติดตั้งแอปพลิเคชันที่ไม่เป็นทางการ ปรับเปลี่ยนการตั้งค่าที่ก่อนหน้านี้เคยจำกัดไว้ หรือหลบเลี่ยงระบบควบคุมความปลอดภัย 

ดูจำนวนกิจกรรมของอุปกรณ์ที่ถูกบุกรุกในช่วงเวลาที่กำหนดไว้ในแดชบอร์ดด้านความปลอดภัยได้จากแผงกิจกรรมของอุปกรณ์ที่ถูกบุกรุก

หากต้องการดูรายงานกิจกรรมของอุปกรณ์ที่ถูกบุกรุก ให้คลิกดูรายงาน รายงานนี้จะแสดงรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับเหตุการณ์เหล่านี้ รวมถึงรหัสของอุปกรณ์และเจ้าของอุปกรณ์ สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับรายงาน โปรดดูที่กิจกรรมของอุปกรณ์ที่ถูกบุกรุก 

ระบบตรวจพบกิจกรรมใดของอุปกรณ์ที่น่าสงสัย 

ในรายงานฉบับนี้ ระบบจะรวมเฉพาะข้อมูลของอุปกรณ์เคลื่อนที่ Android ที่อยู่ภายใต้การจัดการขั้นสูงเท่านั้น

หากมีการอัปเดตคุณสมบัติอุปกรณ์ในอุปกรณ์เคลื่อนที่ การเปลี่ยนแปลงนี้จะถือว่าเป็นกิจกรรมที่น่าสงสัย คุณสมบัติของอุปกรณ์ ได้แก่ หมายเลขผลิตภัณฑ์ รุ่นอุปกรณ์ ชื่อระบบปฏิบัติการ และอื่นๆ

ดูจำนวนกิจกรรมของอุปกรณ์ที่น่าสงสัยในช่วงเวลาที่กำหนดไว้ในหน้าแดชบอร์ดความปลอดภัยได้จากแผงกิจกรรมของอุปกรณ์ที่น่าสงสัย

หากต้องการดูรายงานกิจกรรมของอุปกรณ์ที่น่าสงสัย ให้คลิกดูรายงาน สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับรายงาน โปรดดูที่กิจกรรมของอุปกรณ์ที่น่าสงสัย

การให้สิทธิ์ขอบเขต OAuth ตามผลิตภัณฑ์เป็นอย่างไร

คุณสามารถใช้ขอบเขต OAuth เพื่ออนุญาตให้แอปส่งคำขอเข้าถึงข้อมูลบางอย่างของผู้ใช้ตามที่กำหนดไว้ได้แบบจำกัด หากระบุขอบเขตของ OAuth ไว้ แอปจะช่วยให้ผู้ใช้ทราบได้ว่าจำเป็นต้องขอสิทธิ์หรือสิทธิ์เข้าถึงรายการใดบ้าง จากนั้นจึงอนุญาตแอปให้เข้าถึงได้เมื่อผู้ใช้ให้สิทธิ์เท่านั้น

คุณจะดูจำนวนการให้สิทธิ์ขอบเขต OAuth ในช่วงระยะเวลาหนึ่งสำหรับรายการต่อไปนี้ได้จากแผงควบคุม

  • Gmail
  • ไดรฟ์
  • ปฏิทิน
  • ผู้ดูแลระบบ Google Workspace
  • Contacts
  • Cloud Identity
  • ผลิตภัณฑ์อื่นๆ ทั้งหมด (เช่น Google+ และ Google Chat)

หากต้องการดูข้อมูลเพิ่มเติม ให้คลิกดูรายงาน สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับรายงาน โปรดดูหัวข้อให้สิทธิ์ขอบเขต OAuth ตามผลิตภัณฑ์

แอปใดมีการเปลี่ยนแปลงกิจกรรมการให้สิทธิ์ OAuth มากที่สุด

OAuth (Open Authorization) เป็นมาตรฐานแบบเปิดรูปแบบหนึ่งที่ให้สิทธิ์แก่บริการของบุคคลที่สามเข้าถึงข้อมูลบัญชีของผู้ใช้ได้โดยไม่เปิดเผยรหัสผ่านของผู้ใช้ให้เห็น

ตรวจสอบกิจกรรมการให้สิทธิ์ OAuth ในองค์กรได้จากแผงกิจกรรมการให้สิทธิ์ OAuth

แอปในแผงกิจกรรมการให้สิทธิ์ OAuth ได้รับการจัดอันดับตามกิจกรรมการให้สิทธิ์ OAuth ที่มีการเปลี่ยนแปลงสูงที่สุดภายในช่วงเวลาที่ระบุแผนภูมินี้จะเปรียบเทียบระยะเวลาที่คุณระบุในหน้าแดชบอร์ดกับระยะเวลาก่อนหน้าในช่วงเวลาเดียวกัน

แผนภูมิจะแสดงข้อมูลต่อไปนี้

  • ชื่อแอป
  • จำนวนการให้สิทธิ์ OAuth นับตั้งแต่ช่วงเวลาครั้งล่าสุด
  • เปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลง (เพิ่มหรือลด) นับตั้งแต่ช่วงเวลาครั้งล่าสุด

หากต้องการดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับกิจกรรมการให้สิทธิ์ OAuth ให้คลิกดูรายงาน สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับรายงาน โปรดดูรายงานกิจกรรมการให้สิทธิ์ OAuth

แอปใหม่ใดที่ได้รับสิทธิ์จากโทเค็น OAuth

ตรวจสอบว่าแอปใหม่ใดที่ได้รับสิทธิ์จากโทเค็น OAuth ได้จากแผงการให้สิทธิ์ OAuth กับแอปใหม่

แผนภูมินี้จะเปรียบเทียบระยะเวลาที่คุณระบุในแดชบอร์ดกับระยะเวลาก่อนหน้าในช่วงเวลาเดียวกัน

แผนภูมิจะแสดงข้อมูลต่อไปนี้

  • ชื่อแอป
  • จำนวนการให้สิทธิ์ OAuth

หากต้องการดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการให้สิทธิ์ OAuth กับแอปใหม่ ให้คลิกดูรายงาน โปรดดูรายละเอียดเกี่ยวกับรายงานนี้ได้ที่รายงานการให้สิทธิ์ OAuth กับแอปใหม่

ข้อความใดมีไฟล์แนบที่น่าสงสัย

คุณจะดูจำนวนข้อความที่มีไฟล์แนบที่น่าสงสัยได้จากแผงนี้ 

หากต้องการดูรายงานไฟล์แนบที่น่าสงสัย ให้คลิกดูรายงาน สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับรายงาน โปรดดูรายงานไฟล์แนบที่น่าสงสัย

ข้อความใดที่มีหลักฐานว่าอาจเป็นการปลอมแปลง

คุณจะดูจำนวนข้อความที่มีหลักฐานว่าอาจมีการปลอมแปลงได้จากแผงการปลอมแปลงข้อความที่มีหลักฐานว่าอาจมีการปลอมแปลง อาจมีผู้พยายามทำฟิชชิง

หากต้องการดูรายงานการปลอมแปลง ให้คลิกดูรายงาน สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับรายงาน โปรดดูรายงานการปลอมแปลง

ข้อความใดมีไฟล์แนบที่น่าสงสัย

คุณจะดูจำนวนข้อความที่มีไฟล์แนบที่น่าสงสัยได้จากแผงนี้ 

หากต้องการดูรายงานไฟล์แนบที่น่าสงสัย ให้คลิกดูรายงาน สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับรายงาน โปรดดูรายงานไฟล์แนบที่น่าสงสัย

ข้อความใดที่มีหลักฐานว่าอาจเป็นการปลอมแปลง

คุณจะดูจำนวนข้อความที่มีหลักฐานว่าอาจมีการปลอมแปลงได้จากแผงการปลอมแปลงข้อความที่มีหลักฐานว่าอาจมีการปลอมแปลง อาจมีผู้พยายามทำฟิชชิง

หากต้องการดูรายงานการปลอมแปลง ให้คลิกดูรายงาน สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับรายงาน โปรดดูรายงานการปลอมแปลง

มีการใช้วิธีพิสูจน์การเข้าสู่ระบบใดบ้าง

คุณสามารถใช้วิธีพิสูจน์การเข้าสู่ระบบได้หลากหลายวิธีในฐานผู้ใช้ของคุณ ข้อมูลในแผนภูมินี้คือวิธีพิสูจน์การเข้าสู่ระบบที่แสดงเป็นเปอร์เซ็นต์การใช้งานในโดเมน

การบังคับใช้คำถามในการเข้าสู่ระบบด้วยการยืนยันแบบ 2 ขั้นตอน (2SV) (หรือที่รู้จักกันในชื่อการตรวจสอบสิทธิ์แบบ 2 ปัจจัย) จะเพิ่มการรักษาความปลอดภัยให้แก่บัญชีของผู้ใช้ ผู้ใช้ที่ได้รับการบังคับให้เข้าสู่ระบบแบบ 2SV จะต้องลงชื่อเข้าใช้ด้วยข้อมูลบางอย่างที่ผู้ใช้ทราบ (รหัสผ่าน) และบางอย่างที่ผู้ใช้มี (เช่น รหัสที่ส่งไปยังโทรศัพท์ของผู้ใช้)

หากต้องการดูรายงานความพยายามในการเข้าสู่ระบบของผู้ใช้ ให้คลิกดูรายงาน สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับรายงาน โปรดดูรายงานความพยายามในการเข้าสู่ระบบของผู้ใช้

มีความพยายามเข้าสู่ระบบของผู้ใช้ที่ล้มเหลวกี่ครั้ง

หากผู้ใช้พยายามเข้าสู่ระบบบัญชีของตนแต่เข้าไม่ได้ ระบบจะถือว่าการเข้าระบบนั้นไม่สำเร็จ แผนภูมินี้ใช้ระบุจำนวนการเข้าสู่ระบบที่ไม่สำเร็จในโดเมนของคุณซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้นหรือน่าสงสัย

หากต้องการดูรายงานความพยายามในการเข้าสู่ระบบของผู้ใช้ ให้คลิกดูรายงาน สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับรายงาน โปรดดูรายงานความพยายามในการเข้าสู่ระบบของผู้ใช้

มีความพยายามเข้าสู่ระบบของผู้ใช้ที่น่าสงสัยกี่ครั้ง

การเข้าสู่ระบบจะเข้าข่ายน่าสงสัยหากมีลักษณะที่ผิดปกติ เช่น ผู้ใช้เข้าสู่ระบบจากที่อยู่ IP ที่ไม่คุ้นเคย 

หากต้องการดูรายงานความพยายามในการเข้าสู่ระบบของผู้ใช้ ให้คลิกดูรายงาน สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับรายงาน โปรดดูรายงานความพยายามในการเข้าสู่ระบบของผู้ใช้

กิจกรรมที่เป็นภัยคุกคามต่อ Chrome เกิดขึ้นกี่ครั้ง

แผนภูมินี้จะแสดงภาพรวมของหมวดหมู่ภัยคุกคามและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง ซึ่งหมวดหมู่ภัยคุกคามได้แก่ การส่งต่อมัลแวร์ การเข้าชมเว็บไซต์ที่ไม่ปลอดภัย และการใช้รหัสผ่านซ้ำ แต่ละหมวดหมู่จะมีผลลัพธ์ที่เป็นไปได้ 4 แบบด้วยกันคือ attempts, prevented, bypassed, และ devices bypassed

หากต้องการดูรายงานข้อมูลสรุปเกี่ยวกับการป้องกันภัยคุกคามของ Chrome ให้คลิกดูรายงาน โปรดดูรายละเอียดเกี่ยวกับรายงานในรายงานข้อมูลสรุปเกี่ยวกับการป้องกันภัยคุกคามของ Chrome

กฎการปกป้องข้อมูลแต่ละข้อมีเหตุการณ์จำนวนเท่าไร

แผนภูมินี้จะแสดงภาพรวมของจำนวนเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับ Chrome สำหรับกฎการปกป้องข้อมูลอันดับต้นๆ

หากต้องการดูรายงานข้อมูลสรุปเกี่ยวกับการปกป้องข้อมูลของ Chrome ให้คลิกดูรายงาน โปรดดูรายละเอียดเกี่ยวกับรายงานในรายงานข้อมูลสรุปเกี่ยวกับการปกป้องข้อมูลของ Chrome

ผู้ใช้ Chrome รายใดที่พบกับภัยคุกคามมากที่สุด

แผนภูมินี้จะแสดงภาพรวมของผู้ใช้ที่พบเหตุการณ์ที่ไม่ปลอดภัยซึ่งเกี่ยวข้องกับ Chrome บ่อยที่สุด ระบบจะจัดอันดับผู้ใช้ตามจำนวนการดำเนินการที่ไม่ปลอดภัยจากหมวดหมู่ภัยคุกคามทั้งหมด

หากต้องการดูรายงานผู้ใช้ Chrome ที่มีความเสี่ยงสูง ให้คลิกดูรายงาน โปรดดูรายละเอียดเกี่ยวกับรายงานในรายงานผู้ใช้ Chrome ที่มีความเสี่ยงสูง

โดเมนใดมีความเสี่ยงต่อผู้ใช้ Chrome มากที่สุด

แผนภูมินี้จะแสดงภาพรวมของโดเมนที่มีความเสี่ยงมากที่สุดสำหรับองค์กร โดยเรียงตามจำนวนการดำเนินการที่ไม่ปลอดภัย

หากต้องการดูรายงานโดเมน Chrome ที่มีความเสี่ยงสูง ให้คลิกดูรายงาน โปรดดูรายละเอียดเกี่ยวกับรายงานในรายงานโดเมน Chrome ที่มีความเสี่ยงสูง

มีไฟล์ที่เข้ารหัสฝั่งไคลเอ็นต์กี่รายการ

แผนภูมินี้แสดงให้เห็นภาพรวมของจํานวนไฟล์ในไดรฟ์ที่เข้ารหัสด้วยการเข้ารหัสฝั่งไคลเอ็นต์ตลอดช่วงที่ผ่านมา โดยแบ่งตามประเภทไฟล์

  • เอกสาร—เอกสารต่างๆ
  • ชีต—สเปรดชีต
  • สไลด์—งานนำเสนอ
  • อื่นๆ - ไฟล์ Microsoft Office, PDF และอื่นๆ

หากต้องการดูข้อมูลไฟล์บางประเภท ให้เลือกหรือยกเลิกการเลือกช่องใต้แผนภูมิ

หากต้องการดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับไฟล์ที่เข้ารหัสด้วย CSE และส่งออกข้อมูล ให้คลิกดูรายงาน โปรดดูรายละเอียดเกี่ยวกับรายงานดังกล่าวที่หัวข้อรายงานการเข้ารหัสและถอดรหัสฝั่งไคลเอ็นต์

มีไฟล์ที่เข้ารหัสฝั่งไคลเอ็นต์กี่รายการที่ได้รับการดาวน์โหลดและถอดรหัส

แผนภูมินี้แสดงภาพรวมของจํานวนไฟล์ที่เข้ารหัสฝั่งไคลเอ็นต์ในไดรฟ์ที่ผู้ใช้ดาวน์โหลดและถอดรหัสตลอดช่วงที่ผ่านมา โดยแบ่งตามประเภทไฟล์

  • เอกสาร—เอกสารต่างๆ
  • ชีต—สเปรดชีต
  • สไลด์—งานนำเสนอ
  • อื่นๆ - ไฟล์ Microsoft Office, PDF และอื่นๆ

หากต้องการดูข้อมูลไฟล์บางประเภท ให้เลือกหรือยกเลิกการเลือกช่องใต้แผนภูมิ

หากต้องการดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับไฟล์ที่ถอดรหัสและส่งออกข้อมูล ให้คลิกดูรายงาน โปรดดูรายละเอียดเกี่ยวกับรายงานดังกล่าวที่หัวข้อรายงานการเข้ารหัสและถอดรหัสฝั่งไคลเอ็นต์

หัวข้อที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลนี้มีประโยชน์ไหม

เราจะปรับปรุงได้อย่างไร
true
เริ่มต้นการทดลองใช้งานฟรี 14 วันได้เลย

อีเมลระดับมืออาชีพ พื้นที่เก็บข้อมูลออนไลน์ การแชร์ปฏิทิน การประชุมวิดีโอ และอื่นๆ เริ่มต้นการทดลองใช้งาน G Suite ฟรีวันนี้

ค้นหา
ล้างการค้นหา
ปิดการค้นหา
เมนูหลัก
4288270599976440300
true
ค้นหาศูนย์ช่วยเหลือ
true
true
true
true
true
73010
false
false