ภาพรวมประสบการณ์ของผู้ใช้การเข้ารหัสฝั่งไคลเอ็นต์

รุ่นที่รองรับฟีเจอร์นี้ได้แก่ Enterprise Plus และ Education Standard และ Education Plus  เปรียบเทียบรุ่นของคุณ

หลังจากตั้งค่าการเข้ารหัสฝั่งไคลเอ็นต์ (CSE) ของ Google Workspace ให้กับองค์กรแล้ว ผู้ใช้ที่คุณเปิด CSE ให้จะสามารถเข้ารหัสเนื้อหาในบริการต่อไปนี้ได้ หากผู้ใช้เปิดการเข้ารหัสฝั่งไคลเอ็นต์ในบริการของ Google เช่น ไดรฟ์หรือ Gmail ผู้ใช้จะใช้บริการได้ตามปกติ แต่จะใช้บางฟีเจอร์ไม่ได้  

Google ไดรฟ์

ผู้ใช้สามารถสร้างเอกสารที่เข้ารหัสฝั่งไคลเอ็นต์โดยใช้เครื่องมือแก้ไข Google เอกสาร (เช่น เอกสารและสเปรดชีต) หรือเข้ารหัสไฟล์ที่อัปโหลดไปยังไดรฟ์ เช่น PDF ก็ได้ โดยมีเพียงผู้ใช้ที่มีการแชร์ไฟล์ที่เข้ารหัสด้วยเท่านั้นที่สามารถดูไฟล์ดังกล่าวได้

วิธีที่ผู้ใช้จะสามารถสร้างและอัปโหลดไฟล์ที่เข้ารหัสได้

ผู้ใช้สามารถเลือกตัวเลือกเพื่อสร้างเอกสาร สเปรดชีต หรืองานนำเสนอที่เข้ารหัสใหม่ได้จากไดรฟ์หรือเครื่องมือแก้ไขเอกสาร นอกจากนี้ยังเลือกตัวเลือกในการเข้ารหัสและอัปโหลดไฟล์จากไดรฟ์ได้ด้วย

ประสบการณ์การใช้งานไดรฟ์สำหรับเดสก์ท็อป

ไดรฟ์สำหรับเดสก์ท็อปจะแสดงไฟล์ที่เข้ารหัสซึ่งได้ซิงค์ไว้เป็นทางลัดใน Windows และลิงก์สัญลักษณ์บน Mac โดยเมื่อผู้ใช้คลิกทางลัดหรือคลิกลิงก์ไปยังไฟล์เอกสาร ชีต หรือสไลด์ที่เข้ารหัส หน้าต่างเบราว์เซอร์ใหม่จะเปิดขึ้น

ผู้ใช้ยังดำเนินการต่อไปนี้ได้

  • เข้ารหัสและอัปโหลดไฟล์หรือโฟลเดอร์ในเครื่อง 
  • อ่านและแก้ไขไฟล์ที่เข้ารหัสบางประเภท เช่น ไฟล์ PDF และ Microsoft Office

สำคัญ: หากผู้ใช้ดาวน์โหลดและถอดรหัสไฟล์ CSE ในโฟลเดอร์ในเครื่องที่ซิงค์กับไดรฟ์ ระบบจะจัดเก็บไฟล์เป็นข้อความธรรมดาในไดรฟ์

หลีกเลี่ยงการเก็บข้อมูลที่ละเอียดอ่อนซึ่งมีการถอดรหัสในไดรฟ์: แจ้งผู้ใช้ไดรฟ์สําหรับเดสก์ท็อปให้ทราบว่าควรหลีกเลี่ยงการเก็บไฟล์ที่ถอดรหัสไว้ในโฟลเดอร์เครื่องที่ซิงค์กับไดรฟ์ หากมีการเลือกตัวเลือกดาวน์โหลดและถอดรหัสในไดรฟ์

ประสบการณ์การใช้งานไดรฟ์ใน Android และ iOS

ผู้ใช้สามารถดูตัวอย่างหรือดาวน์โหลดไฟล์ที่เข้ารหัสฝั่งไคลเอ็นต์ในไดรฟ์โดยใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่ได้ ซึ่งประกอบด้วยไฟล์ Microsoft Office (iOS เท่านั้น) และไฟล์ PDF ทั้งนี้ระบบยังไม่รองรับ Google เอกสาร ชีต และสไลด์

หมายเหตุ: หากต้องการดูตัวอย่างหรือดูไฟล์ที่เข้ารหัสฝั่งไคลเอ็นต์ ผู้ใช้จะต้องใช้โปรแกรมอ่านที่เข้ากันได้ในอุปกรณ์

หลีกเลี่ยงการเก็บข้อมูลที่ละเอียดอ่อนซึ่งมีการถอดรหัสในไดรฟ์: แจ้งผู้ใช้ไดรฟ์ในอุปกรณ์เคลื่อนที่ให้ทราบว่าควรหลีกเลี่ยงการเก็บไฟล์ที่ถอดรหัสไว้ในตำแหน่งต่างๆ บนอุปกรณ์ที่ซิงค์กับไดรฟ์ หากมีการเลือกตัวเลือกดาวน์โหลดและถอดรหัสในไดรฟ์

ดูรายละเอียดเกี่ยวกับฟีเจอร์และข้อจำกัดของ CSE สำหรับไดรฟ์

ฟีเจอร์บางรายการของไดรฟ์จะใช้ไม่ได้กับไฟล์ที่เข้ารหัสฝั่งไคลเอ็นต์ หากต้องการดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับฟีเจอร์และข้อจำกัดของ CSE สำหรับไดรฟ์ โปรดไปที่แหล่งข้อมูลต่อไปนี้

Gmail

ผู้ใช้สามารถส่งและรับอีเมลที่เข้ารหัสฝั่งไคลเอ็นต์ภายในหรือภายนอกองค์กรได้

วิธีที่ผู้ใช้จะสามารถส่งอีเมลที่เข้ารหัสได้

หากต้องการส่งอีเมลที่เข้ารหัสฝั่งไคลเอ็นต์ภายในองค์กร ผู้ใช้จะต้องเปิดตัวเลือกการเข้ารหัสเพิ่มเติมในหน้าต่างข้อความ

หากต้องการส่งอีเมลที่เข้ารหัสฝั่งไคลเอ็นต์ภายนอกองค์กร ผู้ใช้จะต้องส่งข้อความถึงผู้รับด้วยลายเซ็นดิจิทัลโดยไม่เปิดใช้ CSE ต่อมาผู้รับต้องตอบข้อความดังกล่าวด้วยลายเซ็นดิจิทัลของตนเอง จากนั้นผู้ส่งจะเลือกเพิ่ม CSE ลงในอีเมลที่ส่งถึงผู้รับภายนอกได้

วิธีที่ผู้ใช้จะสามารถอ่านอีเมลที่เข้ารหัสได้

เมื่อผู้ใช้ได้รับข้อความที่เข้ารหัสฝั่งไคลเอ็นต์ ผู้ใช้จะเห็น "ข้อความที่เข้ารหัส" ใต้ชื่อผู้ส่ง หากต้องการอ่านข้อความ ผู้ใช้อาจได้รับแจ้งให้ลงชื่อเข้าใช้ระบบผู้ให้บริการข้อมูลประจำตัว (IdP) เมื่อผู้ใช้ลงชื่อเข้าใช้ IdP แล้ว ระบบจะถอดรหัสข้อความโดยอัตโนมัติในหน้าต่างเบราว์เซอร์ Gmail

ดูรายละเอียดเกี่ยวกับฟีเจอร์และข้อจำกัดของ CSE สำหรับ Gmail

โปรดทราบว่า

  • ฟีเจอร์บางรายการของ Gmail จะใช้ไม่ได้กับอีเมลที่เข้ารหัสฝั่งไคลเอ็นต์
  • การมอบสิทธิ์อีเมล (กล่องจดหมายที่แชร์) ไม่พร้อมใช้งานกับ CSE ของ Gmail
  • CSE จะบล็อกไฟล์บางประเภทเมื่อแนบไปกับอีเมลที่เข้ารหัส

โปรดดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับฟีเจอร์และข้อจำกัดของ CSE สำหรับ Gmail ที่หัวข้อดูข้อมูลเกี่ยวกับการเข้ารหัสฝั่งไคลเอ็นต์ของ Gmail

Google ปฏิทิน

ผู้ใช้สามารถสร้างกิจกรรมที่มีคำอธิบายที่เข้ารหัสฝั่งไคลเอ็นต์ได้ หากคุณเปิดใช้ CSE สำหรับ Google ไดรฟ์และ Google Meet ให้ ผู้ใช้จะแนบเอกสารที่เข้ารหัสฝั่งไคลเอ็นต์ไปกับกิจกรรมและเพิ่มการประชุมออนไลน์ที่เข้ารหัสฝั่งไคลเอ็นต์ได้ 

หมายเหตุ:

  • ผู้ใช้จะเข้ารหัสได้เฉพาะกิจกรรมปกติเท่านั้น ส่วนกิจกรรมประเภทอื่นๆ เช่น เวลาที่ต้องการสมาธิหรือช่วงเวลาที่สะดวกสำหรับนัดหมายจะใช้ CSE ไม่ได้
  • หากต้องการดูคำอธิบายกิจกรรมที่เข้ารหัสฝั่งไคลเอ็นต์ ผู้ใช้ต้องใช้ Google ปฏิทิน 

วิธีที่ผู้ใช้จะสามารถสร้างและดูกิจกรรมที่เข้ารหัสได้

หากต้องการสร้างกิจกรรมที่เข้ารหัสฝั่งไคลเอ็นต์ ผู้ใช้ต้องเลือกตัวเลือกเพื่อเปิดการเข้ารหัสในหน้าต่างกิจกรรม ระบบอาจแจ้งให้ผู้ใช้ลงชื่อเข้าใช้ระบบผู้ให้บริการข้อมูลประจำตัว (IdP)

หากต้องการดูกิจกรรมที่เข้ารหัสฝั่งไคลเอ็นต์ ผู้ใช้เพียงต้องเปิดกิจกรรมที่เข้ารหัสฝั่งไคลเอ็นต์ในปฏิทิน ระบบอาจแจ้งให้ผู้ใช้ลงชื่อเข้าใช้ระบบผู้ให้บริการข้อมูลประจำตัว (IdP)

ดูรายละเอียดเกี่ยวกับฟีเจอร์และข้อจำกัดของ CSE สำหรับปฏิทิน

ฟีเจอร์บางอย่างของปฏิทินใช้ไม่ได้กับกิจกรรมที่เข้ารหัสฝั่งไคลเอ็นต์ โปรดดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับฟีเจอร์และข้อจำกัดของ CSE สำหรับปฏิทินที่หัวข้อดูข้อมูลเกี่ยวกับการเข้ารหัสฝั่งไคลเอ็นต์ในปฏิทิน

Google Meet

ผู้ใช้สามารถจัดการประชุมที่เข้ารหัสฝั่งไคลเอ็นต์ได้เมื่อกำหนดเวลาการประชุมใน Google ปฏิทิน หรือเมื่อเริ่มการประชุมแบบทันที (ไม่ได้กำหนดเวลา) 

วิธีที่ผู้ใช้จะสามารถกำหนดเวลาและเข้าร่วมการประชุมที่เข้ารหัสได้

หากต้องการกำหนดเวลาการประชุมที่เข้ารหัสฝั่งไคลเอ็นต์ในปฏิทิน ผู้ใช้ต้องเลือกตัวเลือกเพื่อเปิดการเข้ารหัสในหน้าต่างกิจกรรม ระบบอาจแจ้งให้ผู้ใช้ลงชื่อเข้าใช้ระบบผู้ให้บริการข้อมูลประจำตัว (IdP)

เมื่อเริ่มการประชุมที่เข้ารหัสฝั่งไคลเอ็นต์แบบทันที ผู้ใช้ต้องเลือกตัวเลือกเพื่อเพิ่มการเข้ารหัสจากตัวเลือกความปลอดภัย

วิธีที่ผู้ใช้จะสามารถเข้าร่วมการประชุมที่เข้ารหัสได้

เนื่องจากข้อกำหนดด้านการตรวจสอบสิทธิ์ ผู้เข้าร่วมทุกคนต้องได้รับเชิญเข้าร่วมการประชุมที่เข้ารหัสฝั่งไคลเอ็นต์ หากต้องการเข้าร่วมการประชุมที่เข้ารหัส ผู้ใช้ภายในหรือภายนอกจะต้องเปิดกิจกรรมใน Google ปฏิทิน หากได้รับแจ้งให้ยืนยันตัวตน ผู้ใช้จะต้องลงชื่อเข้าใช้ระบบผู้ให้บริการข้อมูลประจำตัวและป้อนข้อมูลเข้าสู่ระบบ

ดูรายละเอียดเกี่ยวกับฟีเจอร์และข้อจำกัดของ CSE สำหรับ Meet

ฟีเจอร์บางอย่างของ Meet จะใช้งานกับการประชุมที่เข้ารหัสฝั่งไคลเอ็นต์ไม่ได้ หากต้องการดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับฟีเจอร์และข้อจำกัดของ CSE สำหรับ Meet โปรดไปที่หัวข้อดูข้อมูลเกี่ยวกับการเข้ารหัสฝั่งไคลเอ็นต์ (CSE) ของ Meet

ข้อมูลนี้มีประโยชน์ไหม

เราจะปรับปรุงได้อย่างไร
true
เริ่มต้นการทดลองใช้งานฟรี 14 วันได้เลย

อีเมลระดับมืออาชีพ พื้นที่เก็บข้อมูลออนไลน์ การแชร์ปฏิทิน การประชุมวิดีโอ และอื่นๆ เริ่มต้นการทดลองใช้งาน G Suite ฟรีวันนี้

ค้นหา
ล้างการค้นหา
ปิดการค้นหา
เมนูหลัก
11629723017892387562
true
ค้นหาศูนย์ช่วยเหลือ
true
true
true
true
true
73010
false
false