CHIINV

คำนวณค่าผกผันของการแจกแจงแบบไคสแควร์ทางด้านขวา

ตัวอย่างการใช้งาน

CHIINV(0.42, 2)

CHIINV(A2, B2)

รูปแบบคำสั่ง

CHIINV(ความน่าจะเป็น, องศาอิสระ)

  • ความน่าจะเป็น - ความน่าจะเป็นที่สัมพันธ์กับการแจกแจงแบบไคสแควร์ด้านขวา

    • ต้องมากกว่า 0 และน้อยกว่า 1

  • องศาอิสระ - จำนวนองศาอิสระของการแจกแจง

หมายเหตุ

  • องศาอิสระ จะตัดทศนิยมให้เป็นจำนวนเต็ม หากมีการระบุตัวเลขที่ไม่ใช่จำนวนเต็ม

  • องศาอิสระ ต้องมีค่าอย่างน้อย 1

  • อาร์กิวเมนต์ทั้งหมดต้องเป็นตัวเลข

  • CHIINV คือฟังก์ชันเดียวกับ CHISQ.INV.RT

ดูเพิ่มเติม

CHIDIST: คำนวณการแจกแจงแบบไคสแควร์ทางด้านขวา ซึ่งมักจะใช้ในการทดสอบสมมติฐาน

CHISQ.INV: คำนวณค่าผกผันของการแจกแจงแบบไคสแควร์ทางด้านซ้าย

CHISQ.INV.RT: คำนวณค่าผกผันของการแจกแจงแบบไคสแควร์ทางด้านขวา

CHITEST: ส่งกลับค่าความน่าจะเป็นที่เกี่ยวข้องกับการทดสอบไคสแควร์ของ Pearson บนข้อมูลสองช่วง คำนวณความเป็นไปได้ที่ข้อมูลกลุ่มที่พบจะมาจากการกระจายที่คาดไว้

FINV: คำนวณค่าผกผันของการแจกแจงความน่าจะเป็นของค่า F ทางด้านขวา หรือที่เรียกว่าการแจกแจงของ Fisher-Snedecor หรือการแจกแจงค่า F ของ Snedecor

TINV: คำนวณค่าผกผันของฟังก์ชัน TDIST แบบ 2 ด้าน

ตัวอย่าง

สมมติว่าคุณต้องการหาค่าจุดตัดของสถิติแบบไคสแควร์ที่สัมพันธ์กับค่า p ที่ 0.05 หากใช้ค่าองศาอิสระเท่ากับ 4 จะถือได้ว่าค่าสถิติแบบไคสแควร์ที่มากกว่า 9.49 มีนัยสำคัญทางสถิติ

  A B C
1 ความน่าจะเป็น องศาอิสระ โซลูชัน
2 0.05 4 9.487729037
3 0.05 4 =CHIINV(0.05, 4)
4 0.05 4 =CHIINV(A2, B2)

หากต้องการความช่วยเหลือเพิ่มเติม

ลองทำตามขั้นตอนต่อไปนี้

true
Visit the Learning Center

Using Google products, like Google Docs, at work or school? Try powerful tips, tutorials, and templates. Learn to work on Office files without installing Office, create dynamic project plans and team calendars, auto-organize your inbox, and more.

ค้นหา
ล้างการค้นหา
ปิดการค้นหา
เมนูหลัก
8761063857732975618
true
ค้นหาศูนย์ช่วยเหลือ
true
true
true
true
true
35
false
false