คำนวณความโด่งของชุดข้อมูล ซึ่งจะอธิบายถึงรูปร่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "จุดสูงสุด" ของชุดข้อมูลดังกล่าว
ตัวอย่างการใช้งาน
KURT(1,2,3,4,5,6,7,8,9,10)
KURT(A2:A100)
รูปแบบคำสั่ง
KURT(ค่า1, [ค่า2, ...])
-
ค่า1
- ค่าหรือช่วงแรกของชุดข้อมูล -
ค่า2, ...
- ค่าหรือช่วงเพิ่มเติมที่จะรวมในชุดข้อมูล
หมายเหตุ
-
แม้ว่า
KURT
จะระบุว่ารับอาร์กิวเมนต์ได้สูงสุด 30 อาร์กิวเมนต์ แต่ Google ชีตรองรับอาร์กิวเมนต์สำหรับฟังก์ชันนี้ได้เป็นจำนวนจำกัด -
ถ้าจำนวนค่าที่ระบุเป็นอาร์กิวเมนต์
ค่า
มีน้อยกว่า 2 ค่าKURT
จะส่งกลับข้อผิดพลาด#DIV/0!
-
ฟังก์ชันจะไม่สนใจข้อความที่ระบุเป็นอาร์กิวเมนต์
ค่า
-
Kurtosis หรือความโด่ง หากเป็นบวกจะหมายถึงชุดข้อมูลมีการกระจายในลักษณะ "รวมกลุ่ม" มากกว่า ในขณะที่ถ้าความโด่งเป็นลบ การกระจายจะมีลักษณะแบนราบมากกว่า
ดูเพิ่มเติม
VARPA
: คำนวณค่าความแปรปรวนตามกลุ่มประชากรทั้งหมด โดยตั้งค่าให้ข้อความมีค่าเป็น "0"
VARP
: คำนวณค่าความแปรปรวนตามกลุ่มประชากรทั้งหมด
VARA
: คำนวณค่าความแปรปรวนตามกลุ่มตัวอย่าง โดยตั้งค่าให้ข้อความมีค่าเป็น "0"
VAR
: คำนวณค่าความแปรปรวนตามกลุ่มตัวอย่าง
STDEVPA
: คำนวณค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานตามกลุ่มประชากรทั้งหมด โดยตั้งค่าให้ข้อความมีค่าเป็น "0"
STDEVP
: คำนวณค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานตามกลุ่มประชากรทั้งหมด
STDEVA
: คำนวณค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานตามกลุ่มตัวอย่าง โดยตั้งค่าให้ข้อความมีค่าเป็น "0"
SKEW
: คำนวณความเบ้ของชุดข้อมูล ซึ่งอธิบายถึงสมมาตรของชุดข้อมูลรอบๆ ค่าเฉลี่ย
DVARP
: แสดงผลค่าความแปรปรวนของกลุ่มประชากรทั้งหมดที่เลือกจากช่วงหรืออาร์เรย์ที่มีลักษณะเหมือนตารางฐานข้อมูลโดยใช้คำสั่งค้นหาแบบ SQL
DVAR
: แสดงผลค่าความแปรปรวนของกลุ่มประชากรตัวอย่างที่เลือกจากช่วงหรืออาร์เรย์ที่มีลักษณะเหมือนตารางฐานข้อมูลโดยใช้คำสั่งค้นหาแบบ SQL
DSTDEVP
: แสดงผลค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของกลุ่มประชากรทั้งหมดที่เลือกจากช่วงหรืออาร์เรย์ที่มีลักษณะเหมือนตารางฐานข้อมูลโดยใช้คำสั่งค้นหาแบบ SQL
DSTDEV
: แสดงผลค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของกลุ่มประชากรตัวอย่างที่เลือกจากช่วงหรืออาร์เรย์ที่มีลักษณะเหมือนตารางฐานข้อมูลโดยใช้คำสั่งค้นหาแบบ SQL
DEVSQ
: คำนวณผลรวมของกำลังสองของความเบี่ยงเบนตามตัวอย่าง
AVEDEV
: คำนวณจำนวนเฉลี่ยของค่าเบี่ยงเบนของข้อมูลจากค่าเฉลี่ยของชุดข้อมูล