หากต้องทํางานกับเพื่อนร่วมงานที่ทำงานจากระยะไกลและในสํานักงาน โปรดดูวิธีทำงานอย่างมีประสิทธิภาพในสภาพแวดล้อมการทํางานแบบผสมผสาน

เคล็ดลับ 10 ข้อสำหรับองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร

หากต้องการใช้แอป Google ในที่ทำงานหรือโรงเรียน  ลงชื่อสมัครทดลองใช้ Google Workspace

ใช้ชุดเครื่องมือระดับมืออาชีพดำเนินการต่างๆ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

คุณต้องมีเครื่องมือที่เหมาะสมเพื่อแก้ปัญหาใหญ่ๆ Google Workspace for Nonprofits ช่วยให้องค์กรการกุศลที่มีสิทธิ์ติดต่อสื่อสารกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นและทำงานร่วมกันได้จากทุกที่ รวมถึงเก็บรักษาข้อมูลให้ปลอดภัยและพร้อมให้การสนับสนุนทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง เมื่อใช้เครื่องมือต่างๆ เช่น Gmail, ปฏิทิน และไดรฟ์ คุณจะช่วยให้องค์กรมุ่งความสนใจไปที่ผลลัพธ์ได้มากกว่าการดูแลระบบไอที อีกทั้ง G Suite Business และ G Suite Enterprise ยังมีข้อเสนอส่วนลดอื่นๆ พร้อมให้บริการ โปรดดูข้อมูลเพิ่มเติมที่หัวข้อเปิดใช้งาน Google Workspace for Nonprofits

""

" "

1

จัดระเบียบทรัพยากรได้ในที่เดียว" "

หากคุณกำลังประสบปัญหาในการติดตามเอกสารสำคัญที่จัดเก็บไว้คนละที่ ขอแนะนำให้ย้ายเนื้อหาไปไว้ในไดรฟ์หรือไดรฟ์ที่แชร์ แล้วคุณจะแชร์ไฟล์กับพนักงาน อาสาสมัคร กรรมการบริษัท และผู้บริจาคได้อย่างง่ายดาย หากต้องการค้นหาเนื้อหาใดโดยเฉพาะ ก็เพียงค้นหาเอกสารหรือโฟลเดอร์ที่ต้องการในไดรฟ์ได้อย่างรวดเร็ว

ดูวิธีการ

แถบสีเทา

2

สร้างและนำเสนองานนำเสนอที่ทรงประสิทธิภาพ" "

หากคุณต้องการแนวคิดสำหรับภาพและข้อมูลที่จะนำเสนอต่อกรรมการบริษัท ขอแนะนำให้ใช้ตัวเลือกสำรวจในชีตหรือสไลด์เพื่อดูคำแนะนำการจัดรูปแบบ แผนภูมิและการวิเคราะห์ข้อมูล หรือคำตอบเกี่ยวกับคำถามเรื่องข้อมูล หากทำงานกับสมาชิกทีมที่อยู่ไกลกัน ก็เพียงแชร์หน้าจอระหว่างการประชุมทางวิดีโอด้วย Google Meet เพื่อนำเสนอแนวคิด คุณยังบันทึกการประชุมเพื่อส่งให้ผู้อื่นภายหลังได้อีกด้วย

ดูวิธีการ

แถบสีเทา

3

แต่งเติมข้อเสนอการระดมทุนให้น่าสนใจยิ่งขึ้น" "

สร้างข้อเสนอเพื่อขอรับงบประมาณสนับสนุนให้มีประสิทธิภาพด้วยเอกสาร เพิ่มรูปภาพหรือฝังแผนที่เพื่อให้ข้อเสนอมีรูปลักษณ์และสัมผัสระดับมืออาชีพ แชร์เอกสารและขอความคิดเห็นจากเพื่อนร่วมงานแบบเรียลไทม์ผ่านฟีเจอร์ความคิดเห็นที่ตรงเป้าหมาย ทั้งยังไม่จำเป็นต้องเก็บร่างเอกสารไว้หลายๆ ฉบับ เพียงใช้ฟีเจอร์ประวัติการแก้ไขดูว่าใครแก้ไขเอกสารและแก้เมื่อใด หรือจะเปลี่ยนกลับไปใช้เวอร์ชันก่อนหน้าก็ได้ จากนั้นจึงส่งออกข้อเสนอเป็นไฟล์ PDF โดยตรงเพื่อให้ได้เอกสารที่สวยงาม

ดูวิธีการ

เอกสาร

แถบสีเทา

4

เชื่อมต่อกับทีมในเขตเวลาต่างๆ" "

ใช้ปฏิทินในการสร้างและแชร์ปฏิทินของทีมกับเพื่อนร่วมงาน อาสาสมัคร และกรรมการบริษัทเพื่อช่วยให้การวางกำหนดการได้ง่ายขึ้น สนทนาแบบเห็นหน้าด้วย Google Meet เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ใช้ประโยชน์จากตัวเลือกอุปกรณ์เคลื่อนที่ซึ่งใช้งานร่วมกับผลิตภัณฑ์ Google Workspace ได้อย่างราบรื่นเพื่อให้คุณไม่พลาดการติดต่อกับที่ทำงานแม้ในขณะเดินทาง

ดูวิธีการ

แถบสีเทา

5

ไม่พลาดอีเมลสำคัญ" "

หากมีข้อความที่ยังไม่ได้อ่านในกล่องจดหมายมากจนเกินไป ใช้ตัวกรองและป้ายกำกับใน Gmail จัดระเบียบข้อความขาเข้าโดยแยกตามผู้ส่งหรือตามเนื้อหา แล้วคุณจะไม่พลาดอีเมลเกี่ยวกับข้อเสนอเพื่อขอรับทุนสนับสนุน ผู้บริจาค หรือโปรแกรมหลักอีกเลย จากนั้นใช้ประโยชน์จากการใช้เทมเพลตใน Gmail เพื่อลดเวลาที่ใช้ไปกับการตอบกลับอีเมลซ้ำๆ

ดูวิธีการ

Gmail

แถบสีเทา

6

เตรียมความพร้อมให้อาสาสมัครหรือพนักงานใหม่อย่างง่ายดาย" "

หากคุณเหนื่อยที่ต้องคอยสอนงานเดิมๆ ให้กับอาสาสมัครและพนักงานใหม่คนแล้วคนเล่า เพียงใช้ Sites คุณก็จะสร้างเว็บไซต์ภายในหรือภายนอกเพื่อโฮสต์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดและแชร์กับพนักงานใหม่ได้ ฝังเอกสารจากไดรฟ์ รวบรวมข้อมูลติดต่อหรือรับรองว่าการฝึกอบรมเสร็จสิ้นแล้วในฟอร์ม เพิ่มบุคคลใหม่ลงในกลุ่มของ Groups ตามความเกี่ยวข้อง (ฝ่ายการเงิน อาสาสมัคร และอื่นๆ) เพื่อให้เข้าถึงสื่อสำหรับใช้งานเฉพาะบทบาทและรายชื่ออีเมลได้

ดูวิธีการ

แถบสีเทา

7

ปรับปรุงการสรรหาอาสาสมัครและการสื่อสารให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น" "

หากต้องการสรรหาอาสาสมัครสำหรับกิจกรรมที่จะจัดขึ้น ให้ใช้ฟอร์มสร้างแบบสอบถามเพื่อเก็บข้อมูล โพสต์แบบฟอร์มในเว็บไซต์หรือส่งลิงก์แบบฟอร์มเพื่อรวบรวมคำตอบ ส่งออกคำตอบไปยังชีตเพื่อกรองข้อมูลและวิเคราะห์แนวโน้ม แล้วจึงใช้ Groups สร้างกลุ่มใหม่เพื่อให้อาสาสมัครได้สื่อสารและทำงานร่วมกัน จากนั้นส่งอีเมลต้อนรับพร้อมลิงก์เว็บไซต์อาสาสมัครซึ่งใช้ Sites สร้าง

ดูวิธีการ

แถบสีเทา

8

ฝึกอบรมอาสาสมัครหรือพนักงานใหม่ได้ทุกที่ทุกเวลา" "

หากต้องการฝึกอบรมบุคลากรในสถานที่ต่างๆ ให้ใช้ Sites สร้างเว็บไซต์การฝึกอบรมแบบครบวงจร เก็บข้อมูลงานสำหรับเตรียมความพร้อม นโยบายองค์กร และเอกสารอื่นๆ ทั้งหมดไว้ในไดรฟ์หรือไดรฟ์ที่แชร์ จากนั้นฝังไฟล์ในเว็บไซต์การฝึกอบรม จัดการฝึกอบรมแบบสดทั่วโลกโดยใช้ Google Meet เพื่อประหยัดเวลาและค่าเดินทาง แล้วจึงบันทึกการฝึกอบรมและโพสต์ลงในช่อง YouTube เพื่อให้อาสาสมัครเข้าไปดูได้

ดูวิธีการ

แถบสีเทา

9

เก็บรักษาไฟล์ขององค์กรไว้เมื่อบุคลากรลาออก" "

หากมีปัญหาในการเข้าถึงงบประมาณสนับสนุน ข้อมูล หรือรายงานของพนักงานหรืออาสาสมัครที่ลาออกจากองค์กร ขอแนะนำให้ใช้ไดรฟ์ที่แชร์สร้างพื้นที่ร่วมให้ทีมต่างๆ จัดเก็บ ค้นหา และแชร์เนื้อหาได้ง่ายๆ ซึ่งเนื้อหาเหล่านั้นจะยังคงอยู่ในไดรฟ์ที่แชร์แม้สมาชิกทีมจะลาออกจากองค์กรก็ตาม

ดูวิธีการ

ไดรฟ์ที่แชร์

แถบสีเทา

10

ปรับใช้แคมเปญด้านการตลาดแบบครบวงจร" "

สร้างภาพรวมแคมเปญด้านการตลาดโดยใช้เอกสาร และแชร์กับผู้ถือผลประโยชน์ร่วมภายใน จากนั้นจึงสื่อสารข้อมูลให้ทราบโดยทั่วกัน องค์กรการกุศลที่มีสิทธิ์เข้าถึง Ad Grants ได้ ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ให้เครดิตโฆษณาฟรีจาก Google Ads สร้าง YouTube และเผยแพร่วิดีโอซึ่งบอกเล่าเรื่องราวขององค์กรการกุศล โปรโมตแคมเปญในหน้าเว็บไซต์ขององค์กรด้วย Sites เพื่อกระตุ้นให้สมาชิกแชร์แนวคิดใหม่ๆ และมีส่วนร่วมผ่านฟอร์มที่ฝังไว้

ดูวิธีการ

แถบสีเทา
ข้อมูลนี้มีประโยชน์ไหม
เราจะปรับปรุงได้อย่างไร
ค้นหา
ล้างการค้นหา
ปิดการค้นหา
แอป Google
เมนูหลัก
false
ค้นหาศูนย์ช่วยเหลือ
true
true
true
false
false