ส่งกลับค่าความน่าจะเป็นที่เกี่ยวข้องกับการทดสอบไคสแควร์ของ Pearson บนข้อมูลสองช่วง คำนวณความเป็นไปได้ที่ข้อมูลกลุ่มที่พบจะมาจากการกระจายที่คาดไว้
ตัวอย่างการใช้งาน
CHITEST(A1:A5, B1:B5)
CHITEST(A1:D3, A5:D7)
รูปแบบคำสั่ง
CHITEST(ช่วงที่สังเกต, ช่วงที่คาดหมาย)
-
ช่วงที่สังเกต
- จำนวนนับที่สัมพันธ์กับข้อมูลแต่ละหมวดหมู่ -
ช่วงที่คาดหมาย
- จำนวนนับที่คาดไว้สำหรับแต่ละหมวดหมู่ภายใต้สมมติฐานว่าง
หมายเหตุ
-
ช่วงที่สังเกต
และช่วงที่คาดหมาย
ต้องเป็นช่วงที่มีจำนวนแถวและคอลัมน์เท่ากัน -
ถ้ามีเซลล์ในช่วงใดไม่ใช่ตัวเลข การคำนวณจะไม่นับเซลล์นั้นและเซลล์ที่สัมพันธ์กันในอีกช่วงหนึ่ง
ดูเพิ่มเติม
CHIDIST
: คำนวณการแจกแจงแบบไคสแควร์ทางด้านขวา ซึ่งมักจะใช้ในการทดสอบสมมติฐาน
CHIINV
: คำนวณค่าผกผันของการแจกแจงแบบไคสแควร์ทางด้านขวา
CHISQ.DIST
: Calculates the left-tailed chi-squared distribution, often used in hypothesis testing.
CHISQ.DIST.RT
: คำนวณการแจกแจงแบบไคสแควร์ทางด้านขวา ซึ่งมักใช้ในการทดสอบสมมติฐาน
FTEST
: ส่งกลับค่าความน่าจะเป็นที่ได้จากการทำการทดสอบความแตกต่างของค่าความแปรปรวนแบบ F-Test สำหรับค่าการกระจายของข้อมูลประชากร เพื่อพิจารณาว่าตัวอย่างสองกลุ่มมีแนวโน้มว่ามาจากกลุ่มประชากรสองกลุ่มที่มีค่าความแปรปรวนเท่ากันหรือไม่
TTEST
: ส่งกลับค่าความน่าจะเป็นที่ได้จากการทำ t-Test เพื่อพิจารณาว่าตัวอย่างสองกลุ่มมีแนวโน้มว่ามาจากกลุ่มประชากรสองกลุ่มที่เหมือนกันซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากันใช่ไหม
ตัวอย่าง
สมมติว่าคุณต้องการทดสอบความเที่ยงตรงของลูกเต๋า คุณทอยลูกเต๋า 60 ครั้งและนับจำนวนครั้งของแต่ละด้านที่ทอยได้ แล้วเปรียบเทียบกับการแจกแจงที่คาดไว้ซึ่งทอยได้แต่ละด้านเป็นจำนวน 10 ครั้ง จะมีโอกาสเพียง 5.1% ที่แต่ละด้านจะเที่ยงตรงอย่างแท้จริง
A | B | |
---|---|---|
1 | ค่าที่สังเกตได้ | ค่าที่คาดไว้ |
2 | 11 | 10 |
3 | 15 | 10 |
4 | 8 | 10 |
5 | 10 | 10 |
6 | 2 | 10 |
7 | 14 | 10 |
8 | โซลูชัน | สูตร |
9 | 0.05137998348 | =CHITEST(A1:A6, B1:B6) |