ป้ายกำกับแต่ละป้ายหมายถึงอะไร

ป้ายกำกับเป็นคำที่กำหนดไว้ล่วงหน้าสำหรับใช้อธิบายส่วนต่างๆ ในเว็บไซต์ข่าวและใช้เป็นตัวช่วยในการจัดหมวดหมู่เนื้อหาใน Google เราหวังจะให้ผู้ใช้มีทางเลือกที่หลากหลายในการเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการแม้ว่าการสร้างเนื้อหาทั่วโลกจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วก็ตาม

บางครั้งการติดป้ายกำกับนั้นมาจากการเลือกแท็กที่เหมาะสมของผู้เผยแพร่เนื้อหาในศูนย์ผู้เผยแพร่เนื้อหา หรือจากการใช้แท็กในมาร์กอัป HTML Google อาจเลือกใช้หรือเลือกไม่ใช้ป้ายกำกับตามกลไกอัลกอริทึมหากระบบพบว่าเนื้อหาของคุณมีคุณสมบัติตรงตามประเภทป้ายกำกับเฉพาะ

สำคัญ: หากคุณคิดว่าป้ายกำกับใดใช้ไม่ได้กับเว็บไซต์ โปรดติดต่อทีม Google News เราเพิ่มป้ายกำกับใหม่อยู่เรื่อยๆ เพื่อช่วยให้ผู้ใช้เข้าใจและเลือกเนื้อหาที่ตนต้องการอ่านได้ ป้ายกำกับที่ไม่อยู่ในบทความนี้จะมีการนำไปใช้ตามกลไกอัลกอริทึม

ควรใช้ป้ายกำกับเมื่อใด

เมื่อคุณดูข้อมูลสื่อเผยแพร่ของคุณที่เราบันทึกไว้ในศูนย์ผู้เผยแพร่เนื้อหา ให้เลือกป้ายกำกับทั้งหมดที่ตรงกับเนื้อหาในเว็บไซต์หรือบางส่วนของเว็บไซต์

คุณใช้ป้ายกำกับได้หลายวิธีดังนี้

  • เพิ่มป้ายกำกับระดับโดเมนหากใช้ได้กับเนื้อหาทั้งหมดที่คุณเผยแพร่ ตัวอย่างเช่น theonion.com จะติดป้ายกำกับทั้งโดเมนว่าเป็นการล้อเลียน
  • หากต้องการแสดงถึงหัวข้อ "ความเห็น" หรือ "การล้อเลียน" ให้ใช้ป้ายกำกับที่ระดับหัวข้อ ตัวอย่างเช่น pennlive.com/opinion จะติดป้ายกำกับเฉพาะหัวข้อนั้นใน pennlive.com ว่าเป็นความเห็น
  • หากต้องการเพิ่มป้ายกำกับหลายป้ายในหัวข้อเดียว ให้เพิ่มหัวข้อนั้นหลายครั้ง

ประเภทของป้ายกำกับ

สําคัญ: ป้ายกํากับเหล่านี้เป็นคําแนะนําที่จะช่วยให้ Google จัดประเภทเนื้อหาได้ดียิ่งขึ้น หากอัลกอริทึมเห็นว่าไม่เกี่ยวข้อง ระบบอาจไม่แสดงเนื้อหานั้นในหน้าข่าวสาร

ด้านล่างนี้คือตัวอย่างป้ายกำกับประเภทต่างๆ

ความเห็น
ผู้เผยแพร่เนื้อหาที่ระบุโดเมนหรือ URL ของหัวข้อในเว็บไซต์ว่าเป็นความเห็นอาจมีป้ายกำกับ "ความเห็น" แสดงขึ้นมาถัดจากชื่อของสื่อเผยแพร่ใน Google News ใช้ป้ายกำกับนี้ที่ระดับโดเมนหากเนื้อหาทั้งหมดเป็นความเห็น นอกจากนี้ คุณยังใช้ป้ายกำกับนี้กับ URL หัวข้อเฉพาะของเว็บไซต์ได้ด้วย
การล้อเลียน

ผู้เผยแพร่เนื้อหาที่ระบุว่าเป็นการล้อเลียนอาจมีป้ายกำกับ "การล้อเลียน" แสดงขึ้นมาถัดจากชื่อของสื่อเผยแพร่ใน Google News ใช้ป้ายกำกับนี้ที่ระดับโดเมนที่คุณเผยแพร่เนื้อหาเกี่ยวกับการล้อเลียนเป็นหลัก นอกจากนี้ คุณยังใช้ป้ายกำกับนี้กับ URL หัวข้อเฉพาะของเว็บไซต์ได้ด้วย

สร้างโดยผู้ใช้

ผู้เผยแพร่เนื้อหาที่ระบุตนเองด้วยป้ายกำกับนี้อาจมีป้ายกำกับ "สร้างโดยผู้ใช้" แสดงขึ้นมาถัดจากชื่อสื่อเผยแพร่ของตนใน Google News ใช้ป้ายกำกับนี้กับสื่อเผยแพร่หากโดยส่วนใหญ่แล้วคุณเผยแพร่เนื้อหาที่ผู้ใช้สร้างขึ้นซึ่งเหมาะที่จะรายงานเป็นข่าว และได้ผ่านกระบวนการตรวจสอบอย่างเป็นทางการจากบรรณาธิการในเว็บไซต์ของคุณแล้ว นอกจากนี้ คุณยังใช้ป้ายกำกับนี้กับ URL หัวข้อเฉพาะของเว็บไซต์ได้ด้วย

ข่าวประชาสัมพันธ์

ผู้เผยแพร่เนื้อหาที่ระบุตนเองด้วยป้ายกำกับนี้อาจมีป้ายกำกับ "ข่าวประชาสัมพันธ์" แสดงขึ้นมาถัดจากชื่อของสื่อเผยแพร่ใน Google News หากคุณเผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์เป็นหลักในเว็บไซต์หรือภายในโดเมน (เช่น www.kodak.com/lk/en/corp/press_center) ให้ใช้ป้ายกำกับนี้กับโดเมนของคุณ นอกจากนี้ คุณยังใช้ป้ายกำกับนี้กับ URL หัวข้อเฉพาะของเว็บไซต์ได้ด้วย

บล็อก

ผู้เผยแพร่เนื้อหาที่ระบุว่าตนเป็นบล็อกอาจมีป้ายกำกับ "บล็อก" แสดงขึ้นมาถัดจากชื่อของสื่อเผยแพร่ใน Google News หากคุณเผยแพร่บล็อกที่น่าสนใจพอที่จะเป็นข่าวได้เป็นหลัก ให้ใช้ป้ายกำกับนี้กับโดเมนของคุณ นอกจากนี้ คุณยังใช้ป้ายกำกับนี้กับ URL ของหัวข้อเฉพาะในเว็บไซต์ได้ด้วย

เพิ่มและจัดการป้ายกำกับ

คุณเชื่อมโยงป้ายกำกับเหล่านี้กับป้ายกำกับเนื้อหาได้ทั้งที่ระดับโดเมนหรือระดับหัวข้อ เพื่อช่วยให้ Google ระบุประเภทเนื้อหาที่คุณสร้างได้ ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีจัดการป้ายกำกับเนื้อหา

คุณนำป้ายกำกับออกจากป้ายกำกับเนื้อหาไม่ได้ หากต้องการนำป้ายกำกับออก คุณต้องลบป้ายกำกับเนื้อหาที่เชื่อมโยงกับป้ายกำกับนั้น ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีลบป้ายกํากับเนื้อหา

ตรวจสอบข้อเท็จจริง

ป้ายกำกับนี้ใช้กับเรื่องราวที่เผยแพร่ซึ่งมีเนื้อหาที่ได้รับการตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว และมีการระบุโดยมาร์กอัป schema.org ClaimReview เช่น เรื่องราวแบบสรุปที่มีการวิเคราะห์การตรวจสอบข้อเท็จจริงหลายรายการในบทความเดียว Google News อาจใช้ป้ายกำกับนี้กับเนื้อหาหากคุณเผยแพร่เรื่องราวซึ่งมีเนื้อหาที่ได้รับการตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว ป้ายกำกับ "ตรวจสอบข้อเท็จจริง" จะช่วยให้ผู้ใช้พบเนื้อหาตรวจสอบข้อเท็จจริงในเรื่องราวจำนวนมาก

หากต้องการดูว่าคุณควรใช้แท็กนี้ในบทความหรือไม่ ให้ใช้เกณฑ์การตรวจสอบข้อเท็จจริงต่อไปนี้

  • สามารถระบุการกล่าวอ้างและการตรวจสอบที่ชัดเจนและมีที่มาที่ไปได้โดยง่ายในส่วนเนื้อหาของบทความ ผู้อ่านต้องเข้าใจได้ว่ามีการตรวจสอบสิ่งใดและข้อสรุปจากการตรวจสอบคืออะไร
  • การวิเคราะห์จะต้องตรวจสอบย้อนกลับได้ พร้อมเปิดเผยแหล่งที่มาและวิธีการวิเคราะห์ ตลอดจนมีการอ้างอิงไปยังแหล่งที่มาหลัก
  • ชื่อบทความจะต้องระบุว่าการกล่าวอ้างอยู่ระหว่างการตรวจสอบ บอกข้อสรุปที่ได้ หรือเพียงวางกรอบว่าบทความมีเนื้อหาที่ได้รับการตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว
  • เว็บไซต์ที่มีเนื้อหาที่ได้รับการตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้วต้องมีมาร์กอัปบทความตรวจสอบข้อเท็จจริงหลายรายการ

หากเราพบเว็บไซต์ที่ไม่มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์สำหรับมาร์กอัป ClaimReview เราอาจไม่สนใจมาร์กอัปของเว็บไซต์ดังกล่าวหรือนำเว็บไซต์ออกจาก Google News ก็ได้

หากต้องการดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีใช้มาร์กอัปนี้ โปรดไปที่หน้าตรวจสอบข้อเท็จจริงของ Google Developers

ค้นหา
ล้างการค้นหา
ปิดการค้นหา
เมนูหลัก
6244222391881718061
true
ค้นหาศูนย์ช่วยเหลือ
true
true
true
true
true
100499
false
false