การแจ้งเตือน

วิธีการเหล่านี้มีไว้สำหรับ Google Earth เวอร์ชันเก่า รับความช่วยเหลือเกี่ยวกับ Google Earth ใหม่

นำเข้าและเปลี่ยนข้อมูลแผนที่

ฟีเจอร์เหล่านี้ใช้ได้เฉพาะใน Google Earth Pro เท่านั้น

นำเข้าที่อยู่

หากต้องการดูสถานที่หลายแห่งทั่วโลก คุณนำเข้าที่อยู่มายัง Google Earth Pro ได้ และระบบจะแปลงที่อยู่แต่ละแห่งที่นำเข้าเป็นหมุดใน Earth

หลักเกณฑ์การนำเข้าที่อยู่
  • คุณสามารถนำเข้าได้เฉพาะที่อยู่ในสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร แคนาดา ฝรั่งเศส อิตาลี เยอรมนี และสเปน
  • คุณไม่สามารถใช้ที่อยู่ที่เป็นตู้ไปรษณีย์
  • ช่องที่อยู่ช่องเดียว: คุณระบุถนน เมือง รัฐ ประเทศ และรหัสไปรษณีย์ในช่องเดียวกันได้
  • ช่องที่อยู่หลายช่อง: นอกจากนี้คุณยังระบุถนน เมือง รัฐ ประเทศ และรหัสไปรษณีย์ไว้ในหลายๆ ช่องได้ด้วย
  • ค่าเริ่มต้นของที่อยู่บางส่วน: หากบางจุดมีที่อยู่เพียงบางส่วน คุณใช้วิซาร์ดการนำเข้าข้อมูลเพื่อกำหนดค่าเริ่มต้นของช่องที่ไม่มีข้อมูลได้ เช่น รัฐ หรือรหัสไปรษณีย์
นำเข้าข้อมูลที่อยู่จากไฟล์ CSV

หากต้องการฝึกนำเข้าข้อมูล คุณสามารถดาวน์โหลดไฟล์ CSV ตัวอย่างเพื่อนำมาใช้กับขั้นตอนต่อไปนี้ หรือทำตามขั้นตอนด้วยไฟล์ CSV ของคุณเอง

  1. เปิด Google Earth จากนั้นคลิกไฟล์ จากนั้น นำเข้า
  2. เรียกดูตำแหน่งของไฟล์ตัวอย่างและเลือกไฟล์นั้น จากนั้นคลิกเปิด วิซาร์ดการนำเข้าข้อมูลจะปรากฏ
  3. เลือกตัวเลือกต่อไปนี้
    • "ประเภทช่อง" คั่น
    • "คั่น" จุลภาค
  4. ใช้หน้าต่างแสดงตัวอย่างเพื่อตรวจสอบให้แน่ใจว่าข้อมูลที่คุณนำเข้านั้นถูกต้อง
  5. คลิกถัดไป ทำเครื่องหมายที่ช่องถัดจาก "ชุดข้อมูลนี้ไม่มีข้อมูลละติจูด/ลองจิจูด"
  6. คลิกถัดไป เลือก "ที่อยู่แยกย่อยเป็นช่องหลายช่อง"
  7. ใน "เลือกช่องที่อยู่" ให้ตรวจสอบชื่อที่กำหนดให้กับแต่ละช่อง
  8. คลิกถัดไป ตรวจสอบรายการช่องและประเภทของข้อมูลที่เลือกสำหรับแต่ละช่อง จากนั้นคลิกกลับ
  9. คลิกเสร็จ Google Earth จะเริ่มต้นเข้ารหัสภูมิศาสตร์ให้กับข้อมูลของคุณ
  10. หากต้องการใช้แม่แบบลักษณะ ให้คลิกใช่ในกล่องโต้ตอบ
  11. คลิกตกลง แล้วกล่องโต้ตอบ "บันทึกแม่แบบ" จะปรากฏขึ้น บันทึกแม่แบบเป็นไฟล์ (.kst) ซึ่งคุณสามารถใช้เมื่อนำเข้าและจัดรูปแบบข้อมูลในอนาคต

Google Earth จะแสดงข้อมูลที่อยู่ของคุณเป็นไอคอนในมุมมอง 3 มิติ และคุณสามารถแก้ไขคุณสมบัติของหมุดเหล่านี้ได้เช่นเดียวกับหมุดอื่นๆ

แก้ไขข้อผิดพลาดในการนำเข้า
  • ในหน้าต่างแสดงตัวอย่าง หากข้อมูลของเมืองและรัฐอยู่ในคอลัมน์ที่ไม่ถูกต้อง อาจเกิดจากที่อยู่บางส่วนในไฟล์มีที่อยู่ที่สอง ("ที่อยู่ 2") ในขณะที่บางที่อยู่ไม่มี ให้ยกเลิกการเลือกช่อง "ถือว่าตัวคั่นติดกันเป็นค่าเดียว" เพื่อแก้ไขปัญหานี้
  • หากคุณพบข้อผิดพลาด เนื่องจาก Google Earth ไม่สามารถเข้ารหัสภูมิศาสตร์ที่อยู่ใดที่อยู่หนึ่ง ให้แก้ไขข้อมูลนั้นหรือเปลี่ยนการตั้งค่าการนำเข้าใน Google Earth
  • ข้อมูลที่นำเข้าอยู่ในโฟลเดอร์ "สถานที่ชั่วคราว" ในแผงควบคุม "สถานที่" หากต้องการบันทึกข้อมูลที่นำเข้า ก่อนที่คุณจะออกจาก Google Earth ให้ลากข้อมูลนี้ออกจากโฟลเดอร์นี้ แล้วเลือกไฟล์ จากนั้น บันทึก จากนั้น บันทึกสถานที่ของฉัน

นำเข้าภาพ

คุณสามารถเปิดไฟล์ภาพ GIS เพื่อฉายภาพที่มีข้อมูลการแสดงผลฝังไว้เหนือพิกัดใดพิกัดหนึ่งบนแผนที่ในมุมมอง 3 มิติได้ อย่างไรก็ตาม Google Earth ไม่รองรับไฟล์ที่ใช้ข้อมูลการฉายภาพแบบ NAD83

  • TIFF (.tif) รวมทั้ง GeoTiff และไฟล์ TIFF แบบบีบอัด
  • National Imagery Transmission Format (.ntf)
  • Erdas Imagine Images (.img)

ไฟล์ภาพอื่นๆ

นอกจากนี้ คุณยังสามารถนำเข้าภาพได้หากคุณแก้ไขพิกัดของภาพเหล่านั้นด้วยตัวเองเพื่อให้มีการวางตำแหน่งอย่างถูกต้อง หากไฟล์ภาพไม่มีข้อมูลการฉายภาพที่ถูกต้อง การฉายภาพนั้นจะไม่ถูกต้องแม่นยำ

  • Portable Network Graphic (.png)
  • Joint Photographic Expert (.jpg)
  • Atlantis MFF Raster (.hdr)
  • ไฟล์ฐานข้อมูล PCIDSK (.pix)
  • Portable Pixmap Format (.pnm)
  • Bitmap ที่ไม่ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ (.bmp)
เปิดภาพ GIS

คุณสามารถเปิดภาพ GIS ใน Google Earth เพื่อดูภาพเหล่านั้นเหนือภาพแผนที่ได้

  1. เปิด Google Earth
  2. คลิกไฟล์ จากนั้น เปิด จากนั้นเลือกไฟล์ที่ต้องการนำเข้าแล้วหน้าต่างแก้ไขภาพซ้อนทับจะปรากฏขึ้น
  3. ตั้งตำแหน่งของภาพซ้อนทับใหม่ในโฟลเดอร์ใดก็ได้ในแผงควบคุม "สถานที่"
  4. เลือกคุณสมบัติให้กับภาพ GIS ดังนี้
  • ระบบจะบันทึกภาพที่ฉายอีกครั้งเป็นภาพซ้อนทับ ภาพจะถูกบันทึกไว้ภายใต้ไดเรกทอรี Google Earth บนฮาร์ดไดรฟ์ของคุณ ชื่อของไฟล์ PNG ได้จากชื่อไฟล์ต้นฉบับ และพารามิเตอร์การปรับสัดส่วนหรือการครอบตัดภาพที่ได้เลือกไว้เมื่อนำเข้าภาพซ้อนทับ (ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปรับสัดส่วนหรือการครอบตัดภาพที่ด้านล่าง)
  • สำหรับไฟล์ภาพที่มีขนาดใหญ่ การฉายภาพอาจใช้เวลาสักครู่หนึ่ง ถ้าคุณได้ครอบตัดหรือปรับสัดส่วนภาพ หรือถ้าคุณกำลังแสดงเส้นโครงอีกครั้ง โดยใช้หน่วยความจำพื้นผิวที่มากขึ้น คุณจะเห็นตัววัดความคืบหน้าขณะที่มีการแสดงเส้นโครงอีกครั้ง คุณสามารถยกเลิกขั้นตอนการทำงานเมื่อใดก็ได้
  • ภาพที่ไม่มีข้อมูลการฉายภาพจะถือว่าเป็นไฟล์ภาพซ้อนทับธรรมดา คุณสามารถวางตำแหน่งภาพด้วยตัวเองได้เหมือนที่คุณทำกับภาพซ้อนทับ
  • ระบบจะไม่นำเข้าภาพที่มีข้อมูลการฉายภาพไม่ถูกต้องหรือไม่รองรับ โดยจะมีกล่องโต้ตอบระบุว่าไม่สามารถฉายภาพได้ และจะไม่มีการนำเข้าภาพนั้น
บันทึกภาพ GIS

หลังจากที่คุณนำเข้าข้อมูลภาพแล้ว คุณสามารถบันทึกการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับเนื้อหาในข้อมูล GIS ที่นำเข้าได้

ย้ายภาพที่นำเข้าไปอยู่ในโฟลเดอร์ "สถานที่ของฉัน" หากคุณวางภาพซ้อนทับไว้ในโฟลเดอร์ "สถานที่ของฉัน" แล้ว การเปลี่ยนแปลงใดๆ ก็ตามที่เกิดขึ้นกับภาพซ้อนทับนั้นจะได้รับการบันทึกไว้โดยอัตโนมัติ และสามารถดูได้เมื่อคุณเปิด Google Earth

บันทึกภาพซ้อนทับเป็นไฟล์ KMZ หากคุณต้องการลบภาพที่นำเข้าออกจากโฟลเดอร์ "สถานที่ของฉัน" ให้ทำดังนี้

  1. คลิกขวาที่รายการนั้น แล้วเลือกบันทึกเป็นจากเมนูป๊อปอัป
  2. จากนั้นบันทึกภาพซ้อนทับ GIS เป็นไฟล์ KMZ เก็บไว้ในฮาร์ดไดรฟ์ของคอมพิวเตอร์หรือตำแหน่งอื่นๆ ที่เข้าถึงได้
  3. ลบภาพซ้อนทับนั้นจากรายการ "สถานที่ของฉัน" แล้วเปิดภาพซ้อนทับนั้นเมื่อต้องการใช้

นำเข้าข้อมูลเวกเตอร์

คุณนำเข้าไฟล์ที่มีข้อมูลจุด เส้น เส้นทาง และรูปหลายเหลี่ยมมายังแผนที่ได้

  1. เปิด Google Earth Pro
  2. คลิกไฟล์ จากนั้น เปิด
  3. เลือกประเภทไฟล์ที่ต้องการนำเข้า หรือเลือกรูปแบบการนำเข้าข้อมูลทั้งหมด

เมื่อนำเข้าข้อมูลแล้ว องค์ประกอบของเวกเตอร์จะปรากฏในมุมมอง 3 มิติ และไฟล์ที่นำเข้าจะอยู่ภายใต้โฟลเดอร์ "สถานที่ชั่วคราว"

หมายเหตุ: หากคุณไม่ใช้แม่แบบลักษณะ และข้อมูลไม่มีช่อง "ชื่อ" ระบบจะใช้ช่องแรกที่มีข้อความเป็นป้ายกำกับสำหรับข้อมูล

ใช้ข้อมูลเวกเตอร์ของบุคคลที่สาม

ข้อมูลเวกเตอร์ GIS ของบุคคลที่สามโดยส่วนใหญ่จะมาพร้อมไฟล์สนับสนุนชุดหนึ่ง หากข้อมูลไม่แสดงในมุมมอง 3 มิติอย่างที่ควรเป็น อาจเกิดจากไฟล์สนับสนุนไม่ครบถ้วน

ไฟล์เวกเตอร์และไฟล์สนับสนุนที่จำเป็นมีดังนี้

  • MapInfo (TAB)
    • ID แผนที่
    • DAT
  • ESRI Shape (SHP)
    • ดัชนี SHX
    • PRJ (ต้องมีหากการฉายภาพไม่ใช่ WGS84)
    • DBF (ข้อมูลแอตทริบิวต์)
  • ไฟล์ข้อความทั่วไป
นำเข้าไฟล์ข้อความทั่วไป

คุณสามารถกำหนดข้อมูลจุดเองและนำเข้าข้อมูลนั้นโดยใช้ไฟล์ข้อความทั่วไปได้

ไฟล์ข้อความทั่วไปจะต้องมีคุณสมบัติดังนี้

  • มีคอลัมน์ที่ตั้งชื่อไว้ โดยที่แต่ละค่าในคอลัมน์นั้นจะต้องคั่นด้วยจุลภาค การเว้นวรรค หรือแท็บ
  • บันทึกไฟล์เป็นรูปแบบ CSV หรือ TXT
  • แสดงพิกัดดังนี้
    • องศา ลิปดา ฟิลิปดา (DMS)
    • องศาทศนิยม (DDD)
    • องศา ลิปดา พร้อมทั้งฟิลิปดาเป็นทศนิยม (DMM)
  • มีอย่างน้อย 1 ช่องที่ระบุตำแหน่งที่ตั้งของจุดดังกล่าวบนพื้นโลก
  • ไม่ใช้พิกัดทางภูมิศาสตร์และช่องที่อยู่ปนกันในไฟล์เดียว

คุณใช้พิกัดละติจูดและลองจิจูดเพื่อระบุตำแหน่งของข้อมูลจุดในไฟล์ข้อความได้

ช่องตัวเลือกและคำอธิบาย

คุณใช้ช่องกี่ช่องก็ได้ในไฟล์ข้อมูลที่กำหนดเองเพื่อติดป้ายกำกับและอธิบายจุดต่างๆ ใน Google Earth Pro

คุณจะกำหนดช่องตัวเลือกเป็นข้อความหรือสตริงก็ได้ ดังนี้

  • ช่องสตริงสามารถมีได้ทั้งอักขระที่เป็นตัวเลขและตัวอักษร
  • สตริงจะต้องอยู่ในเครื่องหมายคำพูดหรือมีการเว้นวรรคเพื่อไม่ให้ระบบเข้าใจว่าเป็นตัวเลข

แม่แบบลักษณะช่วยให้คุณสามารถนำช่องเหล่านี้มาใช้สร้างเอฟเฟ็กต์พิเศษที่เป็นประโยชน์ในการแสดงผลในมุมมอง 3 มิติ เช่น แสดงเป็นกราฟ หรือใส่โค้ดสีให้กับข้อมูลตามค่าที่อยู่ในช่อง

  • จำนวนเต็ม
  • ค่าจุดทศนิยม

ใช้แม่แบบลักษณะ

คุณสามารถใช้แม่แบบลักษณะกับข้อมูลเวกเตอร์ที่มีช่องต่างๆ ที่ต้องการให้แสดงในมุมมอง 3 มิติได้

  • แม่แบบลักษณะสามารถใช้ได้เฉพาะกับหมุดที่มีข้อมูลสคีมาแบบขยายเท่านั้น เช่น ข้อมูลที่นำเข้าในไฟล์ข้อมูลเวกเตอร์
  • คุณสามารถใช้แม่แบบลักษณะแบบเดียวกันกับข้อมูลที่แตกต่างกันแต่มีช่องข้อมูลเหมือนกันได้ แต่จะต้องปรับการตั้งค่าของแม่แบบนั้นให้แสดงข้อมูลอย่างถูกต้องด้วย

วิธีใช้แม่แบบลักษณะ

  1. หลังจากที่คุณนำเข้าข้อมูลมายังแผงควบคุม "สถานที่" แล้ว ให้เลือกโฟลเดอร์ข้อมูลนั้น แล้วคลิกแก้ไข จากนั้น ใช้เพลตรูปแบบ
  2. คลิกใช้แม่แบบที่มีอยู่
  3. ในรายการ "แม่แบบที่เข้ากันได้" ให้เลือกแม่แบบลักษณะที่ต้องการใช้กับชุดข้อมูล
  4. คลิกแก้ไขแม่แบบที่เลือก จากนั้น ตกลง เพื่อแก้ไขแม่แบบลักษณะ
  5. เลือกช่องจากข้อมูลที่คุณต้องการใช้เป็นชื่อหรือป้ายกำกับของข้อมูล โปรดทราบว่าชื่อนี้จะปรากฏในมุมมอง 3 มิติและในแผงควบคุม "สถานที่" ที่แสดงจุดข้อมูลนั้น
  6. คลิกสีเพื่อจับคู่องค์ประกอบของข้อมูลกับลักษณะสี
  7. คลิกไอคอนเพื่อจับคู่องค์ประกอบของข้อมูลกับไอคอนอย่างน้อย 1 ไอคอน
  8. คลิกความสูงเพื่อจับคู่ค่าความสูงกับองค์ประกอบข้อมูล
  9. คลิกตกลง

ในมุมมอง 3 มิติ คุณจะเห็นข้อมูลและค่าที่กำหนดไว้

จับคู่ช่องข้อมูลกับคุณลักษณะต่างๆ

จับคู่ลักษณะสี

คุณสามารถใส่สีให้กับช่องที่เลือกไว้ในข้อมูลที่นำเข้าได้ ในกรณีนี้ สีที่นำมาใช้กับคุณลักษณะดังกล่าวจะขึ้นกับประเภทของข้อมูลที่นำเข้า ดังนี้

  • ไอคอนจะเป็นสีพร้อมกับข้อมูลจุด
  • เส้นจะเป็นสีเมื่อมีการใส่สีให้กับเส้นหรือเส้นทาง
  • รูปหลายเหลี่ยมทึบจะเป็นสีพร้อมกับข้อมูลรูปทรง

ใช้ลักษณะสีเพื่อกำหนดสีให้กับส่วนประกอบเหล่านี้เพื่อให้สื่อความหมายได้ โดยขึ้นกับทั้งประเภทข้อมูลและข้อมูลช่องภายในชุดข้อมูลทั้งชุด

ใช้สีเดียวกันสำหรับทุกคุณลักษณะ

หากคุณต้องการใช้เพียงสีเดียวกับจุดหรือเส้นทั้งหมดจากข้อมูลที่คุณนำเข้า ให้เลือกตัวเลือก "ใช้สีเดียว" จากนั้นคลิกสี่เหลี่ยมที่มีสีที่อยู่ถัดจากตัวเลือกนั้น จากตัวเลือกสี ให้เลือกสีที่มีอยู่หรือกำหนดสีของคุณเอง เพื่อใส่สีให้กับข้อมูลนั้น

ใช้สีแบบสุ่ม

หากต้องการใช้สีต่างๆ ที่ Google Earth Pro สุ่มให้ โปรดเลือกตัวเลือก "ใช้สีแบบสุ่ม" และหากคุณมีไอคอนสำหรับข้อมูลจุดด้วย ก็จะมีการใส่สีเพิ่มให้กับสีที่มีอยู่แล้วของไอคอนนั้น

ตั้งค่าสีตามค่าช่อง

หากคุณต้องการเปรียบเทียบคุณลักษณะกับชุดข้อมูล ให้ใช้สีเพื่อกำหนดค่าในช่องต่างๆ

ตัวอย่าง

  • ตั้งค่าสีในช่วงสั้นๆ ตามขนาดพื้นที่ของอสังหาริมทรัพย์ที่ลงประกาศ
  • ตั้งค่าสีช่วงหนึ่งสำหรับไฟล์รูปทรงที่แสดงรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือน

ทำตามขั้นตอนที่ 1-5 ในส่วนใช้แม่แบบลักษณะ

  1. เลือกตัวเลือกตั้งค่าสีจากช่องในแท็บ "สี" จากนั้นเลือกสีที่ต้องการจากเมนูแบบเลื่อนลงตั้งค่าสี โดยคุณสามารถเลือกช่องตัวเลขหรือช่องข้อความอย่างใดอย่างหนึ่งจากข้อมูล 
  2. หากต้องการเปลี่ยนช่วงสี ให้คลิกบล็อกสีแต่ละบล็อก จากนั้นตั้งค่าสีเริ่มต้นและสีสิ้นสุด แล้ว Google Earth Pro จะคำนวณช่วงสีระหว่างค่าสีทั้ง 2 สีเอง
  3. หากต้องการจัดกลุ่มช่องตัวเลขแยกเป็นช่วงๆ ให้เลือกจำนวนที่เก็บข้อมูล
  4. หากต้องการให้แสดงองค์ประกอบข้อมูลสำหรับสถานที่ต่างๆ ตามที่เก็บข้อมูลสี ให้สร้างโฟลเดอร์ย่อยและหากต้องการให้แสดงหรือซ่อนกลุ่มสี ให้ใช้ช่องทำเครื่องหมายที่อยู่ถัดจากโฟลเดอร์นั้น โปรดทราบว่าคุณสามารถกำหนดโฟลเดอร์ย่อยได้เพียง 1 โฟลเดอร์เท่านั้นสำหรับการแสดงสีหรือแสดงไอคอน
  5. หากต้องการกลับลำดับการเรียงช่วงสีรวมถึงการกำหนดช่วงสีให้กับองค์ประกอบต่างๆ ให้คลิกการเรียงแบบถอยกลับ
  6. คลิกตกลงเพื่อบันทึกแม่แบบลักษณะ
จับคู่ไอคอนกับข้อมูลจุด

คุณสามารถกำหนดไอคอนให้กับช่องต่างๆ ในข้อมูล แต่จะไม่สามารถจับคู่ไอคอนกับข้อมูลที่เป็นเส้นหรือรูปทรงได้

การจับคู่ไอคอนกับจุดมี 2 วิธีดังนี้

  • ใช้ไอคอนเดียวในทุกคุณลักษณะ
  • ตั้งค่าไอคอนจากช่อง

ตั้งค่าไอคอนกับช่องต่างๆ ในข้อมูล

ปรับแต่งไอคอนสำหรับหมุดที่นำเข้าตามช่องข้อมูล

ทำตามขั้นตอนที่ 1-5 ในส่วนใช้แม่แบบลักษณะ

  1. เลือกตั้งค่าไอคอนจากช่อง เลือกช่องที่คุณต้องการใช้ป้ายกำกับไอคอน
  2. หากต้องการจัดกลุ่มช่องตัวเลขแยกเป็นช่วงๆ ให้เลือกจำนวนที่เก็บข้อมูล สำหรับที่เก็บข้อมูลแต่ละชุดที่กำหนดไว้ ให้เลือกไอคอนจากรายการ
  3. หากต้องการให้แสดงองค์ประกอบข้อมูลสำหรับสถานที่ต่างๆ ตามที่เก็บข้อมูลสี ให้สร้างโฟลเดอร์ย่อยและหากต้องการให้แสดงหรือซ่อนกลุ่มสี ให้ใช้ช่องทำเครื่องหมายที่อยู่ถัดจากโฟลเดอร์นั้น โปรดทราบว่าคุณสามารถกำหนดโฟลเดอร์ย่อยได้เพียง 1 โฟลเดอร์เท่านั้นสำหรับการแสดงสีหรือแสดงไอคอน
  4. หากต้องการแก้ไของค์ประกอบไอคอนที่เก็บข้อมูลรายการใดรายการหนึ่ง ให้คลิกที่เก็บข้อมูลนั้นเพื่อปรับค่าหรือช่วงค่านั้น โปรดทราบว่าหากต้องการปรับช่วงของข้อมูลตามที่ต้องการ ให้แก้ไขการตั้งค่าสำหรับที่เก็บข้อมูลแบบตัวเลข
  5. คลิกตกลงเพื่อบันทึกแม่แบบลักษณะ
จับคู่ค่าความสูง

หลังจากที่ตั้งค่าความสูงแล้ว จะมีการเลื่อนจุด เส้น หรือรูปทรงจากระดับพื้นโลกขึ้นมายังระดับความสูงที่กำหนดไว้ให้กับองค์ประกอบข้อมูลแต่ละประเภท

  • หากคุณจับคู่ความสูงกับเส้นหรือรูปทรง ค่าความสูงที่คุณกำหนดไว้จะมีผลควบคู่กับสี
  • หากคุณจับคู่ความสูงกับข้อมูลจุด จะมีการเลื่อนจุดดังกล่าวโดยใช้เส้นที่มีสีขนาดพิกเซลเดียวเพื่อเชื่อมโยงไอคอนนั้นจากตำแหน่งที่อยู่สูงขึ้นมากับพื้นโลก และคุณสามารถใช้การตั้งค่าลักษณะเพื่อแก้ไขความกว้างและสีของเส้นได้

ค่าความสูงสำหรับช่องข้อความ

หากช่องที่คุณเลือกจับคู่มีข้อมูลแบบข้อความ จะมีการกำหนดแต่ละช่องที่ไม่ซ้ำกัน 8 ช่องแรกไว้ในที่เก็บข้อมูลของตัวเอง ดังนั้นจึงควรจับคู่ค่าความสูงกับช่องที่มีค่าไม่ซ้ำกัน 8 ค่าหรือน้อยกว่าเท่านั้น

ค่าความสูงสำหรับช่องตัวเลข

เมื่อจับคู่ค่าความสูงกับช่องข้อมูลแบบตัวเลข คุณเลือกวิธีการจับคู่ได้ 2 วิธีดังนี้

  • การจับคู่แบบต่อเนื่อง: ใช้ค่าต่ำสุดและสูงสุดของช่องใดช่องหนึ่งเพื่อกำหนดการแสดงความสูงต่ำสุดและสูงสุดของข้อมูลทั้งชุด วิธีนี้เหมาะกับชุดข้อมูลขนาดเล็กที่แสดงผลความแตกต่างระหว่างจุดหรือรูปทรงแต่ละรายการได้ง่าย
  • แยกลงในที่เก็บข้อมูล: สร้างการจับกลุ่มความสูง 8 กลุ่มสำหรับข้อมูล วิธีนี้เหมาะสำหรับชุดข้อมูลขนาดใหญ่ที่ไม่เอื้อต่อการแสดงผลความสูงที่จับคู่แบบต่อเนื่องในมุมมอง 3 มิติ
แก้ไขการตั้งค่าลักษณะจุดบนแผนที่

หากต้องการให้จุดข้อมูลและเส้นมองเห็นง่ายขึ้นในมุมมอง 3 มิติ คุณสามารถแก้ไขการตั้งค่าลักษณะจุดแต่ละจุดเพื่อปรับความหนาของเส้นได้

  1. เลื่อนเมาส์ไปเหนือจุดที่ต้องการแก้ไข จากนั้นเลือกคุณสมบัติ (Windows, Linux) หรือรับข้อมูล (Mac)
  2. ในส่วน "ลักษณะ, สี" ให้แก้ไขลักษณะของจุดตามต้องการ
  3. คลิกตกลง

หมายเหตุ: สำหรับชุดข้อมูลขนาดใหญ่ ให้นำสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปใช้กับทั้งโฟลเดอร์หรือโฟลเดอร์ย่อย

เลือกประเภทช่อง

เมื่อมีการจับคู่สี ไอคอน หรือความสูงของช่องใดช่องหนึ่งในชุดข้อมูล คุณสามารถกำหนดจำนวนที่เก็บข้อมูลเพื่อแสดงข้อมูลช่วงต่างๆ ได้ และคุณสามารถเลือกช่องพื้นฐาน 2 ประเภทจากข้อมูลได้ในขณะจับคู่ค่าสี ไอคอน หรือความสูง

ช่องข้อความ (สตริง)

หากประเภทช่องมีข้อมูลที่ไม่ใช่ตัวเลข Google Earth Pro จะจับคู่ช่องข้อความ 8 ช่องแรกที่ไม่ซ้ำกันกับลักษณะดังกล่าว หากในข้อมูลมีน้อยกว่า 8 ค่า ค่าที่ไม่ซ้ำกันแต่ละค่าจะจับคู่กับสี ไอคอน หรือความสูงที่ต่างกัน หากมีมากกว่า 8 ค่า ค่าที่ไม่ซ้ำกัน 8 ค่าแรกจะจับคู่กับลักษณะ และค่าที่เหลือจะรวมกันเป็นกลุ่มและจับคู่กับลักษณะที่ 9 ด้วยเหตุนี้ ตามปกติการนำลักษณะมาใช้กับช่องข้อความที่มีชุดข้อมูลขนาดเล็กที่ไม่ซ้ำกันจึงมีประโยชน์มากที่สุด

ช่องตัวเลข

ช่องข้อมูลแบบตัวเลขจะได้รับการจัดสรรตามจำนวนที่เก็บข้อมูลที่คุณเลือกไว้โดยอัตโนมัติ และมีจำนวนรายการในที่เก็บข้อมูลแต่ละชุดรวมอยู่ด้วย หากคุณเพิ่มหรือลดจำนวนที่เก็บข้อมูล แอปพลิเคชันจะจัดสรรจำนวนองค์ประกอบในที่เก็บข้อมูลแต่ละชุดใหม่โดยอัตโนมัติ

แก้ไขข้อผิดพลาดในการจัดรูปแบบช่อง

หากคุณใช้แอปพลิเคชันประเภทสเปรดชีตเพื่อสร้างข้อมูล ให้เลือกรูปแบบเซลล์เป็นตัวเลข หากคุณมีช่องตัวเลขใน CSV ที่บันทึกมาจากสเปรดชีต แต่วิซาร์ด "แม่แบบลักษณะ" ไม่รู้จักว่าช่องนี้เป็นตัวเลข อาจเป็นเพราะการจัดรูปแบบไม่ถูกต้องก็ได้

หากต้องการตรวจสอบว่าจริงๆ แล้วช่องนั้นระบุไว้ว่าเป็นข้อความหรือตัวเลข ให้ทำดังนี้

  1. เปิดไฟล์ CSV ในโปรแกรมแก้ไขข้อความอย่างง่าย แล้วมองหาช่องที่จะตรวจสอบ
  2. หากช่องนี้มีเครื่องหมายคำพูดคร่อมอยู่ แสดงว่าเป็นช่องข้อความ แม้ว่าจะมีตัวเลขอยู่ในเครื่องหมายคำพูดก็ตาม
  3. นำเครื่องหมายคำพูดออกจากไฟล์ด้วยตนเอง หรือเปิดแอปพลิเคชันประเภทสเปรดชีตแล้วจัดรูปแบบเซลล์นั้นเป็นตัวเลข
  4. เสร็จแล้วให้บันทึกข้อมูล CSV อีกครั้ง
ค้นหา
ล้างการค้นหา
ปิดการค้นหา
เมนูหลัก
13676502281582351123
true
ค้นหาศูนย์ช่วยเหลือ
true
true
true
true
true
87057
false
false